
กษิตทวงบุญคุณเขมรที่ไทยหนุนเอกราช
"กษิต" เปิดโต๊ะแถลงหลังกลับจากชี้แจงศาลโลก ยันไทยไม่ใช่ประเทศใหญ่รังแกประเทศเล็ก ทวงบุญคุณเป็นประเทศแรกที่รับรองเอกราชให้ แถมยังหนุนให้ร่วมอาเซียน
(2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่่างประเทศ แถลงข่าวภายหลังการเดินทางกลับจากกรุงเฮกแประเทศเนเธอร์แลนด์ว่าเพื่อชี้แจงต่อศาลโลกกรณีที่กัมพูชาร้องขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเสวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทยที่ไปในครั้งนี้มีแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และ กองทัพบก ซึ่งเราได้ประเมินเป้าประสงค์ของกัมพูชาว่า ต้องการใช้อำนาจศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระหารซึ่ง รวมถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร นั่นหมายถึงว่า พื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และเป็นการเปิดทางให้กัมพูชาอ้างต่อกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกว่าบัดนี้พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้ตกเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้นแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารก็จะดำเนินการต่อไปได้
นายกษิต กล่าวต่อว่าในการให้การโต้แย้งในศาล เรายืนยันชัดเจนว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 แล้ว โดยเราได้ยกปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาและถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งทำแนวรั้ว ซึ่งเท่ากับว่าเราบอกต่อประชาคนโลกและกัมพูชาว่าส่วนที่เหลือเป็นของประเทศไทย ฉะนั้นการที่ศาลจะพูดอะไรโดยใช้แผนที่ 1:200,000 ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีก
"หากมีการพิจารณาและยกดินแดนให้กับกัมพูชาในครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการใช้ประตูหลัง" นายกษิตกล่าว
นายกษิตกล่าวต่อว่า ไทยเห็นว่าไม่มีความเร่งด่วนและมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ไม่อยู่ในภาวะที่จะแก้ปัญหาต่างๆได้ เนื่องจากเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย ที่อยู่ห่างปราสาทพระวิหารราว 50 กิโลเมตร อีกทั้งประเด็นความขัดแย้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร ดังนั้นจะเอาเรื่องปราสาทตาเมือนกับตาควายมาเกี่ยวโยงกับปราสาทพระวิหารจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ยืนยันว่ากลไกทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนสามารถเดินหน้าต่อไปได้ อีกทั้งขณะนี้ก็ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เตรียมกำหนดการประชุม จีบีซีที่ จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ
นายกษิต กล่าวถึงการดำเนินการตามแพ็คเกจเพื่อส่งคณะผู้สังเกตุการณ์ชาวอินโดนีเซียลงพื้นที่ว่า ทางไทยก็มีความพร้อม ดังนั้นการที่กัมพูชากล่าวหาว่ากลไกต่างๆชะงักงันก็ไม่เป็นความจริง พร้อมกันนั้นไทยขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าไม่ได้เป็นประเทศใหญ่ที่รังแกกัมพูชา แต่ตลอดเวลาเราได้ช่วยเหลือกัมพูชา และไทย เป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองกัมพูชาจาการได้รับเอกราชจากฝรั่งเศศ และยังสนับสนุนให้กัมพูชาเข้ามามีส่วนในกลุ่มความร่วมมืออาเซียน
นายกษิตกล่าวต่อว่า ภายหลังจากการชี้แจงเสร็จสิ้นผู้พิพากษาชาวบราซิลก็ได้ถามถึงข้อมูลจากเหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนว่ามีชาวบ้านพักอาศัยเท่าไหร่และมีผู้อพยพออกจากพื้นที่และมีความเสียหายเท่าไหร่ ต่อมา ประธานศาลโลกที่เป็นชาวญี่ปุ่นก็ได้แจ้งว่าขอให้ทั้งสองฝั่งจัดทำเอกสารข้อมูล ส่งให้ศาลโลกภายใน 7 มิ.ย. ซึ่งศาลก็จะมอบึคำชี้แจงของแต่ละประเทศให้อีกฝั่งเพื่อทำข้อมูลแย้งและส่งคืนในวันที่ 14 มิ.ย. จากนั้น 3 สัปดาห์ก็จะมีคำตัดสินว่าจะรับหรือไม่รับการขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งหากรับก็ต้องมาดูว่ามาตรการจะมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามไทยก็มีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับคำตัดสินของศ่าลก็ได้ เพราะศาลโลกไม่มีหน้าที่บังคับแต่ หากมีคำตัดสิน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC จะเป็นผู้บังคับให้ใช้อำนาจนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า พอใจในการชี้แจงต่อศาลหรือไม่นายกษิตกล่าวว่า เราได้เตรียมการมาเกือบ 2 ปี อย่างไรก็ตามเราก็ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปเพื่อที่จะมาสนับสนุนข้อโต้แย้งกรณีที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมในปี 2505 ซึ่งต้องส่งให้ศาลภายในเดือน ก.ย. จากนั้นศาลจะใช้เวลา 4 - 5 เดือนในการพิจารณา