ข่าว

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 "ท่องโลกเกษตรพบพระ"รับวาเลนไทน์(1)  ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

         ด้วยความที่สภาพภูมิอากาศเป็นใจ  ใพื้นที่อ.พบพระ จ.ตากในอดีตนั้น  ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกไม้ดอกอย่างกุหลาบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ปากคลองตลาด ตลาดไทและกระจายส่งออกไปทั่วประเทศ

          ทว่าปัจจุบันไม่เพียงแค่กุหลาบเท่านั้นเป็นไม้ดอกที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ยังมีไม้ผลอย่างทุเรียน อะโวกาโด้  แมกกาเนเมียนัทและพืชผักอีกหลากหลายที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ 

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

                          อรพินทร์ แสงมณี เกษตรอำเภอพบพระ

          “ท่องโลกเกษตร”อาทิตย์นี้มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือตอนล่าง อ.พรบพระ จ.ตากกับทีมคณะกรรมการบริหารสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย(สกท.)เพื่อสำรวจพื้นที่ภาคการเกษตรในการนำมาเป็นข้อมูลสำหรับการเตรียมจัดทริปพิเศษให้กับสมาชิกสมาคมฯและผู้สนใจทั่วไปตามโครงการ“ท่องโลกเกษตรพบพระรับวาเลนไทน์”ในระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ซึ่งการเดินทางสำรวจพื้นที่ครั้งนี้ได้พาหะคู่ใจอย่างเอสยูวีขับเคลื่อนสี่ล้อพันธุ์แกร่งเพื่อการเกษตร“ฟอร์ด เอเวอร์เรส”มุ่งสู่จุดหมายตามที่กำหนดไว้

          เช้าตรู่ในวันหนาวเหน็บพวกเราเริ่มต้นเดินทางจากที่ทำการสมาคมฯ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเจนเพื่อมุ่งหน้าสู่อ.พบพระตามกำหนดการที่วางไว้ ขับไปเรื่อย ๆ แวะดูงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาวที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก(ดอยมูเซอ) จากมุ่งหน้าสู่อ.พบพระ จ.ตาก  ก่อนถึงที่หมายราวบ่ายสามโมงโดยประมาณ

          จากนั้นได้ร่วมพูดคุยสนทนากับเกาตรอำเภอพบพระ"อรพินทร์ แสงมณี"ถึงพื้นที่การเกษตรของอ.พบพระ โดยอ.พบพระ จ.ตากนั้น ถือเป็นแหล่งปลูกพืชผัก ไม้ดอกและไม้ผลที่สำคัญของจ.ตาก เนื่องจากมีสภาพพื้นที่และภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอาทิ ทุเรียน อะโวกาโด้ แมคกาเดเมียนัท รวมถึงพืชผักอย่างผักกะหล่ำ ไม่เพียงเท่านั้นอ.พบพระยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกกุหลาบมากที่สุดในประเทศไทย 

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

          จากข้อมูลสำนักงานเกษตรอำเภอพบพระระบุว่าปี 2560 มีพื้นที่ปลูกกุหลาบประมาณ 1,847 ไร่ แม้ปัจจุบันพื้นที่ปลูกจะลดลงเรื่อย ๆ โดยมีพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างรายได้ดีกว่าเข้าเข้ามาแทนที่ อย่างเช่นทุเรียน เงาะ ลำไย อะโวกาโด้และแมคกาเดเมียนัทเข้ามาแทน โดยปลูกเสริมในแปลงกุหลาบเพื่อลดพื้นที่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างกุหลาบที่ปลูกกันมาอย่างยาวนาน เพื่อเสริมสร้างรายได้ตลอดทั้งปี

          ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบในอ.พบพระมีอยู่ประมาณ 90 ราย โดยสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ สายพันธุ์แกรนด์กาลา โดยสัดส่วนกว่า 90% จำหน่ายในประเทศ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ปากคลองตลาดและตลาดไท  ส่วนอีก 10% ส่งจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้าน สาเหตุพื้นที่ปลูกกุหลาบลดลง อรพินทร์บอกว่ามาจาก 3 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยแรกเรื่องแรงงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานชาวเมียนมา โดย 1 ไร่ จะใช้แรงงานประมาณ 2 คน ในการดูแลรักษา ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตัดแต่งกิ่ง ตัดดอก และถอนหญ้า ซึ่งได้ค่าแรงตามค่าจ้างขั้นต่ำ แม้เกษตรกรจะมีการขึ้นทะเบียนแรงงานได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่เมื่อแรงงานได้รับบัตรแรงงาน ก็มักจะย้ายไปทำงานที่อื่น จึงสร้างความไม่มั่นใจและความไม่แน่นอนให้กับเกษตรกร

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

          ปัจจัยต่อมาเรื่องโรคแมลง ที่เกษตรกรต้องประสบทุกปี เช่น เพลี้ยไฟ ไรแดง ขณะที่ในช่วงฤดูฝนจะประสบโรคใบจุด ใบร่วง   ประกอบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทั้งร้อนและเย็นสลับกัน ส่งผลให้ผลผลิตน้อยลง และหากแก้ไขไม่ทันและโรคระบาดไปทั้งแปลง เกษตรกรต้องตัดแต่งกิ่งใหม่ ใช้ระยะเวลาอีก 2-3 เดือน ถึงจะได้ผลผลิต ทั้งนี้พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกกุหลาบได้ 3,000 ต้น สามารถตัดดอกได้ 500 ดอก แต่ช่วงที่ประสบโรคระบาด ผลผลิตจะลดลงเหลือเพียง 300 ดอกเท่านั้น

          และปัจจัยสุดท้ายเรื่องราคา กุหลาบสามารถแบ่งเกรดได้ 2 อย่าง คือ ไม้ใหญ่ ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ดอกถึงปลายก้าน 60 เซนติเมตรขึ้นไป และไม้รอง ที่มีขนาดเล็กกว่า โดยเฉลี่ยราคาทั้งสองเกรดตลอดทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ดอกละบาท ซึ่งถือว่าไม่คุ้มทุน เพราะราคาที่เกษตรกรสามารถอยู่ได้อย่างน้อยดอกละ 3 บาทขึ้นไป  แต่ทั้งนี้ราคาของกุหลาบจะขึ้นอยู่กับราคาตลาด ณ วันนั้นด้วย

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"       

            ขณะเดียวกันดอกกุหลาบจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาดไทยมากขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และญี่ปุ่น แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ลักษณะพรีเมี่ยมกว่า ดอกใหญ่กว่า และสวยกว่าของไทยส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนลดความเสี่ยง และใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า ด้วยการปลูกพืชผักแซมตามช่องว่าง เช่น ผักกะหล่ำ พริก  และบางส่วนเลิกปลูกกุหลาบแล้วหันมาปลูกไม้ผลแทน ได้แก่ ทุเรียน  อะโวคาโด แมคกาเดเมียนัท เป็นต้น 

     

        “พื้นที่เกษตรพบพระจะพิเศษกว่าที่อื่น เพราะน้ำใต้ดินเป็นน้ำแร่ ท่านหัวหน้าระพีทัศน์(อุ่นจิตตพันธุ์)เกษตรจังหวัดตากคนก่อนที่เพิ่งย้ายไปยโสธรบอกว่าเราน่าจะสร้างสตอรี่ขึ้นมาจะได้เพิ่มมูลค่าได้ อย่างเช่นทุเรียนน้ำแร่ รสชาติจะต่างจากทุเรียนที่อื่น แล้วความพิเศษของทุเรียนที่นี่จะมีผลผลิตให้รับประทานกันทั้งปี”เกษตรอำเภอพบพระกล่าวยืนยัน ก่อนมอบภารกิจสำรวจพื้นที่ปลูกพืชเกษตรในอ.พบพระให้กับ"สุระวิทย์ ปัญญา นักวิชาการส่งเสริมเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระพาพวกเราลุยสวนเกษตรกร โดยลงพื้นที่ดูแปลงกุหลาบพันปีที่ไร่ปฐมเพชรเป็นแห่งแรก

 ยลความงามกุหลาบพันปีที่"ไร่ปฐมเพชร"        ทุเรียนน้ำแร่

      สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย(สกท.)จัดทริปพิเศษ"ท่องโลกเกษตรพบพระรับวันวาเลนไทน์ระหว่าง 7-9 ก.พ.63 สนใจสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่สมาคมฯโทร.02-9405425-6,06-4652-6499 ในวันและเวลาราชการ

                                             

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ