ข่าว

เจาะลึก 5 ประเด็น ไทยเผชิญความท้าทายเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ" เปิด 5 ประเด็น ไทยเผชิญความท้าทายเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก เตรียมพร้อม กระชับมิตร เร่งพัฒนาความสามารถดึงต่างชาติลงทุน และโชว์ความเป็นไทยสู่ประชาคมโลก

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ  ปาฐกถาพิเศษภายในงาน "Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม" ในหัวข้อ โลกแบ่งขั้วกับธุรกิจในไทยปี 2566 โดยยอมรับว่า ธุรกิจในขณะนี้มีความเสี่ยง ท้าทาย มีปัจจัยความไม่แน่นอน โจทย์ คือ จะพลิกเกมส์ได้อย่างไร 

สาเหตุความท้าทาย 
1.ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ไม่มีทีท่านยุติลงในเร็ววันนี้ ส่งผลต่อชีวิตประชาชนในหลายประเทศและความมั่นคงของโลก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น 
2. โลกแบ่งขั่ว การแข่งขันเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศมหาอำนาจ ส่งผลต่อความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่อการเมืองและเศรษฐกิจโลก 
3. การฟื้นฟูหลังผ่านพ้นการแพร่ระบาดโควิด19 ไม่ได้เป็นเส้นทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ ประเมินเศรษฐกิจโลกเป็น w คือ การขึ้นลงของเศรษฐกิจ เต็มไปด้วยอุปสรรค
4. การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้เริ่มเป็นดีเอ็นเอของการทำธุรกิจมากขึ้น 
5. ปรากฎการณ์ทางเทคโนโลยี ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด19 เกิดการซื้อขายผ่าน E-Commerce อย่างรวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลต่างๆง่ายขึ้น เพราะจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลผ่านBIG Data ที่สำคัญคือ การปฏิวัติวงการเทคโนโลยี คือ ระบบAI ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด 

ข้อแนะนำ
1.รักษาสมดุลประเทศมหาอำนาจและขยายความสัมพันกับมิตรประเทศ ผ่านการทูตเชิงรุก เน้นประเด็นที่สอดคล้องกับไทยและส่งเสริมบทบาทไทยและการรักษาดุลยภาพ โดยปี 2565 ไทยได้แลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงกับประเทศ่ต่างๆ เช่น การจัดประชุมเอเปค มีเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรฐมนตรีของซาอุฯ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน รองประธานอธิบดีสหรัฐฯ และประธานอธิบดีฝรั่งเศส ต่างเดินทางมาเยือนประเทศไทย นอกจากนี้เรายังได้ลงนามความเป็นหุ้นส่วนและลงมือรอบด้านระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก การลงนามนี้เกิดขึ้นภายหลังเจรจามานานกว่า 18 ปี ส่งผลให้ไทยขยายความร่วมมือในทุกมิติต่อไป 

 

ส่วนการรื้อฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศซาอุฯ กลับมาเป็นปกติ หลังห่างหายไป32ปี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเยือนประเทศซาอุฯ เมื่อ ม.ค.2565 ขณะนี้มีความคืบหน้ามากมาย เกิดการขับเคลื่อนการค้าการลงทุนและมีการจัดตั้งสภาความร่วมมือไทย-ซาอุ เป็นต้น ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับโอกาสทางธุรกิจในอนาคตข้างหน้า

 

นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างมากกับภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ซึ่งปัจจุบันประเทศเหล่านี้ไม่ได้อยู่ใต้อำขั้วพันธมิตรเดิมๆอีกต่อไป และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของประชากร ที่เพิ่มพลังในการซื้อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เราจึงต้องใช้ประโยชน์และสร้างโอกาสจากช่องทางใหม่ๆเหล่านี้ รวมถึงต้องใช้ประโยชน์จากการที่ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นขั้วอำนาจใหม่ของโลก ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน จีน และ อินเดีย ประกอบกับไทยมีที่ตั้งภูมิศาสตร์ไม่ไกลจากตะวันออกกลางเท่าไร และอาจจะขยายไปจนถึงทวีปแอฟริกาด้วย 

ประเทศขั้วอำนาจใหม่

ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศจะมุ่งสร้างความสัมพันธ์ระดับประเทศในภูมิภาคเหล่านี้ให้ใกล้ชิดยิ่งๆขึ้นไป จะพยายามสร้างโอกาสการค้าเสรี เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในภาคธุรกิจ ซึ่งธุริจขนาดใหญ่จะต้องช่วยนำทางในการสร้างโอกาสตลาดใหม่ เพื่อปูทางให้ธุรกิจขนากลางและขนาดเล็กได้เดินตามด้วย 

2.เราจะต้องเร่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันผันผวนโลก ซึ่งเห็นด้วยสิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยทำค่อนข้างดี คือ ทางการแพทย์และสาธาณสุข ทำให้เราผ่านพ้นโควิด หรืออย่างน้อยทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับโควิดได้ สิ่งเหล่านี้เพิ่มความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศมากขึ้น ต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยนอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศมุ่งผลักดันด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีดิติตอล โดยมีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของไทย ในการเป็นแหล่งลงทุน ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ผ่านมาเราอาศัยข้อได้เปรียบความสัมพันธ์จากทั่วโลก และเวทีสร้างเครือข่ายความร่วมรัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันศึกษาและวิจัยของไทยกับกลุ่มประเทศ สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์
 
3.เราต้องประชาสัมพันธ์ประเทศไทยและสร้างเสริมความนิยมไทย นักท่องเที่ยวชอบมาไทย จึงต้องโปรโมทความเป็นไทยผ่านเวทีและกิจกรรต่างๆ เช่น การจัดงานThailand Festivalที่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อโชว์ความเป็นไทย การจัดแสดงสินค้าและส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนต์ไทยและอื่นๆอีกมากมาย

 

นายวิชาวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการแข่งขันในภูมิภาคและโลกค่อนข้างสูงและเข้มข้น ธุรกิจไทยต้องเตรียมตัว ประยุกษ์ใช้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อให้มีประสิทธิภาพ เช่น ขายของออนไลน์ การรวบรวมและประมวลข้อมูลจากBig Data เพื่อประเมินผลการดำเนินธุรกิจ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจลูกค้า และที่ตอนนี้ คือ AI จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างมาก และยังให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงาน เราต้องดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้เราต้องทำ ไม่ใช่ใครบอก แต่เป็นสิ่งที่ถูกต้องและจะช่วยให้ะธุริจเราพัฒนาอย่างยั่งยืน เราต้องให้ความสำคัญโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศษฐกิจสีเขียว ซึ่งทุกภาคส่วนช่วยกันกันขับเคลื่อนมาโดยตลอดต่อเนื่อง ที่สำคัญรัฐและเอกชต้องทำงานร่วมกัน 

นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ
Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม Geopolitics : The Big Challenge for Business โลกแบ่งขั้ว ธุรกิจพลิกเกม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ