ข่าว

เตือน ยาปรัสเซียนบลู เจือจาง 'ซีเซียม-137' ยังไม่ต้องใช้ ยืนยันเสี่ยงต่ำ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์ เตือนไม่ควรซื้อ ยาปรัสเซียนบลู จากอินเทอร์เน็ต ใช้เจือจาง 'ซีเซียม-137' อันตราย ระบุเหตุการณ์ซีเรียมหายไม่ได้กระจายรุนแรง

จากเหตุการณ์ "ซีเซียม-137" หายจากโรงงานไฟฟ้า จ.ปราจีนบุรี สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างมาก เนื่องจากสารดังกล่าวมีความอันตรายอย่างมาก ส่งผลให้มีการตามหาสาร "ซีเซียม-137" จนสุดท้ายพบว่าถูกถลุงเป็นฝุ่นแดงไปแล้ว ยิ่งสร้างความกังวลให้กับประชาชนอย่างมาก 

 

เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว "ซีเซียม-137" (Cesium,Cs-137) และยาต้านพิษ ปรัสเซียนบลู  (Prussian blue) นำโดย  ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ รศ.พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย ศูนย์พิษวิทยาและภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และดร.กฤศณัฏฐ์ เชื่อมสามัคคี ภาควิชารังสีวิทยา ได้กล่าวถึงประเด็น "ซีเซียม-137" ในปราจีนบุรีนั้นส่งผลกระทบร่างกายยังไงต่อร่างกาย พร้อมทั้งชี้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซีเซียม-137 ไม่ได้กระจายรุนแรงอย่างที่หลายๆคนคิดและไม่ควรซื้อ ยาปรัสเซียนบลู (Prussian blue)มาทานเอง

 

ดร.กฤศณัฏฐ์ กล่าวว่า ความรุนแรงของ ซีเซียม-137 ในปราจีนบุรีนั้น อยู่ที่ 41.4 มิลลิคูรี ซึ่งถ้าเทียบกับความรุนแรงรังสีที่วัดได้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 อยู่ที่ 80 มิลลิคูรี คิดเป็นน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 505 ไมโครกรัม

 

"ซีเซียม-137" นั้นจะมีการระเหยเป็นไอเป็นฝุ่นได้นั้นจุดเดือดต้องอยู่ที่ 671 องศาเซลเซียส ถ้าเทียบกับเหล็กยังถือว่าต่ำกว่า หากไม่ได้ถูกกักเก็บในระบบปิดมีโอกาสที่จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้

 

ซึ่ง "ซีเซียม-137" ที่ใช้ในทางการแพทย์และโรงงานอุตสาหกรรมมีความรุนแรงที่มากกว่ารังสีที่ใช้ทางการแพทย์นั้น มีความรุนแรงรังสีมากกว่าเหตุการณ์นี้ถึง 1,000 เท่า เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลปี 2529 มีการปนเปื้อน "ซีเซียม-137" สู่สิ่งแวดล้อม 27 กิโลกรัม มีความรุนแรงรังสีมากกว่าเหตุการณ์นี้ถึง 56.76 ล้านเท่า เหตุกาณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา ปี 2554 มีความรุนแรงรังสี มากกว่าเหตุการณ์นี้ถึง 11 ล้านเท่า และ เหตุการณ์โคบอลต์-60 ปี 2543 จังหวัดสมุทรปราการ มีความรุนแรงรังสีมากกว่าเหตุการณ์นี้ถึง 1,000 เท่า

 

พญ.สาทริยา กล่าวว่า "ซีเซียม-137" คือ สารกัมมันตรังสีที่เป็นไอโซโทปของสารซีเสียม มีค่าครึ่งชีวิต ความแรงประมาณ 30ปี และเมื่อสาร "ซีเซียม-137" สลายตัวก็จะปล่อยรังสีออกมาคือรังสีบีต้ากับรังสีแกมม่า เมื่อได้รับ ซีเซียม-137 เข้าไปจะส่งผลต่อร่างกาย จะมี 2 ระยะคือ

 

ระยะสั้น จะส่งผลทำให้ร่างกายมีอาการ ผื่นแดง คัน บวม มีตุ่มหนามหรือแผลเกิดขึ้นและผมร่วงได้

 

ภายในร่างกายจะส่งผลทำให้คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลว  หลังจากนั้นอาการจะหายไปชั่วคร่าวประมาณ1-3 อาทิตย์ ต่อจากนั้นจะส่งผลไปที่ระบบต่างๆ แต่จะส่งผลระบบหลักๆคือ

1.ระบบโลหิต มีผลทำให้ไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงหรือเกล็ดเลือดต่ำลง

2.ระบบทางเดินอาหาร มีผลทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเป็นเลือด

3.ระบบประสาท มีอาการซึม ชัก สับสน

ระยะยาว จะส่งผลทำให้เกิดมะเร็ง

 

แนวทางการตรวจวัดซีเซียม-1347ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย

 

อย่างไร ปรัสเซียนบลู (Prussian blue) เป็นสารที่ให้สีน้ำเงิน ใช้แพร่หลายในการเขียนภาพ และถูกนำมาสกัดเป็น ยาปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ที่สามารถต้านพิษและรักษาภาวะพิษจาก "ซีเซียม-137" ได้ การออกฤทธิ์นั้น จะเป็นการจับ "ซีเซียม" ในลำไส้และป้องกันการดูดซึ่มเข้าร่างกาย พร้อมทั้งลดการดูดซึ่มกลับของ "ซีเซียม" ทำให้ผลยับยั้งการดูดซึมกลับจากทางเดินอาหารไปยังตับและขับออกมาทางน้ำดีสู่ทางเดินอาหารจะเกิดซ้ำไปซ้ำมา และผลข้างเคียงของ ปรัสเซียนบลู(Prussian blue) จะทำให้เกิดอาการ ท้องผูก ท้องร่วง และภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

 

จากกรณีที่มีการสั่งซื้อ ยาปรัสเซียนบลู ยังไม่ได้นำเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งทางแพทย์ไม่แนะนำให้ซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตเพราะอาจส่งผลอันตรายต่อร่างกาย ซึ่ง ยาปรัสเซียนบลู ตามอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นสารเคมีที่ยังไม่ได้ถูกสกัดเป็นยา ซึ่งถ้าต้องการ ยาปรัสเซียนบลู ควรใช้ภายใต้การรักษาตามแพทย์เท่านั้น

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ