ข่าว

'9 ปี รัฐประหาร' ย้อนเหตุการณ์ รัฐประหาร ไทย วัน ก้าวไกล ลงนาม MOU

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ย้อนเหตุการณ์ '9 ปี รัฐประหาร' วัน ก้าวไกล ลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล ส่งสัญญาณอะไร รัฐประหาร ในประเทศไทย เกิดมาแล้วกี่ครั้ง

นับถอยหลัง “พรรคก้าวไกล” เลือกเวลา 16.30 น. ของวันที่ 22 พ.ค. 2566 ในการแถลงลงนาม MOU ร่วมกับ 8 พรรคการเมือง ในการ “จัดตั้งรัฐบาล” ซึ่งเป็น วัน และ เวลาเดียวกับ เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เมื่อ 9 ปีที่แล้ว กำลังส่งสัญญาณอะไร ทำไมถึงเลือกวันนี้ ในการ “ลงนาม MOU”

 

 

 

 

ย้อนกลับไป กับเหตุการณ์ “9 ปี รัฐประหาร” เกิดขึ้นหลังวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มเมื่อเดือน ต.ค. 2556 เพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ และอิทธิพลของ ทักษิณ ชินวัตร ในการเมืองไทย หลังรัฐประหาร 2549 เรียกว่าเป็นการ ขุดรากถอนโคน โค่นระบอบทักษิณ

 

รัฐประหาร 2557

ย้อนเหตุการณ์ 9 ปี รัฐประหาร

 

 

1. นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ารักษาการนายกรัฐมนตรี โดยมาจากการคัดเลือกลงมติจากคณะรัฐมนตรี ที่เหลือรอดจากคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เข้ารักษาการวันที่ 7 พ.ค. 2557 ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ให้พ้นสภาพการเป็นนายกฯรักษาการ สิ้นสุดลงวันที่ 7 พ.ค. 2557 วันเดียวกัน

 

2. วันที่ 20 พ.ค. 2557 เวลา 03:30 น. กำลังทหาร พร้อมอาวุธ เข้าควบคุมสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ตามคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก

 

3. เวลา 06:30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ กอ.รส. และออกคำสั่ง 12 ฉบับ เรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่าย เข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต

 

4. วันที่ 22 พ.ค. 2557 ในการประชุมร่วม 7 ฝ่าย พล.อ.ประยุทธ์ ตัดสินใจยึดอำนาจ หลังตัวแทนรัฐบาล ยืนยันไม่ลาออก พร้อมสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์

 

5. ต่อมา เวลา 16:30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศตั้ง "คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" (คสช.) ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการทันที

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

6. ผลของรัฐประหาร ทำให้สิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองถูกระงับ กองทัพมีอำนาจในการเมืองไทยมากขึ้น และมีการวางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ซึ่งเท่ากับทำให้ประเทศเข้าสู่ยุคที่กองทัพชี้นำประชาธิปไตย

 

7. พล.อ.ประยุทธ์ เคยให้สัมภาษณ์นิตยสารไทม์ ว่า “การตัดสินใจยึดอำนาจเป็นการตัดสินใจที่ยากที่สุดในชีวิต เขาใช้เวลามากกว่า 6 เดือนเพื่อตัดสินใจ (แต่ดำเนินการมานานกว่า 3 ปี) ไม่ได้ตั้งใจไว้ล่วงหน้าว่าจะทำการรัฐประหาร เพียงแต่เขาไม่สามารถปล่อยให้ประเทศชาติเสียหายไปมากกว่านี้”  

 

8. ส่วนสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. (ในขณะนั้น) ก็ยอมรับว่า เขาพูดคุยกับ พล.อ.ประยุทธ์ ให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณ และพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองในปี 2553 เป็นประจำ ก่อนรัฐประหาร  

 

9. รัฐประหาร 2557 มีการคาดการณ์ว่า มีการเตรียมการมานานพอสมควร เนื่องจากได้มีการออกคำสั่งให้รายงานตัวแม้กระทั่งคนทำงานรับเหมาก่อสร้างคนหนึ่ง ที่ทหารสืบทราบมานานแล้วว่า เป็นผู้หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์

 

การทำ รัฐประหาร

 

รัฐประหารในประเทศไทย เกิดมาแล้วกี่ครั้ง

 

  • รัฐประหาร 1 เม.ย. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
  • รัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476 นำโดย พล.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
  • รัฐประหาร 8 พ.ย. 2490 นำโดย​ จอมพล​ ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
  • รัฐประหาร 6 เม.ย. 2491 คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พ.ย. 2490 จี้บังคับให้ พ.ต. ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  • รัฐประหาร 29 พ.ย. 2494 นำโดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  • รัฐประหาร 16 ก.ย. 2500 นำโดยจอมพล​ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
  • รัฐประหาร 20 ต.ค. 2501 นำโดยจอมพล​ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล​ ถนอม กิตติขจร (ตามที่ตกลงกันไว้)
  • รัฐประหาร 17 พ.ย. 2514 นำโดย จอมพล​ ถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
  • รัฐประหาร 6 ต.ค. 2519 นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.​เสนีย์​ ปราโมช​
  • รัฐประหาร 20 ต.ค. 2520 นำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
  • รัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
  • รัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นำโดย พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร
  • รัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ​ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี หลัง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร​ ถูก​ศาล​รัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง)

 

แถลงจัดตั้งรัฐบาล

 

เปิดร่าง MOU ตั้งรัฐบาลก้าวไกล วันรัฐประหาร

 

  1. ฟื้นฟูประชาธิปไตย รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
  2. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ทุกพรรคจะร่วมผลักดันการอำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับ การแสดงออกทางการเมืองผ่านกลไกของรัฐสภา
  3. ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับ ประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ
  4. ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ และกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องกับหลัก ประชาธิปไตย โดยยึดหลักความโปร่งใส ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน
  5. เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นระบบสมัครใจ
  6. ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในแง่ภารกิจและงบประมาณ เพื่อให้ท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต
  7. ร่วมผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคำนึงถึงหลักการ ด้านสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงทบทวน ภารกิจของหน่วยงานและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง
  8. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโต อย่างเป็นธรรม
  9. ยกเครื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ตัด ลด หรือพักใช้ ชั่วคราวซึ่งใบอนุมัติ อนุญาตที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคเพื่อปรับปรุงใหม่ ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง ทางด้านการเงินและสร้างแต้มต่อให้กับ SME พร้อมกับมุ่งเน้นการเติบโต GDP ของ SME สนับสนุน อุตสาหกรรม และสินค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
  10. ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
  11. ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ ด้วยการผลักดันกฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม แก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน รวมถึงการทบทวนคดีที่เป็นผล จากนโยบายทวงคืนผืนป่า
  12. ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพ ประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน
  13. จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยเน้นใช้วิธีการจัดงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-based budgeting)
  14. สร้างระบบสวัสดิการดูแลประชาชนตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและภาระ ทางการคลังระยะยาว
  15. แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเร่งด่วน
  16. นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา
  17. ส่งเสริมเกษตรและปศุสัตว์ปลอดภัย คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิต ส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งน้ำ ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อวางแผนการผลิตและรักษาผลประโยชน์เกษตรกร ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ
  18. แก้ไขกฎหมายประมง ขจัดอุปสรรค เยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพประมงให้ยั่งยืน
  19. ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม และได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมสอดคล้อง กับค่าครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  20. ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  21. สร้างความร่วมมือและกลไกภายในและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) โดยเร็วที่สุด
  22. ดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยการฟื้นฟูบทบาทผู้นำของ อาเซียน และรักษาสมดุล การเมืองระหว่างประเทศของไทยกับประเทศมหาอำนาจ

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก วิกิพีเดีย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ