ข่าว

เช็กด่วน! สภาพอากาศวันนี้ ร้อนทะลุ​ 41​ องศาฯ ระวังผู้สูงอายุเสี่ยงโรคลมแดด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมอุตุฯ​ แจ้งเตือนสภาพอากาศวันนี้ร้อนสูงสุดแตะ​ 41​ องศาฯ​ ภาคเหนือ และภาคกลาง ระวังโรคลมแดด​ในผู้สูงอายุ​ อันตรายถึงชีวิต

"กรมอุตุนิยมวิทยา"​ รายงาน "สภาพอากาศวันนี้"​  1​ เม.ย.​ ปี​ 2566​ และพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า พบความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ "อากาศร้อน" โดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง 
 

  • ไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯ​ และปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และตะวันออก 


 

  • ภาคเหนือ "อากาศร้อน" ถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

 

 

 

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ "อากาศร้อน" กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

 

  • ภาคกลาง "อากาศร้อน" ถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดลพบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส​ ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

 

  • ​​​​​​​ภาคตะวันออก "อากาศร้อน" กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายกปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

 

สภาพอากาศประจำวันที่ 1 เม.ย. ปี 2566

 

 

  • ภาคใต้​ (ฝั่งตะวันออก) "อากาศร้อน" ในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานีอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

 

  • ภาคใต้​ (ฝั่งตะวันตก) "อากาศร้อน" ในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

 

  • กรุงเทพและปริมณฑล "อากาศร้อน" กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

 

จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนดูแลสุขภาพ​ เนื่องจากอากาศที่ร้อนขึ้นและระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

 

 

ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังโรคลมแดดในผู้สูงอายุ

 

 

  • กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังโรคลมแดด​ คือ​ ผู้สูงอายุ​ เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุมีความสามารถในการปรับอุณหภูมิได้ลดลง ประกอบกับมักมีโรคประจำตัว หรือบางรายไม่สามารถดูแลตนเองได้ เมื่ออยู่บริเวณที่มีอากาศร้อนจัดร่างกายจะระบายความร้อนได้ยาก ทำให้เสียเหงื่อมากขึ้นและร่างกายขาดน้ำมากขึ้น หากไม่ได้รับน้ำทดแทนที่เพียงพอจะเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง​ อาจเกิดอาการ shock เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ 

 

 

  • วิธีการป้องกันโรคลมแดด ในผู้สูงอายุ 1.​ การหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้ร่างกายมีความร้อนสูง 2. ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี 3. อยู่ในสถานที่ที่มีพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ 4. อาบน้ำเย็นบ่อยๆ 5.ดื่มน้ำให้เพียงพอ 6.​ ลดการออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน ญาติหรือผู้ดูแล ควรติดตามอาการของผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ

 

 

  • สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ต้องทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็วที่สุด โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าที่ร่ม จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก แล้วใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง ประคบตามข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ ใช้พัดลมพัดเพื่อระบายความร้อน และรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยทันที

 

 

ข้อมูล: กรมอุตุนิยมวิทยา,กรมการแพทย์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ