ข่าว

ห้ามไม่ได้จริง ๆ ปลูกข้าวเกินแผนแล้วกว่า 3 ล้านไร่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คุมเข้ม น้ำกินน้ำใช้ รักษานิเวศ ทั่วประเทศเหลือ 40% ยันมีเพียงพอถึงฤดูฝน งดสูบน้ำจากลำน้ำน่านเพื่อการเกษตร ลดเสี่ยงขาดแคลน

 

26 มกราคม 2563 กรมชลฯคุมเข้ม น้ำกินน้ำใช้ รักษานิเวศ ทั่วประเทศเหลือ 40% ยันมีเพียงพอถึงฤดูฝน วอนประชาชนต้องร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัด งดสูบน้ำจากลำน้ำน่านเพื่อการเกษตร ลดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ด้านศูนย์ติดตามแก้ไขภัยพิบัติเกษตรฯระบุพบพื้นที่ปลูกข้าวเกินแผน 41 จว.กว่า 3.16 ล้านไร่ พื้นที่เกษตรเสียหาย 1.1 ล้านไร่ สูญเงินกว่า 1.2 พันล้านบาท 

 

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึง สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ 447 แห่ง ว่า ปัจจุบัน(25 ม.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 44,970 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 59 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 21,169 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 40 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน ซึ่งมีน้ำน้อยกว่าปี 2562 จำนวน 10,327 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯจำนวน 23.93 ล้านลบ.ม.ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 78.92 ล้านลบ.ม.ต่อวัน

 

ทั้งนี้เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 10,558 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 3,862 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน มีปริมาณน้ำไหลงอ่าง 4.65 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย17.71ล้านลบ.ม.

 

นายทองเปลว กล่าวว่าสำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ปัจจุบันมีทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การ 16% เขื่อนสิริกิติ์ 26%เขื่อนแม่กวงอุดมธารา 24%เขื่อนแม่มอก 17%เขื่อนจุฬาภรณ์ 5%เขื่อนอุบลรัตน์ -6%เขื่อนลำพระเพลิง 12%เขื่อนมูลบน 30%เขื่อนลำแซะ25% เขื่อนลำนางรอง 16%เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 21%เขื่อนทับเสลา 13%

 

เขื่อนกระเสียว 8%เขื่อนคลองสียัด 15%และเขื่อนหนองปลาไหล 19%กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำอย่างเคร่งครัด ตามแผนจัดสรรน้ำที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันกับกลุ่มผู้ใช้น้ำและกลุ่มเกษตรกรที่ใช้น้ำจากเขื่อนเหล่านี้ โดยจะเน้นการส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค น้ำเพื่อผลิตประปา และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

 

เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ เพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าภายใต้เงื่อนไขที่ทุกภาคส่วนจะต้องช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด ด้านสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตลอดตามแนวแม่น้ำสายหลักต่างๆ ขอให้ใช้น้ำตามแผนที่กรมชลประทานวางไว้เท่านั้น เพื่อที่จะควบคุมการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งนี้ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าด้วยเช่นกัน 

 

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า โครงการชลประทานอุตรดิตถ์ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำคลองตรอน บริเวณด้านท้ายอ่างเก็บน้ำคลองตรอน ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด และในพื้นที่เขตตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรับฟังปัญหาจากชุมชนและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมชี้แจงสถานการณ์ในปัจจุบัน

 

รวมไปถึงแผนการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 การประชาสัมพันธ์ ชี้แจงเกษตรกรในพื้นที่งดสูบน้ำจากแหล่งน้ำลำน้ำน่านไปใช้ในการเพาะปลูก ด้วยมาตรการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์ให้พื้นที่ได้รับรู้ว่าปีนี้มีปริมาณน้ำน้อยหากทำนาต่อเนื่องอาจเกิดความเสียหายได้ และขอความร่วมมืองดการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง หากไม่มีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง ตลอดจนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขภาคการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ (Chief of Operation) ครั้งที่ 4/2563 เพื่อชี้แจงสถานการณ์ดังกล่าวในที่ประชุมอีกด้วย

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทาน พื้นที่ส่งน้ำของฝายคลองตรอน ตำบลน้ำไคร้ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปรังประมาณ 150 ไร่ คิดเป็น 1% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและสระเก็บน้ำในเขตพื้นที่ของเกษตรกรเอง
กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำได้ตามแผนการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับเกษตรกร เพื่อขอความร่วมมือจากเกษตรกรและประชาชนทั่วประเทศ ให้ร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวทางที่เจ้าหน้าที่ได้แนะนำ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผน ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ไปจนถึงช่วงต้นฤดูฝนหน้า

 

ขณะที่ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 ของกรมชลประทานแผนการจัดสรรน้ำ โครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (วันท่ี 1 พ.ย.62 ถึง 30 เม.ย. 63) ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ปริมาตรน้ำต้นทนุ สามารถใช้การได้ จ่านวน 26,666 ล้าน ลบ.ม. โดยการวางแผนจัดสรรน้ำท้ังประเทศ จ่านวน 17,699 ล้าน ลบ.ม.

 


ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 – ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 7,495 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา วันนี้ใช้น้ำไป 17.71 ล้าน ลบ.ม. ต้ังแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 2,206 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 55 ของแผนจัดสรรน้ำ

 

ส่วนแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63ทั้งประเทศ จำนวน 7.21 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 4.54 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.67 ล้านไร่ ลุ่มเจ้าพระยา จำนวน 1.64 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว 1.05 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.59 ล้านไร่ 
   

สำหรับผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 (ข้อมูล ณ 22 มกราคม 2563)ทั้งประเทศ จ่านวน 5.94 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 4.71 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 1.23 ล้านไร่ คิดเป็น ร้อยละ 82.39 ของแผน ลุ่มเจ้าพระยา จำนวน 3.18 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว 2.80 ล้านไร่ พืชไร่-พืชผัก 0.38 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 193.90 ของแผน

 

ทั้งนี้จังหวัดที่มีการปลูกข้าวมากกว่าแผน รวม 3.16 ล้านไร่ แบ่งเป็น ในเขตชลประทาน 41 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด อ้านาจเจริญ อุดรธานี

 

กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นนทุบรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี ตรัง สตูล และสุราษฎร์ธานี พืนท่ีรวม 2.81 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 3 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ มุกดาหาร และฉะเชิงเทรา พืนที่รวม 0.34 ล้านไร่

 

ผลกระทบด้านการเกษตรจากภัยแล้ง ช่วงภัยเดือน ก.ย. 62 – ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ม.ค. 63) จังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 20 จังหวัด จำนวน 106 อ่าเภอ 592 ต่าบล 5,065 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย(14) น่าน(2) เพชรบูรณ์(6) อุทัยธานี(8) อุตรดิตถ์

 

(4) พะเยา(5) สุโขทัย(4) นครพนม(1) มหาสารคาม(7) บึงกาฬ(4) หนองคาย(8) บุรีรัมย์(7) กาฬสินธุ์(1) นครราชสีมา(5) จังหวัดสกลนคร(8) กาญจนบุรี(6) ฉะเชิงเทรา(2) ชัยนาท(4) นครสวรรค์(6) และจังหวัดสุพรรณบุรี(4) และอยู่ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวั ดลงนามในประกาศเขตฯ 1 จังหวัด คือ จังหวัดขอนแก่น(18)


ผลกระทบด้านการเกษตรในเบื้องต้น ด้านพืช ประสบภัย 21 จังหวัด เกษตรกร 252,377 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,267,702 ไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว 20 จังหวัด เกษตรกร 111,120 ราย พื้นที่เสียหาย 1,152,596 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,012,978 ไร่ พืชไร่ 139,041 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 578 ไร่ คิดเป็นวงเงิน 1,288.04 ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 1,011 ราย พื้นที่ 5,770 ไร่ เป็นเงิน 6.43 ล้านบาท ส่วนด้านปศุสัตว์และประมง ยังไม่มีรายงานผลกระทบ

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ