ข่าว

นักวิชาการ ซัด เสี่ย "เบนท์ลีย์" ซิ่งชน ปัดเป่า แอลกอฮอล์ มีเงิน เมินกฎหมาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นักวิชาการ ซัด เสี่ย "เบนท์ลีย์" ซิ่งชนบนทางด่วน ปัดเป่า แอลกอฮอล์ มีเงิน เมินกฎหมาย ก่ออุบัติเหตุ "เมาแล้วขับ" ซ้ำซาก

จากกรณีที่เมื่อกลางดึกวันที่ 8 ม.ค.2566 เกิดเหตุรถยนต์หรูยี่ห้อเบนท์ลีย์ สีเทา ของนายทุนพรรคการเมืองใหญ่ ทำธุรกิจซื้อขายทำตลาดสด และขายวัสดุก่อสร้าง ขับซิ่งแซงซ้าย พุ่งชนรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิ ปาเจโร สีดำ ก่อนชนเข้ากับรถดับเพลิง อาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยมัสยิดฮารูณ ที่กำลังมุ่งหน้าไปช่วยเหลือผู้ติดค้างเหตุไฟไหม้ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ รวม 4 ราย และรถยนต์คู่กรณีได้รับความเสียหาย หลังเกิดเหตุคนขับเบนท์ลีย์ พยายามหลบหนี และมีอาการคล้ายเมาสุรา ไม่ให้มีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ โดยอ้างว่า มีอาการเจ็บหน้าอก

 

(10 ม.ค.2566)  ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตาเละ นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา เปิดเผยว่า กรณีที่เกิดขึ้นทราบว่า ผู้ขับรถหรูมีอาการมึนเมา จึงขอให้มีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ แต่เจ้าตัวกลับไม่ยอม และพยายามไปดื่มน้ำ ก่อนจะมาทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ผู้ขับรถยนต์หรูเบนท์ลีย์ ขอตรวจเลือดที่โรงพยาบาล โดยอ้างว่ามีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งคาดว่าผลการตรวจจะออกอย่างเร็วสุดใน 7 วัน 

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมไม่มีการตั้งข้อหาเมาแล้วขับ ทั้งที่มาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ที่ระบุว่า หากมีพฤติการควรเชื่อว่าเมาแล้วขับ แต่ไม่ยินยอมตรวจวัดแอลกอฮอล์ในที่เกิดเหตุ โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานไว้เลยว่า เป็นการเมาแล้วขับ

 

“ในกรณีนี้ผมอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า หากไม่เมาจริง ๆ จะกลัวการเป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ทันทีในที่เกิดเหตุทำไม ซึ่งตามมาตรา 142 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 ระบุว่า “ในกรณีที่มีพฤติการณ์อันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ขับรถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น หากผู้นั้นยังไม่ยอมให้ทดสอบตามวรรคสาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 43 (2)” นั่นคือ การขับรถในขณะเมาสุรา หรือของเมาอย่างอื่น แต่ก็ยังไม่มีการตั้งข้อหาว่าเมาแล้วขับ” ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี กล่าว

เบนท์ลีย์ชนปาเจโร

ดร.นพ.มูฮัมมัดฟาห์มี กล่าวต่อว่า จากหลักฐานวิชาการ ประกอบข้อแนะนําสำหรับบุคคลที่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2565 พบว่า ระดับของแอลกอฮอล์จะลดลงประมาณ 15-20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในคนทั่วไป และประมาณ 25-35 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ต่อชั่วโมงในผู้ดื่มประจำมาเป็นระยะเวลานาน 

เบนท์ลีย์ชนปาเจโร

ดังนั้น การที่ผู้ก่อเหตุขอตรวจเลือดในภายหลัง ย่อมมีผลต่อระดับปริมาณแอลกอฮอล์อย่างแน่นอน บวกกับที่พยายามจะดื่มน้ำ ก็จะยิ่งทำให้กระเพาะและสำไส้ดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งสังคมจะต้องยอมรับกับผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์ซ้ำ ๆ จากความประมาท และพยายามที่จะเลี่ยงความผิด จากการดื่มแล้วขับ เพียงเพราะเป็นคงดัง รวย และมีอำนาจเช่นนั้นหรือ.
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ