ข่าว

ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 ชี้เป้า 8 นโยบายรัฐบาลที่ต้องตอบโจทย์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ดนุชา พิชยนันท์" เลขาธิการสศช. แถลงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 ชี้มี 8 ประเด็นที่นโยบายมหภาคของรัฐบาลต้องตอบโจทย์

วันที่ 21พ.ย. 65 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  แถลงตอนหนึ่งถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566 ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 – 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจาก 

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

  1. การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
  2. การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ 
  3. การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ
  4. การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร 

ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่วนการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 – 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP

ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 ชี้เป้า 8 นโยบายรัฐบาลที่ต้องตอบโจทย์

นายดนุชา กล่าวถึงรายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้ 

 

1.การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค

  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 5.4 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง
  • การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลคาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.2  ในปี 2565 สอดคล้องกับการลดลงของกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 2,489,923 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 จากกรอบวงเงิน 2,535,682 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 และการลดลงของการใช้จ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาท

2.การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในปี 2565 โดย

  • การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 3.9 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออก
  • การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 เพิ่มขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2565 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 695,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากวงเงิน 612,566 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 รวมถึงแรงสนับสนุนจากความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัฐวิสาหกิจ

 

3.มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับร้อยละ 7.5 ในปี 2565 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ในปี 2565 

 

ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.5) – 0.5 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในปี 2565 ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในปี 2566 จะอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท เทียบกับ 0.57 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในปี 2565

ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 ชี้เป้า 8 นโยบายรัฐบาลที่ต้องตอบโจทย์
สำหรับประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566  เลขาธิการสศช. ระบุว่า  การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ 

 

1.การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 

 

2.การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 2566/2567 

 

3.การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย

  • การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ
  • การติดตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการค้าโลก เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก
  • การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า 
  • การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา
  • การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 

 

4. การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย

  •  การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ
  • การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน 
  • การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
  • การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ 

ส่องแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 ชี้เป้า 8 นโยบายรัฐบาลที่ต้องตอบโจทย์

5.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย

  • การดูแลด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
  • การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563-2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
  • การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต
  • การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย 
  • การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ 
  • การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ
  • การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูง 

 

6.การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 

 

7.การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก 

 

8. การติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 

 

ที่มา

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ