ข่าว

เส้นทาง 3 ตัวเต็ง'นายกรัฐมนตรี' ในพื้นที่หาเสียงเลือกตั้ง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

3 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ลุยหาเสียง'เลือกตั้ง' ต่างคนต่างมีเงื่อนไข สุดท้ายต้องพึ่งวุฒิสภา หากรวมเสียงได้น้อยกว่า 375 เสียง

 

หลังจากที่ประชุมสามัญพรรคพลังประชารัฐเลือก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีการเผยแพร่โปรแกรมการลงพื้นที่ในเดือนกุมภาพันธ์หลายวาระ วันที่ 1 ก.พ. 65 มีกำหนดการลงพื้นที่ นครปฐมและราชบุรี โดยที่ราชบุรี ถือเป็นการลงพื้นที่ครั้งที่ 2 ส่วนครั้งแรกไปเมื่อ 17 ม.ค. 65 เป็นการลงไปพบ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ที่มีกระแสข่าวย้ายพรรค เพื่อโน้มน้าวให้อยู่กับพรรคต่อไป



วันที่ 2 ก.พ. 65 ลงพื้นที่ตรวจราชการไปตรวจเยี่ยมโครงการแก้มลิงที่ยโสธร และตรวจเยี่ยมโครงการ เติมน้ำ เติมบุญ เติมทุน พัฒนา อาชีพพบปะผู้นำท้องถิ่น และประชาชน ที่มุกดาหาร วันที่ 8 ก.พ. 65 ลงพื้นที่ปทุมธานี และวันที่ 13 ก.พ. 65 ลงพื้นที่กาญจนบุรี

 

พล.อ.ประวิตร ได้รับการคาดหมายว่ามีโอกาศเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าพล.อ.ประยุทธ์ ด้วยไม่มีข้อจำกัดเรื่องวาระการดำรงตำแหน่ง และอยู่แวดวงการเมืองมานาน จึงใช้สโลแกนก้าวข้ามความขัดแย้งเป็นยุทธศาสตร์ ปูทางขึ้นสู่อำนา

 

 

 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประเดิมเวทีปราศรัยหาเสียงครั้งแรกหลังเปิดตัวอยู่ขั้วรวมไทยสร้างชาติ แม้ยังไม่มีการประกาศเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่จังหวัดชุมพร ฐานที่มั่นสำคัญของแกนนำกปปส.อย่างชุมพล จุลใส ซึ่งถูกตัดสิทธิ์การเมือง 5 ปี และ เทพไท เสนพงศ์ ซึ่งต้องโทษจำคุก พ้นสภาพส.ส. ส่งน้องชายมารับไม้แทน

 

การกลับสู่เส้นทางนายกรัฐมนตรีของพล.อ.ประยุทธ์ นอกจากเงื่อนไขดำรงตำแหน่งได้อีกประมาณ2 ปีแล้ว ยังต้องลุ้นว่า พรรครวมไทยสร้างชาติจะมีส.ส.เพียงพอที่จะส่งรายชื่อนายกรัฐมนตรีเข้าไปเป็นตัวเลือกในสภาหรือไม่ ทางเดียวที่พล.อ.ประยุทธ์ จะอยู่สถานะนายกรัฐมนตรีต่อไป คือ ต้องเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ หลังสภาครบวาระแล้วไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้

 

 

 

อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ยังไม่ได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี เช่นเดียวกัน แต่สำนักโพลหลายสถาบันยกให้เป็นเต็งหนึ่ง  ขณะนี้ อยู่ระหว่างเคลียร์ใจคนเพื่อไทย คนเสื้อแดงในพื้นที่ภาคอีสาน หลังถูกจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. โยนระเบิดลูกใหญ่สกัดแลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดิน

 

ไม่มีปัญหาว่าเสียงส.ส.พอที่จะเสนอชื่อเข้าสู่สภาหรือไม่ แต่ด้วยความเป็นสายเลือดทักษิณ จึงตกเป็นเป้าสายตา ว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งระลอกใหม่ หากได้เป็นนายกรัฐมนตรี

 

แต่ทั้งหมดนี้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าวุฒิสภาจะเทคะแนนให้ใคร หากไม่มีฝ่ายไหน รวมเสียงส.ส.ได้เกิน 375 คน หลังการเลือกตั้ง และพรรคแกนนำรัฐบาลต้องมีเสียงในสภา ในระดับที่เรียกว่าเอาอยู่ ไม่ถูกพรรคร่วมขู่รายวัน

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ