ข่าว

“แม่น้ำกก”ต้นกำเนิดอารยธรรมล้านนา

“แม่น้ำกก”ต้นกำเนิดอารยธรรมล้านนา

20 ธ.ค. 2553

แม่น้ำกก เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทยโดยมีต้นกำเนิดมาจากภูเขาตอนเหนือของเมืองกก จ.เชียงตุง ภายในอาณาเขตของรัฐฉานในประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องแม่น้ำกก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ไหลมาเรื่อยๆ จนผ่านตัว อ.เมืองเชียงราย หลังจากนั้นก็ไ

 จิตร ภูมิศักดิ์ เชื่อว่าบริเวณแม่น้ำกกแห่งนี้เป็นศูนย์กลางใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่งของสังคมชนชาติไทยและอารยธรรมของไทยยุคก่อนหน้า พ.ศ.1800 ขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นเพราะบริเวณลำน้ำมีต้นกกขึ้นอยู่โดยรอบจึงเรียกแม่น้ำกก

 ซึ่งร่องรอยของอารยธรรมอยู่ที่สองฝั่งของแม่น้ำกก จ.เชียงราย และอ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีซากเมืองโบราณกระจายอยู่มากมาย ทั้งสองจังหวัดนี้รวมกันถึงกว่า 30 แห่งด้วยกัน

 เฉพาะที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางต้นแม่น้ำกกนั้นมีซากเมืองโบราณที่พบแล้วถึง 12 แห่ง และใน จ.เชียงราย ที่อยู่ปลายแม่น้ำกก มีซากเมืองโบราณที่พบแล้วเช่นกันกว่า 15 แห่ง

 ซากเมืองโบราณเหล่านี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ให้ความเห็นว่าน่าจะสร้างขึ้นราวหลังพุทธศตวรรษที่ 17 แต่อย่างไรก็ตาม จิตร ยังบอกว่าบริเวณแห่งนี้มีชนชาติไต-ไท ตั้งถิ่นฐานกันอยู่เรื่อยมาอย่างไม่ขาดสาย แต่มีศูนย์กลางทางการเมืองอยู่ทางน้ำแม่สายซึ่งอยู่เหนือขึ้นไปเล็กน้อย

 ชนชาติไทที่ลุ่มน้ำกกแห่งนี้มีอาชีพทำนา ปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำจากท่า หรือน้ำจากฟ้า พอถึงราวพุทธศตวรรษที่ 19 ศูนย์กลางทางการเมืองก็เริ่มย้ายจากน้ำแม่สายมาอยู่ที่น้ำแม่กก อำนาจทางการเมืองเริ่มขยายตัวลงทางใต้มากขึ้น

 จนกระทั่งราว พ.ศ.1805 พญาเมงราย กษัตริย์หิรัญนคร (เงินยาง) ก็มีอำนาจแล้วสร้างเมืองเชียงรายขึ้น ครั้นถึง พ.ศ.1839 พญาเมงรายก็ย้ายศูนย์กลางของเมืองลงมาที่ลุ่มแม่น้ำพิง (แม่น้ำปิง) สร้างเมืองขึ้นใหม่ เรียกว่านครพิงเชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นมาศูนย์กลางของสังคมไทยล้านนาก็ย้ายมาจากลุ่มแม่น้ำกกอันเก่าแก่ลงมาอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำพิง แล้วหยั่งรากอารยธรรมลึกตราบจนทุกวันนี้
คำอธิบายภาพประกอบ
 

เรือนอินทร์ หน้าพระลาน