ข่าว

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ลำปางประเดิมปลูกกัญชาใช้ทางการแพทย์ 1,200 ต้น สภาเกษตรฯดึงผู้เชี่ยวชาญสหรัฐร่วมวางระบบ พัฒนาสายพันธุ์ ตอบโจทย์คนไทย  

 

24 ธันวาคม 2562 นายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า จังหวัดลำปางได้นำร่องปลูกกัญชาเป็นจังหวัดแรก ผ่านการประสานและดำเนินการของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

ทั้งนี้ภายหลังจากได้รับอนุุญาตจากกรมการแพทย์แผนไทยให้ดำเนินการทดลองปลูกเพื่อใช้ในทางการแพทย์ จากที่ได้รับอนุญาตทั้งหมด 4 แห่งได้คือลำปาง บุรีรัมย์ กาญจนบุรี สุราษฏร์ธานี โดยมีนักวิชาการมหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมให้ความรู้กับเกษตรกร เพื่อการศึกษาทดลองเท่านั้น แต่ห้ามปลูกตามบ้านเรือน ซึ่งได้รับความสนใจชาวบ้านจำนวนมากเนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรที่แอบปลูกและใช้กันมานานและต้องการทำให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วยแนวทางทางการแพทย์ จากการสกัดสารที่เป็นประโยชน์นำไปใช้ต่อไป

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

นายประพัฒน์  ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  กล่าวว่า พื้นที่นำร่องทดลองปลูกกัญชาเพื่อใช้ในทางการแพทย์ เป็นที่ที่ตนและครอบครัวทำการเกษตรมานานกว่า 40 กว่าปี ต่อมากลุ่มเกษตรกรจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมนุมเพชรลานนาด้านอินทรีย์ ได้ขออนุญาตในการใช้พื้นที่ทำการปลูกและขอวิจัยกัญชา จึงได้ประสานขออนุญาตโดยกรมการแพทย์แผนไทย และถือเป็นกิจกรรมของเกษตรกรอย่างแท้จริง เชื่อว่าจะได้รับรู้เรื่องกัญชามากขึ้น รวมทั้งการดำเนินการทุกอย่างเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของความมั่นคง ต้องรายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกสัปดาห์ สำหรับผู้สนใจจะดูงานสามารถขออนุญาตจากทางจังหวัดเท่านั้น

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 


นายประพัฒน์กล่าวว่า หลังจากนี้คาดว่ากระทรวงสาธาณสุขจะมองว่ากัญชาปลูกไม่ยาก ไม่ต้องลงทุนสูง  ไม่ต้องปลูกในโรงเรือนปิดก็ได้ และพื้นที่นำร่องนี้เป็นแปลงแรกที่ปลูกนอกโรงเรือนตามพื้นที่ธรรมชาติ เจริญงอกงามได้เต็มที่  ไม่จำเป็นต้องยึดแบบการปลูกอย่างต่างประเทศ อีกทั้งการนำร่องครั้งนี้ เป็นการปลูกนอกฤดูกาลคือปลูกในช่วงหน้าแล้ง เก็บเกี่ยวหน้าฝนอาจได้ผลไม่เต็มที่ เพราะช่วงเวลาที่เหมาะสมเจริญงอกงามคือต้องปลูกหน้าฝน เก็บเกี่ยวหน้าแล้ง สำหรับพื้นที่มีทั้งหมด 45 ไร่ปลูกกัญชาในโรงเรือนครึ่งไร่  800 ต้น พื้นที่ด้านนอกโรงเรือน 3 ไร่ปลูกกัญชา 1,200 ต้น คาดว่าจะได้ผลผลิต 2 ตัน เพื่อส่งมอบกรมการแพทย์แผนไทยสู่กระบวนการเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนต่อไป

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

อย่างไรก็ตามการปลูกกัญชายังมีข้อกำหนดว่าผู้ปลูกต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สภาเกษตรกรแห่งชาติได้เดินหน้าหารือกับกระทรวงสาธารณสุขในการผ่อนปรนแก้กฏหมายหรือพ.ร.บ.สมุนไพร ให้การปลูกกัญชามีความความคล่องตัวมากขึ้นเพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกได้ตามข้อกำหนด เนื่องจากขณะนี้ปลูกได้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตตามราชการเท่านั้นไม่สามารถปลูกตามบ้านไม่ได้  

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

"อยากให้ผ่อนปรนข้อกฏหมายให้เกษตรปลูกได้ เพราะขณะนี้ผู้ขึ้นทะเบียนเท่านั้นที่ปลูกได้หรือเฉพาะรักษาตนเองแต่ห้ามทำให้เชิงพาณิชย์ ปัญหาในขณะนี้กฏกระทรวงบทเฉพาะกาลทำได้เพียงศึกษาวิจัยที่ต้องมีมหาวิทยาลัยรัฐ เอกชนที่มีภาควิชาทัตแพทย์ เแพทย์ศาสตร์  เภสัชศาสตร์ เกษตรศาสตร์ร่วมด้วยเท่านั้น"  

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

อาจารย์ปานเทพ  พัวพงษ์พันธ์  คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า มหาวิทยาลัยรังสิตได้ร่วมเซ็นเอ็มโอยูกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยก่อนหน้านี้ได้วิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาที่มีสารTHCสามารถฆ่าเซลมะเร็งทางเดินน้ำดีในหลอดทดลองได้ และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาพบว่าสารTHCที่เกิดจากการเสื่อมสลายของสารTHCยับยั้งเซลมะเร็งปอดในหนูทดลองได้ รวมทั้งเซลมะเร็งปอดของมนุษย์ด้วยถือเป็นความก้าวหน้าระดับโลกและได้วิจัยเป็นผลผลิตภัณฑ์ที่สกัดโดยเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยรังสิตที่นำกัญชาที่ไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลยสกัดแยกสารสำคัญทุกชนิดได้หมดตามที่เราต้องการมีกระบวนการตามตำรับยาไทยหลายชนิด

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

อย่างไรก็ตามม.รังสิตไม่มีวัตถุดิบมากเพียงพอที่จะใช้ในงานวิจัย ดังนั้นกระบวนการที่ได้ร่วมมือกับสภาเกษตรฯจึงเป็นการสร้างประโยชน์ให้ประเทศเพราะสภาเกษตรกรเป็นหน่วยงานที่เชื่อมกับวิสาหกิจชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญทำงานร่วมกัน มหาวิทยาลังรังสิตนอกจากจะวิจัยในห้องทดลองแล้วขั้นตอนต่อไปจะวิจัยในมนุษย์ และให้ผู้ป่วยเฉพาะเช่นมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ที่ต่างชาติยังไม่จดสิทธิบัตรเราต้องรีบทำ อีกทั้งงานวิจัยจะต้องมีความต่อเนื่อง ยาวนานนับปีหรือหลายปี สภาเกษตรกรฯจะต้องรองรับในหลายภาคส่วนหากไม่เพียงพอก็อาจขยายโครงการการเพาะปลูก และถือเป็นแนวทางรวมทั้งก้าวแรกที่สำคัญในลำดับต่อไปที่จะต้องมีการสานต่อในอนาคต

 

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

โครงการดังกล่าวมี Ryan Doran  และ David Feichko เป็นที่ปรึกษาโครงการนำร่องปลูกกัญชาทางการแพทย์สภาเกษตรกรแห่งชาติ จากแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา  โดย Ryan Doran กล่าวว่า เป็นทีมสนับสนุนการปลูกกัญชานำร่องของสภาเกษตรกรแห่งชาติที่จังหวัดลปาง เริ่มถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการปลูกกัญชา ที่ดำเนินการทั้งระบบตั้งแต่สถานที่ ความเหมาะสมการออกแบบโรงเรือน  ไฟฟ้า การถ่ายเทอากาศ  การให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อให้การดำเนินโครงการนำร่องการปลูกกัญชาในประเทศไทยได้มาตรฐาน เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทั่วโลก ทีมที่ปรึกษาได้นำความรู้  ข้อมูล การวิจัยจากอเมริกามาประกอบการวางแผนเพื่อสร้างบรรทัดฐานให้การปลูกกัญชาได้ผลิตดีและทันต่อสถานการณ์

 

Ryan Doran

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการที่ต่างประเทศและประเทศไทยมีความแตกต่างที่สภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศ เช่นแสงแดดที่สหรัฐอเมริกาจะมีช่วงระยะของแสงแดดที่ยาวนานกว่าบ้านเรา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวหรือในส่วนอื่น  ๆ ถือเป็นประเด็นรายละเอียด ที่จะต้องศึกษาและพัฒนาร่วมกันเพื่อให้ได้กัญชาที่มีคุณภาพตลอดจนสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดซึ่งเมล็ดที่ใช้ในการปลูกมาจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.)

 

"ความคาดหวังคือทำให้ดีที่สุดเพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย 2,000 กิโลกรัม และนำไปใช้ทางการแพทย์ ถือเป็นก้าวแรกและดีใจหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมมือกัน" 

 

David Feichko

 

พรึ่บ 1,200 ต้น...ก่อนสกัดใช้การแพทย์

 

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ