ข่าว

"โควิดกินยาอะไร" หลังรุนแรงน้อยลงจนคล้ายหวัด WHO เตือนห้ามกิน ยาปฏิชีวนะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไขข้อสงสัย "โควิดกินยาอะไร" หลังเข้าสู่โรคประจำถิ่น ความรุนแรงน้อยลงจนคล้ายไข้หวัด WHO เตือนห้าม กิน ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาหรือป้องกัน โควิด19

แม้ว่าปัจจุบัน โควิด19 จะลดระดับความรุนแรงของโรคจากโรคระบาดติดต่ออันตราย หรือ โรคระบาดที่ต้องเฝ้าระวัง และความรุนแรงของโรคที่ลดลงตามการกลายพันธุ์ไปนั้น จนปัจจุบันอาการที่แสดงออกหากได้รับเชื้อแทบจะเหมือน อาการไข้หวัดแบบ 100% ส่งผลให้แรกเริ่มหลายคนซื้อยาตามร้านขายยามารับประทานเอง

 

แต่ในความเป็นจริงแม้ว่าความรุนแรงของ โควิด19 จะลดระดับลงกว่าในช่วงที่เกิดการระบาดครั้งแรกการรักษา การจ่ายยายังจำเป็นจะต้องอยู่ภายในการดูแลของแพทย์ ไม่ใช่การค้นหาข้อมูล "โควิดกินยาอะไร" และหาซื้อมารับประทานกันเองได้ตามใจชอบ เพราะการจ่ายนั้น

 แพทย์จะพิจารณาจ่ายยาตามอาการของผู้ติดเชื้อ ซึ่งแน่นอนว่ามียาบางประเภทที่ห้ามใช้กับกรณี ติดโควิด เด็ดขาด 

ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า การติดเชื้อ โควิด19 ผู้ติดเชื้อจะต้องรับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนรับยากลับมากินและรักษาตัว เฝ้าสังเกตอาการต่อที่บ้านไม่ใช่ใครติด "โควิดกินยาอะไร" ก็ได้เหมือนการติดเชื้อไข้หวัดธรรมดาทั่วไป โดยข้อมูลจาก WHO ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังค้นหาและพัฒนาแนวทางการรักษาโควิด-19 การรักษาแบบประคับประคองที่ดีที่สุด ได้แก่ การให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง รวมถึงการดูแลระบบทางเดินหายใจขั้นสูงอื่นๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต เดกซาเมทาโซนเป็นคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ช่วยลดระยะเวลาใช้เครื่องช่วยหายใจ และช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรืออยู่ในภาวะวิกฤตได้

 

อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ซื้อยาใด ๆ กินเอง เช่น ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันหรือรักษาโควิด-19  ตัวอย่าง ยาปฏิชีวนะ เช่น  เพนิซิลลิน (Penicillin) ,อะม็อกซีซิลลิน (Amoxycillin),แอมพิซิลลิน (Ampicillin),อิริโทรไมซิน(Erythromycin),เตตร้าไซคลิน (Tetracycline),คลินด้าไมซิน (Clindamycin),นอร์ฟรอกซาซิน (Norfloxacin) 

 

สำหรับหลายคนที่กำลังสงสัยว่า "โควิดกินยาอะไร" ได้บ้าง และหากติดเชื้อแพทย์จะสั่งจ่ายยาอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงที่ โควิด19 ถูกถอดจากโรคติดต่อร้ายแรง การรักษาหากติดโควิดจะต้องรักษาตามสิทธิที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง และสิทธิข้าราชการเท่านั้น โดยข้อมูลการรักษาโควิดตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ระบุ เอาไว้ดังนี้ 

 

"โควิดกินยาอะไร" ให้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยมีการแยกกลุ่มอาการ 3 กลุ่มสีดังนี้ 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย

ฟ้าทะลายโจร

วิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจร

  • วันละ 180 กรัมต่อวัน แบ่ง 3 มื้อ มื้อละ 60 มิลลิกรัม (จำนวนแคปซูลขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ)
  • ทานติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ 

ปัจจุบันแพทย์จะจ่ายยาให้ตามอาการที่ปรากฎ เช่น ยาแก้ไข ละลายเสมหะ ลดน้ำมูก บรรเทาอากาศคัดจมูก 

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือ กลุ่มผู้ติดเชื้อที่เริ่มมีความเสี่ยงของโรครุนแรง จะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)  มีทั้งรูปแบบที่เป็นเม็ดและเป็นน้ำ **ไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ เป็นยาที่ต้องกินภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น**

ผู้ป่วยที่จะได้รับ ยาฟาวิพิราเวียร์

  • ที่เริ่มมีอาการของโรค เช่น ไข้สูง
  • ผู้ป่วยที่มีอาการโรคร่วม  หรือ กลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน โรคอ้วน โรคไต โรคหัวใจ-ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือตามดุลยพินิจของแพทย์
  • ผู้ที่เริ่มมีภาวะปอดอักเสบ
  • ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่ยังไม่มีอาการ หรือใช้เพื่อป้องกันโรค

 

ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะได้รับยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันมากในต่างประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา และอินเดีย เป็นยาฉีด

กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับยา เรมเดซิเวียร์ ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ไม่รู้สึกตัว กินยาไม่ได้
  • ผู้ที่มีระบบดูดซึมไม่ดี
  • ผู้ที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์แล้วร่างกายไม่ตอบสนอง
  • หญิงตั้งครรภ์


สำหรับการใช้ ยาเรมเดซิเวียร์ ให้เลือกใช้ฟาวิพิราเวียร์หรือเรมเดซิเวียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ใช้ร่วมกัน เนื่องจากเป็นยาที่มีกลไลออกฤทธิ์เหมือนกัน
แต่ต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง เป็นยาที่ใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้น

 

ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ