3 ธ.ค.2565 สาวผู้ช่วยพยาบาลร้องขอความเป็นธรรม ผ่านสื่อไม่ได้เบี้ยเสี่ยงภัย จากการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 แพร่ระบาดรุนแรง มีผู้เข้ามารับการรักษาวันละประมาณวัน 100 คน ซึ่งต้องดูแลในศูนย์ CI. และต้องดูแลนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราว 300-400 คน มีบุคลากรประมาณ 33 -35 คน ที่ต้องผลัดเปลี่ยนเวรเข้าดูแลผู้ป่วย
ทั้งนี้ งบประมาณได้จากรัฐบาล เป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่าย ให้ทางศูนย์ CI.ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงราย ร่วมไปถึงเงินค่าเสี่ยงภัย ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งเคสสีเขียว ไปจนถึงเคสสีแดง ต้องผลัดเปลี่ยนเวร คนละ 12 ชม. ซึ่งที่ผ่านปีงบประมาณ 63 - 64 ผู้ช่วยพยาบาล ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด -19 ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยไปทั้งหมดครบแล้ว มาเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 65 บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัย ตั้งแต่นั้นมา
โดย น.ส.เอ ( นามสมมุติ ) ผู้โพสต์ TikTok เปิดเผยว่าทำงานตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมาก็ยังได้รับเงินเสี่ยงภัย ตามปกติ เริ่มเข้ามาปี 2565 น.ส.เอ ทำงานต่ออีก 8 เดือน ก่อนจะไปทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาล นั้นได้เข้าเวรวันละ 12 ชม. เดือนละ 22 วัน คิดเป็นเงินวันละ 1,500 บาท เฉลี่ยเดือนละ 33,000 บาท ซึ่งทำต่อได้อีก 8 เดือน ตนเองจะต้องได้เงิน 236,000 บาท
ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้ทวงถามเรื่องเงินเดือน แต่ทาง HR ฝ่ายบุคคล อ้างว่ากำลังทำเรื่องส่งเบิกเงิน แต่เวลาผ่าน 8 เดือน ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้เงิน อีกทั้งถูกข่มขู่ว่า หากโพสต์ข้อมูลลงTikTok จะถูกฟ้อง PDPA ว่าเอาข้อมูลไปเผยแพร่ ซึ่งตนเองคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการทำงานเสี่ยงภัย เงินก็ไม่ได้ อาจจะตายกับ โควิด-19 ที่ผ่านมา
เช่นเดียวกับ น.ส.แมว (นามสมมุติ) เปิดเผยว่า ตนเองทำงานมา 7 เดือน ปีงบประมาณ 2565 เช่นกัน ซึ่งทำงานคล้ายกัน แต่ก็ยังไม่ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยเช่นกัน ซึ่งมีเพื่อนต่าง รพ. และอ.ส.ม. เคยพูดกันว่า ต่างได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยไปแล้ว แต่ที่ศูนย์ CI.เชียงรายที่ตนเองทำงาน มีเพื่อนร่วมงาน 33 - 35 คน ไม่ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยทั้งหมด บางคนไม่กล้าที่จะออกมาพูด เพราะกลัวถูกฟ้องร้อง PDPA หากเอาข้อมูลที่ไม่ได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยไปเผยแพร่
จากการสอบถาม ได้คำตอบจากฝ่ายบุคคล ของโรงพยาบาลสนามแห่งหนึ่งในเชียงราย ได้มีหนังสือเวียนถึง ผู้ช่วยพยาบาลผ่านทางกลุ่มไลน์ โดยมีเนื้อหาระบุว่าทางโรงสนามแห่งหนึ่งที่ตนเองทำงาน ได้ดำเนินการยื่นเบิกจ่ายไปทางกระทรวงสาธารณสุข ตั้ง มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา แต่มีหนังสือแจ้งว่า ค่าตอบแทนเสี่ยงภัยไม่เพียงพอ ทางโรงพยาบาลสนามที่ตนทำงาน ได้ของบประมาณเสี่ยงภัยไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่ผลตอบกลับ งบประมาณเสียงภัยเหลือ 0 บาท
จึงมีการประชุมคณะกรรมเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทย์ยศาสตร์ แห่งประเทศไทย ให้ทำหนังสือขออนุมัติงบกลางไปยังรัฐมนตรี ว่าการการทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเรื่องก็หายเงียบจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้รับเงินเสี่ยงภัย ยังตั้งหน้าตั้งตารอคำตอบ เรื่องเงินเสี่ยงภัย ที่ตนเองจะได้รับราว 33 - 35 คน
สราวุธ คำฟูบุตร จ.เชียงราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง