Lifestyle

จับเข่าคุย อาตมัน ทองอยู่ สำนักข่าว SALIKA (ตอนจบ)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

จับเข่าคุย อาตมัน ทองอยู่ สำนักข่าว SALIKA (ตอนจบ) คอลัมน์...  ตำข่าวสารกรอกหม้อ  โดย...  จักรกฤษณ์ สิริริน

 

 


          SALIKA เป็นสำนักข่าวหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองของคนในวงการสื่อ


          หากเราเข้าไปดู Facebook ของ SALIKA เราจะพบ การกด Like การ Comment และการ Share ข่าวของ SALIKA จากนักอ่าน Generation Y เป็นส่วนใหญ่

 

 

          เพราะ Theme หลักของ SALIKA คือการเป็นสำนักข่าวที่นำเสนอเรื่องราวของ “นวัตกรรม” จึงทำให้โดนใจนักอ่าน Generation Y ค่อนข้างมาก


          เนื้อหาอีกส่วนหนึ่งของ SALIKA คือการนำเสนอความก้าวหน้าของ “อุตสาหกรรมเป้าหมาย” หรือ 12 S-Curve ของรัฐบาล ภายใต้การดำเนินงานของ EEC หรือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก


          คอลัมน์ “ตำข่าวสารกรอกหม้อ” นิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” หนังสือพิมพ์ “คมชัดลึก” เสาร์นี้ ได้รับเกียรติจาก “อาตมัน ทองอยู่” แห่งสำนักข่าว SALIKA มาจับเข่าคุยกันเป็นตอนจบครับ


          ถาม: จากประสบการณ์การอยู่ต่างประเทศที่ผ่านมา คิดว่าแวดวงข่าวออนไลน์ของเรายังขาดอะไรอยู่ครับ
          ตอบ: ผมว่า Content ในบ้านเรายังมีช่องว่างให้ก้าวไปข้างหน้าได้อีกเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในแนวลึกหรือแนวกว้าง ดูอย่างต่างประเทศจะมีบทความวิชาการ งานวิจัย รายงานเชิงลึก หรือการสำรวจต่างๆ ด้วยความพร้อมของเขา โดยเฉพาะในเรื่องของข้อมูล หรือ Data ที่กว้างใหญ่ไพศาล ผ่านการวิเคราะห์จนเป็น Big Data ที่เป็นประโยชน์ต่อคนในวงกว้างได้ ตัวอย่างใกล้ตัวเลยก็เช่น บทความวิเคราะห์คาดการณ์เศรษฐกิจที่นำมาเผยแพร่แค่บางย่อหน้าบนเว็บไซต์ ถ้าใครอยากอ่านต่อหรือต้องการไฟล์ฉบับเต็มก็ต้องจ่ายเงิน อาจจะผ่าน Paypal, Alipay หรือ e-Wallet อื่นๆ ซึ่งโมเดลนี้ก็ Win-Win เพราะบ้านเขาให้ค่ากับ Content ในด้านคุณค่าและมูลค่า คนอ่านได้ข้อมูลความรู้ สื่อ หรือผู้เขียนก็อยู่ได้ เพราะมีรายได้กลับเข้ามา


          ยิ่งในยุคดิจิทัล Journalism ต้องเพิ่มศักยภาพตัวเองเป็น Data Journalism ผมคิดว่า ในสถานการณ์แบบนี้ สื่อฯ เราอยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้ ต้องมีความรู้ นำเสนอ Content ที่ให้ข้อมูลถูกต้อง Integrate ข้อมูลได้ โดยไม่นำเสนอข้อมูลเพียงแค่ชั้นเดียว หรือ 5W (Who, What, Where, When, Why) แต่ต้องบอกได้ว่า ควรทำอย่างไร หรือแก้ปัญหาตรงไหน (How) อาจให้ข้อมูลคาดการณ์เชิงลึก หรือชี้ประตูทางออกทางเลือกเอาไว้ และที่สำคัญ ต้องสื่อสารออกมาเป็นภาพให้เข้าใจง่ายได้ด้วย




          สังเกตจากการนำเสนอข่าวหรือบทความ ผมพบว่าในเมืองไทยยังมี Data Journalism น้อยมาก แวดวงสื่อบ้านเราจึงต้องพัฒนาทักษะด้าน Visualising Data ซึ่งผมเชื่อว่า ยิ่งสื่อมีความรู้ความพร้อม และสร้าง Content ที่มีคุณภาพออกมามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและเป็นหูเป็นตาให้สังคมได้มากขึ้นเท่านั้น


          สุดท้ายนี้ อยากฝากคำแนะนำของ Charles Arthur จาก The Guardian เขาแนะนำการทำงานของสื่อมวลชนในยุคนี้ไว้ว่า “Find a story that will be best told through numbers” หมายถึง “ลองหาเรื่องราว ที่คิดว่าจะเล่าออกมาได้ดีที่สุด ผ่านข้อมูลที่เป็นตัวเลขดูสิ” ขอบคุณครับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ