ข่าว

อัปเดต "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" ตัวไหนจะเข้าวินก่อน เล็งใช้เป็นเข็มกระตุ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัปเดตความคืบหน้า "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" ตัวไหนจะเข้าวินก่อน ล่าสุด วัคซีนจากอภ.เตรียมทดลองเฟส 3 เล็งใช้เป็นเข็มกระตุ้นป้องกันโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้าการพัฒนา "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" เพื่อป้องกัน โควิด19 ว่า ขณะนี้ "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" ที่มีความคืบหน้าไปมากกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ มีการพัฒนาขึ้นมาในระหว่างที่เกิดการระบาดของ โควิด19 คือ การพัฒนาวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.)  ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองประสิทธิภาพในระยะที่ 2  และจะเข้าสู่การทดลองในระยะที่ 3 ประมาณเดือน ธ.ค. 2565-ม.ค. 2566

 

โดยการทดสอบระยะที่ 3 นั้นจะต้องขึ้นกับผลการทดลองระยะที่ 2 ว่า วัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เบื้องต้นคาดว่าจะทราบผลการทดลองประมาณปลายเดือน พ.ย.หรือต้น ธ.ค. นี้  สำหรับวัคซีนของ อภ.นั้น จะเป็นการทดลองในระยะที่  3 โดยจะใช้ทดสอบเพื่อเป็นวัคซีนกระตุ้น

ทั้งนี้ อภ. จะมีการทดสอบ "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" สำหรับผู้ที่ใช้วัคซีนชนิดอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ถ้ากระตุ้นด้วยวัคซีนของ อภ. เทียบกับ กระตุ้นด้วยวัคซีนของแอสตราเซนเนกา และ ไฟเซอร์ จะได้ผลที่แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร  หากผลออกมาไม่ต่างกันนั้นหมายถึงว่า ก็แสดงว่า วัคซีนของ อภ. เทียบเท่ากับวัคซีนต่างประเทศ โดยจะมีการดำเนินการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  เพื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นต่อไป

 

สำหรับ "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" อภ.เป็นการพัฒนาวัคซีน HXP–GPOVac ซึ่งเป็นการพัฒนา วัคซีนโควิด จากนวัตกรรมเชื้อตายชนิดลูกผสม (Inactivated chimeric vaccine) ผลิตด้วยเทคโนโลยีไข่ไก่ฟัก (Egg-based) เช่นเดียวกับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้หัวเชื้อวัคซีนต้นแบบนี้ ได้พัฒนาจากนวัตกรรมการตัดต่อไวรัสนิวคาสเซิล (Newcastle disease virus, NDV) ให้มีการแสดงออกของโปรตีนหนามของไวรัสโคโรนาที่ได้ถูกปรับแต่งด้วยเทคโนโลยีเฮกซะโปร (HexaPro) ให้มีความคงตัวมากขึ้น มาใช้ในการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคโควิด-19 เทคโนโลยีเฮกซะโปรนี้ ถูกพัฒนาที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสฯ  

 

สำหรับความคืบหน้า  "วัคซีนโควิดสัญชาติไทย" วัคซีนชนิด mRNA ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ขณะนี้ต้องดำเนินการทดสอบระยะที่ 1 ใหม่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนบริษัทผลิตวัคซีน จากสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จึงมีความจำเป็นต้องทำการทดสอบซ้ำใหม่อีกครั้ง ว่าวัคซีนที่ผลิตใหม่นี้ได้ผลเหมือนกับวัคซีนที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ซึ่งกำลังจะเริ่มระยะที่ 1 ใหม่ โดย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัคซีนทุกอย่างพร้อมแล้ว อยู่ระหว่างรอการอนุมัติทดสอบระยะที่ 1 อีกครั้ง 


ด้าน วัคซีนใบยา ของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ขณะนี้มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 อยู่ระหว่างการรอผลระยะที่ 1 เบื้องต้นวัคซีนรุ่นที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นที่ 1 ทั้งนี้ วัคซีนสัญชาติไทยทั้ง 3 ชนิดนี้จะใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น คงไม่ใช่วัคซีนตั้งต้น เพราะคนไทยได้รับวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว ดูจากความคืบหน้าการทดสอบแต่ละชนิดแล้ว ปี 2566  

 

อย่างไรก็ตาม วัคซีนใบยาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งต่างประเทศมีการผลิตวัคซีนชนิดนี้มา สำหรับ subunit vaccine เป็นวัคซีนที่ผลิตจากหลายแหล่ง เช่น พืช แมลง ฯลฯ ขณะที่หลายประเทศผลิต subunit vaccine จากใบพืช เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ