
ฟื้นฟูประวัติศาสตร์อู่ทอง ขุดลอกคูเมืองเก่า
อู่ทอง ถูกตั้งเป็นชื่อเมืองโบราณ และชื่ออำเภอใน จ.สุพรรณบุรี จิตร ภูมิศักดิ์ นักนิรุกติศาสตร์ ผู้ล่วงลับ เคยให้ข้อสังเกตว่า อู่ เป็นคำไทย-ลาวที่ใช้มาแต่โบราณแปลว่า เปล ราชาศัพท์เรียกเปลว่า พระอู่ ไทยอีสานและลาวก็ยังเรียกเปลว่า อู่ วรรณกรรมโบราณ ก็มีชื่
ในอีกทางหนึ่ง สุจิตต์ วงษ์เทศ ก็เสนอว่า อู่ ที่แปลว่า ที่อยู่, ที่เกิด นั้นน่าจะเป็นความหมายเดิม เพราะมีคำที่ว่า เข้าอู่ หมายถึง มดลูกกลับเข้าสู่ท้องแม่หลังคลอด ซึ่งการเกี่ยวข้องกับครรภ์กำเนิดมักเป็นเรื่องของความเชื่อที่มีมาแต่ยุคดั้งเดิม
อู่ทอง ยังเป็นชื่อคนที่ปรากฏในนิทานว่า พระเจ้าอู่ทอง หรือท้าวอู่ทอง มีในจดหมายเหตุ วัน วลิต หรือฟาน ฟลีต ชาวฮอลันดา ว่าหนีโรคห่าลงมาตั้งเมืองที่หนองโสน นามว่า อยุธยา นอกจากนี้ยังมีในตำนานอีกหลายเรื่อง เช่น ตำนานท้าวแสนปม ตำนานในพงศาวดารเหนือ ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช
แต่ชื่อเมืองอู่ทอง ที่ อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี เป็นชื่อสมมติตั้งตามนิทานตำนาน ชื่อเมืองแต่เดิมไม่ปรากฏหลักฐานว่าเรียกอะไร แต่เดาว่าอาจเป็นส่วนที่จีนเรียกในเอกสารโบราณว่า จินหลิน แปลว่า แผ่นดินทอง มีความหมายตรงกับ สุวรรณภูมิ ตามชื่อต่างชาติในแผนที่โบราณที่ชาวต่างชาติเรียกพื้นที่บริเวณผืนแผ่นใหญในอุษาคเนย์เมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว และเมืองโบราณอู่ทอง ก็พบหลักฐานว่ามีชุมชนโบราณตรงกับยุคนั้นแล้ว และยังมีร่องรอยหลักฐานอีกมากในยุคต่อมา ที่ได้ยินบ่อยๆ คือ ยุคทวารวดี มีโบราณวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาเฟื่องฟู เมื่อราวหลัง พ.ศ. 1600 สืบต่อมาจนยุคอยุธยา หลัง พ.ศ. 1900 ก็ยังมีอยู่
คูเมือง แนวคันดิน ของเมืองอู่ทองตั้งแต่ยุคทวารวดี หรืออาจมีมาก่อนหน้า ได้รับการขุดลอกให้กว้างขวางทางน้ำไหลสะดวก คล้ายเมื่อครั้งก่อน สมควรเป็นต้นแบบของเมืองโบราณที่ฟื้นฟูพื้นฐานประวัติศาสตร์ของตัวเอง สำคัญคือต้องชำระสะสางข้อมูลเก่า-ใหม่ให้ถูกต้องเหมาะสมด้วยจะเป็นประโยชน์ยิ่ง
"เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"