ข่าว

เปิด 5 กลุ่มบุคคล - หลักเกณฑ์ใช้รถตำรวจนำขบวน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดหลักเกณฑ์ และกลุ่มบุคคลใดที่สามารถขอใช้"รถตำรวจนำขบวน" ตามมติครม.เห็นชอบที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) เสนอ

กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกโซเซียลรับวันตรุษจีน หลังจากที่มีนักท่องเที่ยวสาวชาวจีนโพสต์คลิปขณะที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยระบุว่าสามารถใช้บริการของบุคคลที่แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย ในการอำนวยความสะดวก ในการเดินทางเข้าประเทศ รวมถึงการเดินทางที่มีรถนำขบวนไปส่งถึงโรงแรมที่พัก โดยจ่ายเงินจำนวน 7,000 บาท

 

ซึ่งหลังจากคลิปดังกล่าวเผยแพร่จนกลายเป็นไวรัลในประเทศจีน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) สั่งการให้จเรตำรวจตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว 

 

 

สำหรับหลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) เสนอ หลักเกณฑ์การใช้รถตำรวจนำขบวนของบุคคลสำคัญหรือนักการเมือง หรือการใช้รถนำขบวนรับรองแขกต่างประเทศในการเยือนประเทศไทย ดังนี้ 

 

นอกจากขบวนเสด็จพระราชดำเนิน และขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีรถนำขบวนเป็นปกติแล้ว บุคคลสำคัญและนักการเมืองตำแหน่ง ที่สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้ มีดังนี้ 

1.กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ใช้รถตำรวจเป็นประจำ มีดังต่อไปนี้

- นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา รัฐบุรุษ องคมนตรี 

-สมเด็จพระสังฆราช

- รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีช่วยว่าการ ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรของฝ่ายบริหาร

 

2. กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้เป็นครั้งคราว มีดังต่อไปนี้

- ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ ผู้นำทางศาสนาอื่น สมเด็จพระราชาคณะ ประมุขรัฐต่างประเทศ ผู้นำรัฐบาลต่างประเทศ และเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ

-  ข้าราชการประจำตั้งแต่ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าขึ้นไป

 

การอนุญาตเป็นครั้งคราว ผู้บังคับการตำรวจจราจรหรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจจราจรเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

 

 

หลักเกณฑ์การใช้รถนำขบวน

 

 

หลักเกณฑ์การขอใช้รถนำขบวน

 

3 กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร มีดังต่อไปนี้

- บุคคลใช้รถนำประจำ ตามข้อ 1 

- บุคคลใช้รถนำเป็นครั้งคราวตามข้อ 2 

- การขออนุญาตผู้บังคับการตำรวจทางหลวงหรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับการตำรวจทางหลวงเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

 

ข้อยกเว้น

ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการเหล่าทัพ ให้ใช้รถนำขบวนฝ่ายทหารเอง แต่วิธีการใช้รถนำของฝ่ายทหารดังกล่าว ให้ใช้หลักเกณฑ์วิธีการใช้รถนำของฝ่ายตำรวจ เช่น การใช้ไฟสัญญาณแสงแดงวับวาบ เสียงไซเรน 

 

 

หลักเกณฑ์การขอใช้รถนำขบวน

บุคคลที่เคยดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่สำคัญและเมื่อผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วยังคงให้ใช้รถตำรวจนำขบวนได้

- กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำ คือ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

- กรณีนอกเขตกรุงเทพมหานคร ใช้ประจำ คือ ผู้เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น

 

การใช้รถนำขบวนของรัฐมนตรี

รัฐมนตรีควรพิจารณาใช้รถตำรวจนำขบวนตามความจำเป็นและเร่งด่วนตามภารกิจของทางราชการเป็นกรณี ๆ ไป โดยแจ้งให้ทางฝ่ายที่มีหน้าที่จัดรถตำรวจนำขบวนทราบเป็นการล่วงหน้าไม่ควรใช้ในกิจส่วนตัว

 

การใช้รถนำขบวนในการรับรองแขกต่างประเทศ

การรับรองแขกต่างประเทศที่จะสามารถใช้รถนำขบวนได้ ต้องมีตำแหน่งเทียบเท่ากับตำแหน่งของผู้มีสิทธิใช้รถนำขบวน ทั้งการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2540

 

ประธานวุฒิสภา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถใช้รถตำรวจนำขบวนได้ 

 

หลักเกณฑ์การขอใช้รถนำขบวน
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ