ข่าว

"โอไมครอน" BA.2.75 แพร่เร็ว ครองระบาดในไทย 76% จับตารุ่นลูก CH.1.1

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" BA.2.75 แพร่เชื้อเร็ว ระบาดไว ครองการระบาดในไทย แทน BA.5 แล้ว 76% พร้อมจับตารุ่นลูก CH.1.1 ในไทย พบติดเชื้อแล้ว 9 ราย

จากการแพร่ระบาดของ โควิด19 ที่มีการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งในช่วงฤดูหนาวนี้ ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อในจำนวนที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทยแค่นั้น แต่รวมไปถึงหลายประเทศที่พบ จำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นไม่ต่างกัน

 

 

จากการตรวจสอบจะพบว่า โควิด19 มีการกลายพันธุ์ที่หลากหลายมากขึ้น ทั้ง CH.1.1 รุ่นลูกของ BA.2.75 ซึ่งในไทยพบแล้ว 9 ราย รวมไปถึงสายพันธุ์ลูกผสมอย่าง XBC ที่พบในไทยแล้ว ขณะที่ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ออกมาระบุว่า "โอไมครอน" สายพันธุ์ BA.2.75 พบว่ามีการแพร่ระบาดเร็ว ปัจจุบันพบว่ามีการครองระบาดในไทยแล้ว 76%

 

จับตา "โอไมครอน" CH.1.1 ระบาดในไทย

 

ซึ่งทาง ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้ออกมาระบุว่า ที่ควรจับตาในไทยล่าสุดคือ "โอไมครอน" CH.1.1 ซึ่งเป็นรุ่นลูกของ BA.2.75 เนื่องจากในประเทศไทย CH.1.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า BA.5 ในประเทศประมาณ 135% และเหนือกว่า BA.2.75 ประมาณ 150% ทำให้มีแนวโน้มที่ CH.1.1 อาจระบาดมาแทนที่ BA.5 และ BA.2.75 ได้ ขณะนี้พบ CH.1.1 ในไทยแล้ว 9 ราย

 

 

"โอไมครอน" BA.2.75 ครองการระบาด 76%

 

ด้าน นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึง การกลายพันธุ์ หลังพบการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมากจะมีโอกาสที่จะเกิดการกลายพันธุ์สูงมาก ซึ่งปัจจุบัน สายพันธุ์ BA.5 ได้ถูกแทนที่โดยสายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งพบว่าครองการระบาดอยู่ที่ 76% ของสายพันธุ์ทั้งหมด โดยพบว่ามีข้อมูลการแพร่เชื้อที่เร็ว ทำให้เกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น แต่สำหรับความรุนแรงยังไม่มีข้อสรุป ว่า ติอแล้วมีโอกาสป่วยหนักหรือไม่ 
 

BA.2.75 ครองการระบาดในไทย

 

นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ BA.5 ประมาณ 20% และที่เหลืออีก 2 - 3% เป็นสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ รวมไปถึงสายพันธุ์ XBC หรือสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่างเดลตาและ "โอไมครอน"

 

 

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งจับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน สถานการณ์ในประเทศที่มีสัดส่วนของสายพันธุ์ BA.2.75 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่ BA.5 บ่งชี้ว่ามีข้อได้เปรียบในการแพร่ระบาด เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้พบผู้ติดเชื้อในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ และทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า สามารถป่วยซ้ำได้อีก แต่ทั้งนี้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์

 

 

"กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างสม่ำเสมอ และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเพาะเชื้อสายพันธุ์ที่พบใหม่ เพื่อการทดสอบกับภูมิคุ้มกันของคนไทยว่าสามารถลบล้างเชื้อ (Neutralize) ได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้การปฏิบัติตนเพื่อการป้องกันโรค ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นยังจำเป็น โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มสุดท้าย นานเกิน 4 เดือน ขอให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น สามารถลดโอกาสติดเชื้อ และลดอาการรุนแรง เมื่อมีการติดเชื้อได้" นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

 

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ