ชีวิตดีสังคมดี

หยุด "บูลลี่" ด้วยการสร้างเกราะกำบัง ไม่อยากเป็นเหยื่อต้องรู้ทันอารมณ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หยุดพฤติกรรม "บูลลี่" ด้วยการสร้างเกราะป้องกันให้เหยื่อที่อ่อนแอผ่านความเข้าใจ รับฟัง และให้ความรู้ ไม่อยากตกเป็นเหยื่อต้องรู้ทันอารมณ์

ปัญหาการ กลั่นแกล้ง หรือ "บูลลี่" ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นแต่ปัญหาดังกล่าวมีนานแล้วโดยเฉพาะการกลั่นแกล้งในโรงเรียน เพียงแต่ว่าที่ผ่านมาเราอาจจะยังไม่ได้มีการเรียกการ กลั่นแกล้ง หรือ ทำร้ายร่างกายว่าเป็นการ  "บูลลี่" เหมือนกับปัจจุบันนี้ 

 

 

อีกทั้งที่ผ่านพฤติกรรมการ "บูลลี่" หรือกลั่นแกล้งนั้นอาจจะไม่ได้รับความสนใจจากสังคมเหมือนอย่างเช่นปัจจุบันนี้ ในยุคสมัยก่อนหลายคนมองว่าการที่เด็กคนหนึ่งถูกเพื่อนรังแก เป็นเรื่องการหยอกล้อกันซะมากกว่า แต่ทุกวันนี้พฤติกรรมการ "บูลลี่" เริ่มรุนแรงและส่งผลต่อสภาพอารมณ์ จิตใจของเหยื่อเพิ่มมากยิ่งขึ้น หลายครั้งสังคมมองเห็นภาพการสูญเสียจากการ "บูลลี่" มามากมาย ทำให้ปัญหาการบูลลี่ถูกยกขึ้นเป็นปัญหาสังคมอันดับต้นๆ ที่จะต้องเร่งหาแนวทางป้องกันและแก้ไข 

  • เพราะการถูก "บูลลี่" ไม่ได้เจ็บแค่ที่กาย แต่เจ็บลึกไปถึงหัวใจ 

 

พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เล่าถึงการลงพื้นที่เก็บข้อมูลปัญหาการ "บูลลี่" ในสถานศึกษาไว้อย่างน่าสนว่า ส่วนใหญ่พบว่า เด็กที่มักจะกลายเป็นเหยื่อของการโดน "บูลลี่" คือเด็กที่มีทักษะทางสังคมค่อนข้างต่ำ เมื่อถูกเพื่อนรังแก หรือ บูลลี่แล้วมักจะเกิดอารมณ์ร่วมเช่น โมโห โกรธ ด่ากลับ พฤติกรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ทำให้ ผู้กระทำชอบใจและมักจะเกิดการบูลลี่ซ้ำๆ  ส่งผลให้เด็กบางคนที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกบูลลี่ ไม่มีความสุข และไม่อยากไปโรงเรียน เพราะคิดว่าตนเองเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ถูกกีดกันออกจากกลุ่ม ปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลไปถึงสภาพจิตใจของเด็กแน่นอน 

 

หยุด "บูลลี่" ด้วยการสร้างเกราะกำบัง ไม่อยากเป็นเหยื่อต้องรู้ทันอารมณ์

พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

 

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่พฤติกรรมการตอบกลับเท่านั้นที่เปิดโอกาสให้เหยื่อถูก "บูลลี่" แต่สถานที่ก็มีผลที่เอื้อให้คนหนึ่งคนกลั้นแกล้งคนอีกหนึ่งคนได้เช่นกัน พญ.วิมลรัตน์ เล่าต่อว่า จากการลงพื้นที่พบว่า สถานที่มีส่วนที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการบูลลี่ค่อนข้างมาก เพราะนอกจากผู้ที่มีพฤติกรรม "บูลลี่" จะเลือกเหยื่อที่อ่อนแอกว่าแล้ว ในจุดบอดที่ไม่มีผู้ใหญ่ยังเป็นช่องที่จะให้เกิดพฤติกรรมบูลลี่ด้วย เช่น สนามเด็กเล่น โรงอาหาร สนามกีฬา  ที่ลับตาคน

 

  • หยุด "บูลลี่" คงทำอยาก สร้างภูมิคุ้มกันต่างหากที่จะทำให้เหยื่อหลุดพ้นได้ 

 

อย่างไรก็ตามต้องรับว่าการที่จะหยุดพฤติกรรมการ "บูลลี่" คงไม่ต่างจากการจับปูใส่กระด้ง เพราะพฤติกรรมดังกล่าวบ้างครั้งสามารถเกิดได้ทั้งจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดังนั้น การเสริมเกราะป้องกันให้เด็ก ๆ สร้างสกิลการใช้ชีวิตในสังคมให้เข้มแข็ง ให้คำปรึกษาหรือรับฟัง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในเวลานี้ โดย พ.ญ.วิมลรัตน์ จึงได้จัดทำคู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการและจัดการการป้องกันและรังแกกันในโรงเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา "บูลลี่" ให้แก่ภาคสังคม ผู้ปกครอง ครู  ในเบื้องต้น

 

คู่มือดังกล่าวจะบอกวิธีการจัดการเมื่อเผชิญสถานการณ์การบูลลี่ หรือ การเยียวยาจิตใจเหยื่อที่ถูกบูลลี่ ไม่ใช่เผิกเฉยเหมือนในอดีตที่ผ่าน และปล่อยให้เหยื่อโด่ดเดี่ยวอยู่คนเดียว ที่สำคัญการสร้างพื้นฐานการอยู่ร่วมกับสังคม การจัดการอารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด   ทั้งนี้ คู่มือปฏิบัติสำหรับการดำเนินการและจัดการการป้องกันและรังแกกันในโรงเรียน เพื่อเป็นตัวช่วยในการป้องกันและช่วยเหลือเหยื่ออย่างถูกต้อง 

 

ภาพประกอบจากเพจ BuddyThai App

 

ร่วมไปถึงการจัดทำ แอปพลิเคชัน Buddy Thai ร่วมกับ  บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP และ กรุงเทพมหานครโดย แอปฯ  BuddyThai จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาการบูลลี่และการกลั่นแกล้งกันในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนทุกคนมีความสุข ในการใช้ชีวิตและเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ 

 

แอปฯ ถูกออกแบบให้มีฟังก์ชันการตรวจเช็คความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมถึงมีชุดความรู้และแบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อโดนบูลลี่ รวมไปถึงการขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาผ่าน สายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต หรือเลือกแชทกับนักจิตวิทยาผ่าน Facebook ของกรมสุขภาพจิต  เพื่อสร้างเกราะป้องกันที่หนาพอให้กับเด็กที่อ่อนแอ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางการลดการ "บูลลี่" ในสังคมไทยได้อย่างดี 


 

Buddy thai   

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ