ข่าว

กรมชลเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่  หลังสำนักงบฯไฟเขียวให้กรมสานต่อ มั่นใจปี  63 เมืองหาดใหญ่รอดพ้นน้ำท่วม

              กรมชลเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่  หลังสำนักงบฯไฟเขียวให้กรมสานต่อ มั่นใจปี  63 เมืองหาดใหญ่รอดพ้นน้ำท่วม

กรมชลเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่      นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง

                นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมชลประทานได้เร่งก่อสร้างโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา  ภายหลังจากที่งานก่อสร้างบางส่วนเกิดความล่าช้าจากปัญหาผู้รับจ้างทิ้งงาน ซึ่งกรมชลฯ ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารสัญญา ตามระเบียบข้อกฎหมายตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อจะเร่งรัดการดำเนินงานให้แล้วเสร็จโดยเร็ว  โดยสำนักงบประมาณพิจารณาและอนุมัติให้กรมชลฯดำเนินการเอง   จากนี้กรมชลฯจะมีการติดตามงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้งานแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้

กรมชลเดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ 

                   “ ขณะนี้กรมได้เริ่มสูบน้ำจากคลอง ร.1 ตั้งแต่ปลายเดือน ม.ค. เมื่อคลองแห้งจะได้เดินหน้าก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยีและประตูระบายน้ำบางหยี 2 ทันที  เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำได้ร่วม 1,200  ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และระหว่างดำเนินการ คลองยังมีศักยภาพในการระบายน้ำได้ในอัตรา 1,000  ลบ.ม.ต่อวินาที หากกรณีเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ จะสามารถบรรเทาภัยให้กับประชาชนลดความเสียหายทางเศรษฐกิจในพื้นที่นับหมื่นล้านได้ จากอดีตที่มีอุทกภัยในตัวเมืองหาดใหญ่ต่อเนื่องมาหลายปี  ตั้งแต่ปี  2531  เป็นต้นมา  “ นายประพิศกล่าว

                ทั้งนี้ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ประกอบด้วยการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมระบายน้ำได้ 465  ลบ.ม.ต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200   ลบ.ม.ต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465    ลบ.ม.ต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกันประมาณ 1,665 ลบ.ม.ต่อวินาที                     

             โดยผลการดำเนินงานปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ มีความคืบหน้าไปกว่า 70% ปัจจุบัน ประตูระบายน้ำหน้าควน 2 ได้ก่อสร้างและติดตั้งบานระบายน้ำเสร็จ สามารถบริหารจัดการน้ำโดยการเปิดปิดบาน เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่จะไหลเข้าสู่คลองระบายน้ำ ร.1 นอกจากนั้น ได้ทำการปรับปรุงโดยขุดขยายความกว้างของคลองระบายน้ำจากเดิมท้องคลองกว้าง 24 เมตร เป็น 70 เมตร ก่อสร้างกำแพงคอนกรีต แล้วเสร็จไปกว่า  80%  ทำให้คลองระบายน้ำ ร.1 ในปัจจุบันจะสามารถช่วยในการระบายน้ำได้สูงสุดประมาณ 1,000  ลบ.ม.ต่อวินาที 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ