ข่าว

 จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ

 

 

        โครงการประกันรายได้เกษตรกร นับได้ว่าเป็นนโนบายสำคัญลำดับต้น ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ โดยหัวหน้าพรรค“จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์”ที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้เป็นข้อต่อรองในการเข้าร่วมรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี   ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนที่หวังเข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำของพืชหลายตัวในขณะนี้ 

     จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ   จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์

 

     “ต้องการดูแลและช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่กำลังเผชิญปัญหาราคาพืชเกษตรตกต่ำกระทบต่อรายได้และความเป็นอยู่ รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศให้มีการขยายตัวโดยพุ่งเป้าไปที่พืชเศรษฐกิจ 5 ชนิดได้แก่ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มันสำปะหลังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์”จุรินทร์กล่าวไว้หลังร่วมรัฐบาลไม่นาน

 

            คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 (รอบที่1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน 

 

 จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ   จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ

         และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 (รอบที่1) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ วงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดหลักเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวฯ ในฤดูการผลิตนี้แล้ว

            โดยเกษตรกรที่ปลูกข้าวต้องไปขึ้นทะเบียนกับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2562/63 รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2562 – 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ต้องปลูกข้าวระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยกำหนดชนิดและราคาประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกเหนียว ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ในราคาและปริมาณประกันรายได้ ณ ความชื้น ไม่เกิน 15% ชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว

           ซึ่งประกอบด้วยข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาทต่อตัน (ครัวเรือนละ 14 ตัน) ,ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาทต่อตัน (ครัวเรือนละ 16 ตัน) ,ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาทต่อตัน (ครัวเรือนละ 30 ตัน),ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 บาทต่อตัน (ครัวเรือนละ 25 ตัน) ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาทต่อตัน (ครัวเรือนละ16 ตัน) ซึ่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ากรณีที่เกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด จะได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด และเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด 

 จุรินทร์ คิกออฟประกันรายได้ 5 พืชเศรษฐกิจ

        ยกเว้นพันธุ์ข้าวที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 18 พันธุ์ เนื่องจากเป็นข้าวอายุสั้น และระยะเวลาได้รับสิทธิ์ชดเชยให้เป็นไปตามวันเก็บเกี่ยวที่ระบุในทะเบียนเกษตรกร ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการกำกับดูแลฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรกในวันที่ 16 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิ ตั้งแต่เก็บเกี่ยวถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2562) และครั้งต่อไปทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุด การใช้สิทธิตามโครงการ คือวันที่ 31 ตุลาคม 2563 ขั้นตอนและวิธีการ เป็นระบบ ชัดเจน ตรวจสอบได้

         สำหรับการชดเชยในครั้งแรกนั้น เงินชดเชยส่วนต่างเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจะได้รับในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 โดยเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยวในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงระยะเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย ใช้ข้อมูลผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่รายประเทศของข้าวแต่ละชนิดของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการคำนวณปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย คำนวณปริมาณผลผลิต ที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิเพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงินชดเชย 

      โดยใช้ข้อมูลและหลักการทางสถิติอันเป็นที่ยอมรับโดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดมาคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณผลผลิตที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด โครงการนี้ได้บูรณาการหน่วยงานกำกับดูแลใกล้ชิดโปร่งใส เป็นธรรม ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดเพื่อคอยติดตาม กำกับดูแลการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและป้องปรามเพื่อให้การค้าขายปกติ เกิดความเป็นธรรม ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกร

        ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ 1. กรมการค้าภายใน ในฐานะประธาน คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทำหน้าที่พิจารณา กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงของการประกันรายได้ 2. ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานหลักในการจ่ายเงินชดเชย และช่วยประชาสัมพันธ์ โครงการให้เกษตรกรได้รับทราบและ3. กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว โดยคำนึงถึงความสะดวกและประโยชน์ที่เกษตรกรพึงได้รับการช่วยเหลือโดยเร็ว รวมทั้งร่วมกับกรมการค้าภายใน ธ.ก.ส. และจังหวัดแหล่งผลิต ในการชี้แจงเกี่ยวกับโครงการประกันรายได้ฯ ในระดับพื้นที่ การจ่ายเงินแก่เกษตรกร ธ.ก.ส. จะโอนเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดภายใน 3 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง ในแต่ละรอบ โดยเกษตรกรไม่ต้องทำสัญญากับ ธ.ก.ส.

       ทั้งนี้ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังได้เป็นประธานในการประชุมมอบนโยบายการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และชาวสวนปาล์มน้ำมัน ต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะอนุกรรมการติดตามกำกับดูแลการบริหารจัดการข้าวระดับจังหวัดและคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ที่กระทรวงมหาดไทย กับผู้แทนจาก 8 หน่วยงาน โดยใช้ระบบประชุมวีดีทัศน์ทางไกล (VDO Conference)

      โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวในที่การประชุมว่ามีความจำเป็นในการซักซ้อมทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องในนโยบายสำคัญของรัฐบาลคือการประกันรายได้เกษตรกร การประกันรายได้เกษตรกรเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งจะประกันรายได้ 5 ประเภท ได้แก่ ข้าว ยาง มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดแต่รัฐบาลจะดูแลทุกผลผลิตการเกษตร แต่อาจจะเป็นวิธีต่างกัน ขอให้เกษตรกรอื่นๆ ไม่ต้องกังวล สินค้าเกษตร 2 ตัว ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว คือ ข้าวและปาล์มน้ำมัน ส่วน ยางพารา จะมีการประชุมเพื่อออกมาตรการการประกันรายได้เร็ว ๆ นี้ โดยการดำเนินนโยบายนี้ต้องมีการหารือ 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และตัวแทนเกษตรกร เพื่อให้การดำเนินนโยบายราบรื่น และบรรลุเป้าหมายสูงสุด

       จุรินทร์ กล่าวว่านโยบายการประกันรายได้มีขึ้นเนื่องจากการปล่อยให้เกษตรกรขายสินค้าที่ราคาตลาดไม่เพียงพอที่การดำรงชีพ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกเติบโตไม่ดี ทำให้ความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลกอาจจะตกต่ำ นอกจากนี้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของไทยอาจจะมีแนวโน้มเกินความต้องการในประเทศ จำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก และรัฐบาลนี้ไม่อยากทำการลดการผลิตจะกระทบกับเกษตรกร 

         อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็มีนโยบายเพิ่มความต้องการภายในประเทศ แต่อาจต้องใช้เวลา นโยบายนี้จะทำให้เกษตรกรมีรายได้สองทางคือ 1. รายได้จากการขายสินค้าเกษตร และ 2. ราคาชดเชยที่รัฐบาลจ่ายให้เรียกว่าส่วนต่าง ซึ่งคำนวณจาก ราคาประกัน – ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง = ส่วนต่างที่รัฐชดเชย โดยรัฐบาลจะโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชี ธ.ก.ส. เกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น

   

 

     สำหรับปาล์มรัฐบาลจะประกันรายได้ที่ กิโลกรัมละ 4 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ สำหรับการประกันรายได้นี้ ไม่ใช่การประกันราคาพืชผลการเกษตร เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะประกันราคาที่จะขึ้นลงตลอดเวลา และจะเป็นการแทรกแซงตลาดและขัดกับหลักการ WTO แต่รัฐบาลจะประกันรายได้ โดยการโอนส่วนต่างดังที่ได้แจ้งก่อนหน้า ส่วนสาเหตุที่รัฐบาลประกันรายได้ชาวสวนปาล์มมากที่สุดที่ 25 ไร่ต่อครัวเรือน เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มีที่ดินไม่ถึง 25 ไร่ ไม่เปิดทั้งหมด เนื่องจากนโยบายนี้ตั้งใจช่วยคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยรัฐบาลได้จ่ายเงินงวดแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ของไทย

       ส่วนข้าวนั้นจะเริ่มจ่าย 15 ตุลาคม 2562 เกษตรกรปลูกข้าวที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ให้รีบไปขึ้นทะเบียน/ตรวจสอบสิทธิ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ และเปิดบัญชีกับ ธ.ก.ส. เพื่อใช้สิทธิรับเงินประกันรายได้งวดต่อไป โดยจะรวมเกษตรกร ที่ลงทะเบียนที่ประสบภัยแล้งหรือน้ำท่วมด้วย ถึงแม้จะขายพืชผลไม่ได้ ก็จะได้รับเงินชดเชยนี้เช่นกัน สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์สามารถไปขึ้นทะเบียนและสามารถได้รับเงินชดเชยดังกล่าวได้ด้วย  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-จุรินทร์ ลุยจีนเปิดตลาดสินค้าเกษตรจีน
-วันแรกอินเดีย จุรินทร์ ลุย 3 MOU
-"จุรินทร์" หารือการค้ารองนายกฯจีน เจรจาขายข้าว-ยางพารา
-จุรินทร์ สั่งลูกพรรคลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม
 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ