
'เต๋า สมชาย' แชร์ประสบการณ์โรค 'อัณฑะบิดหมุน' แนะมีไม่ครบ 2 ใบ รีบพบแพทย์
ทำความรู้จัก 'อัณฑะบิดหมุน' กับ 'เต๋า สมชาย' พาลูกเข้าผ่าตัดจนปลอดภัย พร้อมแนะพ่อแม่หมั่นสังเกตุอาการ ผิดปกติรีบพบแพทย์ ก่อนเป็นหมัน
ทำความรู้จัก "โรคอัณฑะบิดหมุน" (Testicular torsion) ที่เกิดจากการบิดเกลียวของเส้นเลือดขึ้นด้านบน เลือดไปเลี้ยงอัณฑะได้น้อย จนเกิดการบิดหมุนของลูกอัณฑะ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ การรบิดหมุนของลูกอัณฑะเอง โดยบิดหมุนได้ทั้งภายในและภายนอกของถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นประเภทที่รุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก และการบิดหมุนของติ่งลูกอัณฑะ หรือ การบิดหมุนของติ่งท่อนำไข่ อาการปวดรุนแรงน้อย
วันนี้ครอบครัวของ สมชาย เข็มกลัด หรือ "เต๋าสมชาย" ดาราและ ศิลปินชื่อดัง ได้บอกเล่าประสบการณ์จริงและให้ความรู้ หลังเกิดขึ้นกับลูกชาย ที่ลานกิจกรรม อาคารมหาภูมิพลราชานุสรณ์ 88 พรรษาชั้น 2 โรงพยาบาลตำรวจ โดยมีพล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่(สบ 8) ให้การต้อนรับ
เต๋าสมชาย เล่าวว่า ลูกชายมีอาการปวดอัณฑะที่บวมจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬา พาไปตรวจที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หมอวินิจฉัยว่า เป็นอาการของโรค "อัณฑะบิดหมุน" ครอบครัวรู้สึกตกใจ กังวลมาก แพทย์แจ้งว่าอาจเกิดอาการบิดซ้ำได้ ซึ่งอาจเป็นอันตราย แพทย์แนะนำให้รีบผ่าตัดด่วน จึงตัดสินใจปรึกษากุมารแพทย์ด้านศัลยกรรมที่โรงพยาบาลตำรวจ
โดย พ.ต.อ.วสันต์ นันทสันติ นายแพทย์ (สบ 4) กลุ่มงานศัลยกรรม(ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมเด็ก) ให้คำปรึกษาทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมตัว การดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด ทำให้ครอบครัวคลายความกังวล จึงตัดสินใจผ่าตัดตามคำแนะนำของแพทย์ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2567 และดูแลอย่างใกล้ชิด จนปัจจุบันลูกชายสามารถใช้ชีวิตปกติ ออกกำลังกาย และเล่นกีฬาได้ ไม่มีผลกระทบ หรือผลข้างเคียงใดๆต่อสุขภาพ
สำหรับสาเหตุการเกิดโรคอัณฑะบิดหมุน
1 ตำแหน่ง เช่น ในหรือนอกถุงอัณฑะ
2 การกระแทก จากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา
3 อุณหภูมิ หรือฮอร์โมน เช่น ตื่นนอนตอนเช้า ลูกอัณฑะเกิดการหดตัว อวัยวะเพศแข็งตัว กล้ามเนื้อบริเวณนั้นหดตัวจนเกิดอาการปวด
อาการแรกเริ่ม คือ ปวดลูกอัณฑะ คลื่นไส้ บวมแดงจากการขาดเลือดไปเลี้ยง หากปล่อยไว้นาน จะรุนแรงไปจนถึงเสื่อมสภาพ เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ต้องตัดทิ้งหากมาพบแพทย์ช้า
แพทย์แนะนำ เด็กที่มีลูกอัณฑะไม่ครบให้รีบมาตรวจ เพราะมีภาวะเสี่ยง ลูกอัณฑะบิด หากมีอาการปวดเจ็บลูกอัณฑะ ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที