ข่าว

เมล่อนในโรงเรือนM melon farm

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ - ทำกินถิ่นอาเซียน โดย-รศ.ดร.พิชัย ทองดีเลิศ   [email protected] 

             ในยุคที่เกษตรกรและผู้ประกอบการภาคเกษตรต้องใช้ความรู้ความสามารถและวิธีคิดแปลกๆในการทำการเกษตรเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในยุคที่สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะไม่ค่อยเอื้ออำนวย ทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการหลายรายต้องประสบกับปัญหาอย่าเลี่ยงไม่ได้ บางรายก็อดทนทำต่อ บางรายก็ถอดใจเลิกทำไปเลยเพื่อตัดปัญหา แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็จะประสบปัญหาตามมาภายหลังเนื่องจากการประกอบการทุกอย่างต้องมีการลงทุน

 

            ดังนั้นเรื่องของวิธีคิดและการจัดการในการประกอบการธุรกิจเกษตรจึงค่อนข้างมีความสำคัญมากนอกเหนือจาการมีทรัพยากรและเงินทุนในการประกอบการ เมื่อสองวันก่อนผมได้มีโอกาสผ่านไปแถวปทุมธานีและมีโอกาสได้แวะเยี่ยมชม M melon farm รวมถึงได้พูดคุยกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของฟาร์มดังกล่าว ซึ่งมีแนวคิดที่น่าสนใจในการประกอบการ 

            โดยเป็นแนวคิดง่ายๆ ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม แต่มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ โดยการปลูกเมล่อนนั้นเน้นใช้พันธุ์จากญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ เพื่อเน้นให้เห็นในเรื่องของคุณภาพพันธุ์ และมีการปลูกในโรงเรือนที่ออกแบบเอง ซึ่งสามารถเลือกแบบ วัสดุและการควบคุมอากาศ ความชื้น การให้น้ำให้ปุ๋ยได้แบบเหมาะสมกับสภาวะอากาศแต่ละช่วงที่เปลี่ยนไป โดยตรงนี้ต้องเอาใส่และดูแลเป็นอย่างมาก

            โดยในหนึ่งโรงเรือนจะมีเมล่อนประมาณ 500 ต้น และผลผลิตจะเลือกต้นละหนึ่งลูกเท่านั้น ซึ่งจากที่ผมดูด้วยสายตาก็ยังคิดว่ามีแค่สองสามร้อยต้น ด้วยการออกแบบและแบ่งระยะที่ดีจึงสามารถทำได้แบบสบาย และเลือกปลูกบนวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดินแต่ก็มีการบำรุงรักษาด้วยปุ๋ยหมักเป็นหลักบวกกับโรงเรือนที่ออกแบบให้แสงส่องผ่านและระบายอากาศได้ดีจึงมีปัญหาเรื่องเชื้อราที่โคนต้นน้อยมาก 

              ส่วนแมลงที่หลุดรอดเข้าไปได้โดยดูจากแผ่นดักจับก็มีน้อยมากเช่นกัน ส่วนในด้านผลิตก็เน้นเรื่องของคุณภาพโดยคัดเลือกผลสดมาขายเฉพาะที่เป็นเกรด A ประมาณ 30 % ของผลผลิตทั้งหมดส่วนที่เหลือก็จะนำมาแปรรูป และเป็นวัตถุดิบของร้านอาหารที่มีหลายเมนูอาหารให้เลือกควบคู่กันไป ในวันที่ผมไปก็ได้มีโอกาสชิมส้มตำเมล่อน แกงส้มเมล่อน รวมถึงน้ำเมล่อนที่คั้นจากผลสด ซึ่งก็เป็นรายได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการขายผลสดที่มีจำนวนไม่มากนัก แม้ว่าจะปลูกเมล่อนในโรงเรือนได้ถึงปีละ 4 ครั้ง

             และด้วยแนวคิดว่าการปลูกเมล่อนเพียงอย่างเดียวนั้นมีความเสี่ยง ถ้าไม่ได้ผลผลิตอย่างที่คิดไว้ก็จะทำให้ขาดรายได้ จึงได้ปลูกพวกผักสลัดและพวกต้นทานตะวันอ่อนเพื่อการบริโภคเพิ่มด้วยอีกทางหนึ่ง เพราะใช้โรงเรือนและระบบเทคโนโลยีในการควบคุมดูแลคล้ายกัน จึงไม่ใช่เรื่องลำบากที่จะทำเพิ่ม

             ส่วนเรื่องของแรงงานนั้นก็ยังจำเป็นต้องใช้แต่ด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยจึงทำให้ใช้คนงานเพียงสองคนในการดูแลเมล่อนสองโรงเรือนและผักหนึ่งโรงเรือน และยังมีการสร้างโรงเรือนเพื่อโชว์เรื่องของเทคโนโลยีและผลผลิตไว้บนดาดฟ้าของร้านอาหารเพื่อสร้างสีสันและดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สามารถจองผลผลิตเมล่อนและมาตัดได้ด้วยตนเองตามเวลาที่กำหนด

     

      เมล่อนที่นี่ราคาขายแพงกว่าที่อื่น 40 % แต่ก็ยังขายได้เรื่อยๆ เพราะเน้นในเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความเอาใจใส่ของเจ้าของฟาร์ม บวกกับการให้ความรู้และวิธีคิดแก่ผู้บริโภคที่ผ่านเข้ามา เรียกได้ว่ากินเมล่อนที่อร่อย ได้ความรู้ในการทำฟาร์ม และได้วิธีคิดในการปรับตัวและแก้ปัญหาในเวลาเดียวกันอีกด้วยครับ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ