ข่าว

คลองสำโรง สมุทรปราการ ต้นเหตุได้ชื่อ พระประแดง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ความเป็นมาของชื่อ พระประแดง (ที่สมุทรปราการ) เกี่ยวข้องกับการขุดพบเทวรูป 2 องค์ ใน คลองสำโรง

 คลองสำโรง เป็นทางน้ำธรรมชาติ มีอยู่ก่อนแล้ว แต่นานเข้าก็ตื้นเขินจนเรือใหญ่แล่นไปมาไม่สะดวก

 ราว พ.ศ.2041 เชื่อกันสืบมาว่าสมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ 2 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.2034-2072) โปรดให้ขุดลอกชำระคลองสำโรงกับคลองทับนางให้กว้างขึ้น แล้วเรียกชื่อเดียวทั้งสายว่า คลองสำโรง เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง

 สำโรง หมายถึง ต้นสำโรง เป็นคำมาจากภาษาเขมรว่า สํโรง (อ่านว่า ซ็อมโรง)
 ชุมชนในคลองสำโรงมีเทวสถานตั้งรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์ ครั้นขุดลอกชำระเมื่อ พ.ศ.2041 จึงพบเทวรูปสัมฤทธิ์ 2 องค์ เรียกภายหลังว่า พระยาแสนตา องค์หนึ่ง กับ บาทสังขกร อีกองค์หนึ่ง

 เทวรูปสัมฤทธิ์ 2 องค์นี้ คนสมัยหลังเรียกด้วยภาษาปาก (ชาวบ้าน) ว่า พระประแดง มีรากจากภาเขมรว่า “กมรเตง” เป็นชื่อยศใช้เรียกพราหมณ์แบบเขมรโบราณสมัยนครธม มีศาลอยู่ตรงโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา (กระเพาะหมู) ตรงข้ามปากคลองสำโรง เรียก ศาลพระประแดง

 ต่อมายุคปลายอยุธยายาเรียกบ้านเมืองบริเวณปากน้ำว่า เมืองพระประแดง และ ปากน้ำพระประแดง (ขณะนั้นยังไม่มีชื่อเจ้าพระยา) ครั้นยุครัตนโกสินทร์ยกเป็นชื่อ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

 สุนทรภู่ พรรณนาถึง คลองสำโรง ไว้ในนิราศเมืองแกลง แต่งเมื่อ พ.ศ.2349 สมัยรัชกาลที่ 1 ว่า
    ถึงปากชื่อคลองสำโรงสำราญใจ
    พอน้ำไหลขึ้นเช้าก็เข้าคลอง

" เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ