ข่าว

"เช็คเงินประกันข้าว 65/66" ธ.ก.ส. โอนเข้า 6 งวดรวด วันไหนบ้าง เช็คที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เช็คเงินประกันข้าว 65/66" ประกันรายได้ข้าว ปี 4 เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 ธ.ก.ส. โอนเงินส่วนต่าง 33 งวด วันไหนบ้าง เช็คที่นี่

"เช็คเงินประกันข้าว 65/66" ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีที่ 4 "ประกันรายได้ข้าว ปี 4" วงเงิน 81,200 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ก้อน ก้อนแรกเงินส่วนต่างประมาณ 18,700 ล้านบาท ก้อนที่สอง มาตรการคู่ขนาน วงเงินประมาณ 7,500 ล้านบาท และอีกก้อนคือ เงินเยียวยาไร่ละ 1,000 ประมาณ 55,000 ล้านบาท 

 

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เคาะราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้ข้าว 65/66 จำนวน 6 งวด จาก 33 งวด ซึ่งหลักเกณฑ์ต่างๆ ในโครงการฯ ยังคงหลักการเช่นเดิมและหลังจากประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงแล้ว ธ.ก.ส. จะโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วันทำการ โดยงวดที่ 1-งวดที่ 6 ธ.ก.ส. จะจ่ายเงินได้ในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 73 ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร

 

สำหรับในงวดที่ 7 - งวดที่ 33 จะประกาศทุก 7 วัน ขอให้เกษตรกรติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่เว็บไซต์กรมการค้าภายใน คลิกที่นี่ วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย

 

ราคาเกณฑ์อ้างอิงประจำวันที่ 21 พ.ย.2565 เพื่อใช้ในการชดเชยส่วนต่าง ประกันราคาข้าว ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

 

งวดที่ 1 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ต.ค.2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,583.20 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 416.80 บาท ได้รับเงินสูงสุด 12,504 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 453,887 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,140.10 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 859.90 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,758.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,443 ครัวเรือน 

 


งวดที่ 2 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยววันที่ 15-21 ต.ค. 2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,401.02 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,514.52 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,357.06 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,555.32 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 444.68 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,340.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 49,175 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,606.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 393.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 6,296.48 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 57,620 ครัวเรือน

 

 

งวดที่ 3 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยววันที่ 22-28 ต.ค. 2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,450.84 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,518.91 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,304.50 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,551.88 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 448.12 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,443.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 30,138 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,719.40 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 280.60 บาท ได้รับเงินสูงสุด 4,489.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 36,047 ครัวเรือน

 

งวดที่ 4 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยววันที่ 29 ต.ค.-4 พ.ย. 2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,385.04 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,001.46 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,143.90 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,532.63 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 467.37 บาท ได้รับเงินสูงสุด 14,021.10 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,472 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,982.94 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 17.06 บาท ได้รับเงินสูงสุด 272.96 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 120,666 ครัวเรือน

 

งวดที่ 5 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยววันที่ 5-11 พ.ย. 2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,009.64 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,197.71 บาทต่อตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,225.53 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,874.04 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 125.96 บาท ได้รับเงินสูงสุด 3,149 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 6,268 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,467.85 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 532.15 บาท ได้รับเงินสูงสุด 15,964.50 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 53,964 ครัวเรือน

 

งวดที่ 6 จะจ่ายให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยววันที่ 12-18 พ.ย. 2565

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,140.32 บาทต่อตัน
  • ข้าวเหนียว ราคา 12,188.36 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,603.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 396.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 5,551.42 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 856,336 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,556.81 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 433.19 บาท ได้รับเงินสูงสุด 10,829.75 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 5,149 ครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,370.09 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 629.91 บาท ได้รับเงินสูงสุด 18,897.30 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 47,176 ครัวเรือน

 

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66

 

ไทม์ไลน์โอนเงินประกันรายได้ข้าว 65/66

 

  • งวดแรก (ย้อนหลัง 15 ต.ค. 2565) โอนวันที่ 22 พ.ย. 2565
  • งวดที่ 2 คาดโอนวันที่ 29 พ.ย. 2565
  • งวดที่ 3 คาดโอนวันที่ 6 ธ.ค. 2565
  • งวดที่ 4 คาดโอนวันที่ 13 ธ.ค. 2565
  • โอนงวดต่อไปจนครบ 33 งวด

 

สามารถตรวจสอบสถานะขั้นตอน-ช่องทางตรวจสอบเงิน ดังนี้

 

  • เข้าสู่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com คลิกที่นี่ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • กรอกเลขประจำตัวประชาชน เพื่อใช้ในการเช็ค "เงินเยียวยาเกษตรกร" หลังจากกรอกเลขบัตรประชาชน โดยจะมีรายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับ
  • ตรวจสอบข้อมูลในแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile หลังจากตรวจสอบในเว็บไซต์แล้ว หากมีข้อมูลขึ้นว่าได้รับเงินโอน สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง

 

ทั้งนี้ การเช็คเงินประกันรายได้ข้าว หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบระบบจะขึ้นข้อมูลว่า "ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)"

 

มาตรการคู่ขนานประกันรายได้ข้าว

 

นอกจากนั้น ยังมีมาตรการคู่ขนาน ปี 65/66 แบ่งเป็น 3 โครงการ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวไม่ให้ตกต่ำ คือ

 

  • โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี
  • โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
  • โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก

 

 

 

logoline