ข่าว

เสียงสะท้อนจากชาวบ้านรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ตอน อยากย้าย แต่ก็ย้ายไม่ได้

เสียงสะท้อนจากชาวบ้านรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ตอน อยากย้าย แต่ก็ย้ายไม่ได้

26 มี.ค. 2552

การชดเชยผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิยังคงมีปัญหาต่อไป ทั้งเรื่องราคาที่ไม่สามารถตกลงกันได้ หรือความล่าช้าในการจ่ายเงินชดเชย แม้กระทั่งผู้ที่ได้รับการชดเชยจาก ทอท.แล้ว ก็ยังคงได้รับความเดือดร้อนจากสนามบินสุวรรณภูมิอยู่เช่นเดิม แต่ที่หนักกว่

นายชัยณรงค์ อินทนพิชิต สมาชิกหมู่บ้านจุลมาศวิลล่า ผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นผู้หนึ่งซึ่งได้รับเงินชดเชยจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับการชดเชยในจำนวน 71 หลังคาเรือน
 เปิดเผยกับทีมงานคุณภาพชีวิตว่า หมู่บ้านจุลมาศวิลล่า มีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 65 หลังคาเรือน เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเสียงในเส้นเสียง เอ็นอีเอฟ 35-40 และ เอ็นอีเอฟ มากกว่า 40 สำหรับบ้านที่อยู่ในเส้นเสียง เอ็นอีเอฟ มากกว่า 40 ที่อยู่ในเกณฑ์ที่ ทอท.รับซื้อ มีจำนวน 16 หลังคาเรือน
 ต่อมาปี 2549 ทอท.เข้ามาประเมินราคา หลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และมีการชดเชยกลุ่มแรกจำนวนทั้งหมด 71 หลังคาเรือน ในส่วนของหมู่บ้านจุลมาศ จำนวน 16 หลังคาเรือน
 มีชาวบ้านที่ยอมรับการชดเชยจำนวน 4 หลังคาเรือน เดิมทีชาวบ้านต้องการขายแต่ไม่สามารถรับราคาที่ ทอท.เสนอให้ได้ จึงยินยอมรับราคาในการชดเชยเพื่อปรับปรุงบ้าน และได้รับเงินชดเชยเมื่อต้นเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมานี่เอง
 “ของผมตอนแรกต้องการขาย แต่ทอท.เสนอราคามาต่ำมาก แต่ก็ตัดใจยอมรับ แล้วแจ้งกลับไปว่า ผมยอมรับราคาที่เสนอมาให้ แต่ ทอท.บอกว่าไม่มีเงินจ่ายแล้ว บ้านที่อยู่ก็ทั้งร้าว กันเสียงไม่ได้ ที่บ้านผมสาหัสมาก เนื่องจากอยู่ห่างรันเวย์เพียง 800 เมตร และอยู่ในร่องเสียงพอดี ตอนเครื่องบินลงผ่านหลังบ้าน ความแรงของเครื่องบินที่บินต่ำทำให้บ้านเกิดอาการสั่นสะเทือนไปทั้งหลัง เกิดอาการร้าว ทรุดตัว เราก็รอไม่ไหวถ้าไม่ทำอะไรเลยอาจถึงขั้นบ้านพังก็ได้”
 สุดท้ายก็ต้องยอมรับเงินชดเชย เพื่อปรับปรุงบ้าน ได้มา 1.4 แสนบาท เพื่อนำมาปรับปรุงบ้านทั้งหมด แต่ปรับปรุงไม่ได้เท่าไหร่ ก็กลับมามีปัญหาเหมือนเดิมอีก แต่ก็จนใจและต้องทำใจ เพราะสัญญาระบุไว้ว่า ห้ามฟ้องร้อง ห้ามเรียกร้องอะไรอีก ขณะนี้ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร อยากย้ายก็ย้ายไม่ได้ อยู่ต่อไปก็มีแต่จนกับจนกับการซ่อมแซมบ้าน