ข่าว

ย้อนรอย ปัญหา'น้ำมันเถื่อน' 'ภาคใต้' ลักลอบจากประเทศเพื่อนบ้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนรอยเส้นทางปัญหา 'น้ำมันเถื่อน' 'ภาคใต้' ขายในพื้นที่ ลักลอบขนจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งขายในพื้นที่ รถบรรทุก รถคอก มีกลุ่มทุนการเมืองอยู่เบื้องหลัง

ปัญหาขบวนการค้าน้ำมันหลบเลี่ยงภาษี หรือเรียกกันว่า "น้ำมันเถื่อน" ในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งในจังหวัดชายแดนใต้ เป็นหนึ่งในปัญหาที่พูดถึง จับกุมกันมาอย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม เปิดเผยหรือพูดถึง แต่เคยขยายความขบวนการเครือข่ายมาอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในช่วงที่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของเว็บพนันออนไลน์ก่อนหน้านี้ บุคคลที่ถุูกพาดพิงว่าเป็นผู้ดูแลเหล่าเจ้าของเว็บพนันออนไลน์ ก็มีชื่อไปเอี่ยวกับการรับส่วยน้ำมันเถื่อนด้วยเช่นกัน 

การจับกุมน้ำมันเถื่อน

ที่ผ่านมา ในการจัดการกับผู้ลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนในพื้นที่ภาคใต้ มีการบูรณาการร่วมกันของ 5 หน่วยงานเพื่อปราบปรามผู้ค้าน้ำมันเถื่อน ได้แก่ กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมธุรกิจพลังงาน, สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานและกรมสรรพสามิต โดยทั้ง 5 หน่วยงาน มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันมาโดยตลอด และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ 138 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยให้ใช้งบประมาณร่วมกันของทั้ง 5 หน่วยงาน แต่ดูเหมือนว่า งบประมาณดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ สังเกตจากการหารือเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันแพงในปี 2565 ที่กรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 
ได้พูดคุยกับตัวแทนกรมสรรพสามิต ระบุว่าได้รับงบประมาณเพียง 7,550,000 บาทในการทำงานร่วมกันกับอีก 4 หน่วยงานที่เหลือ

จากปากคำของนายอัจฉริยะ ระบุว่า น้ำมันเถื่อน ส่วนใหญ่จะเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน และจะผ่านมาทางด่านชายแดน ด่านสะเดา จ.สงขลา จากการรวบรวมข้อมูล พบว่าการลักลอบนำน้ำมันเถื่อนเข้ามาภายในประเทศนั้น มีรูปแบบทั้งการนำมาขายต่อให้กับร้านขายน้ำมันขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่าปั๊มหลอด ขายในลักษณะบรรจุขวด และขายบรรจุแกลลอน  ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เป็นรถจักรยานยนต์ รถส่งสินค้าประเภทรถบรรทุก รถกระบะหรือรถคอก การลักลอบขายลักษณะนี้มีมากในพื้นที่ จ.สงขลา, นราธิวาส, ยะลา, ปัตตานี และ สตูล

การจับกุมน้ำมันเถื่อน

การลักลอบขายน้ำมันเถื่อนอีกประเภทคือการขายทั้งบนบกและในน้ำ หรือในทะเล โดยการลักลอบนำเข้าของน้ำมันเถื่อนกลุ่มเหล่านี้มักใช้วิธีการลักลอบขนในปริมาณน้อยจำนวนหลายครั้ง แล้วนำเข้ามาเก็บรวมในโกดังที่เตรียมไว้จากนั้นจึงลักลอบนำไปขายให้กับพวกปั๊มหลอด เรือประมงขนาดเล็ก หรือรถขนส่ง ทำให้รัฐเสียรายได้จำนวนมากต่อปี และส่งผลกระทบกับสถานีบริการน้ำมันในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพถูกต้องเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับความเดือดร้อน 

การจับกุมน้ำมันเถื่อน
ที่สำคัญ ยังมีเครือข่ายในการอำนวยความสะดวก เปิดทางวหรือไฟเขียวให้มีการลักลอบนำน้ำมันเถื่อนเข้าประเทศได้นั้น ส่วนใหญ่นายทุนค้าน้ำมันเถื่อนทางทะเลในอ่าวไทยเป็นนักการเมือง มีทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียกว่า บ้านใหญ่ และนักการเมืองที่เป็นนักการเมืองใหญ่ของพรรคการเมือง  

ในส่วนของการรับผิดชอบการปราบปรามน้ำมันเถื่อน ที่ผ่านมาศูนย์ปราบปรามน้ำมันเถื่อน ได้มีความพยายามจับกุมมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญในการลักลอบ ด้วยน้ำในประเทศเพื่อนบ้านมีราคาที่ถูกมากกว่าราคาขายภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การจับกุมเครือข่ายใหญ่ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา อย่างกลุ่มเจ๊ฟาง ถือเป็นเจ้าใหญ่ทำมาเป็นสิบปี โดยรถแต่ละคันจะบรรทุกน้ำมันได้ครั้งละ 1,000 ลิตร เฉลี่ยวันละ 10 กว่าเที่ยว ที่วิ่งเข้าออกระหว่างพรมแดน โดยจะร่วมมือกับคนขับรถหัวลาก พอได้น้ำมันออกมา จากนั้นก็จะเอามารวมกันไว้ที่โกดัง เพื่อถ่ายขายปลีกในพื้นที่ ทั้งปั๊มหลอด ประมง และเกษตรกรรม

การจับกุมน้ำมันเถื่อน

ก่อนหน้านี้ ตำรวจสอบสวนกลาง ได้มีการแถลงผลปฏิบัติการจับกุม เสี่ยโจ้ ปัตตานี หรือ นายสหชัย เจียรเสริมสิน เจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) สหทรัพย์ทวีค้าไม้ เจ้าพ่อค้าน้ำมันเถื่อนรายใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้ ที่ได้หลบหนีหมายจับมาแล้วหลายคดี ตั้งแต่ช่วงปี 2557  จนมาถูกจับกุมได้ในที่สุดช่วงปี 2564 ในคดีฟอกเงินและค้าน้ำมันเถื่อน ซึ่งมากบดานในพื้นที่ห้วยขวาง กทม.

แต่ถึงทุกวันนี้ ปัญหาน้ำมันเถื่อน และ เครือข่ายต่างๆ กลับไม่มีทีท่าที่จะลดน้อยถอยลง ดังนั้นจึงต้องหวังการแก้ปัญหาเรื่องพลังงานอย่างถูกจุด เพื่อให้ปัญหาได้หมดไปจากสังคม.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ