
ว่ายน้ำทุบสถิติ11ปี ศึกกีฬายช.แห่งชาติ หวั่นวัยโจ๋คึกเกินเหตุ แจกถุงยางหมื่นชิ้น
สาธารณะสุขจ.เพชรบูรณ์ หวั่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ "มะขามหวานเกมส์" แจกถุงยาง 1 หมื่นชิ้นให้กับนักกีฬาและเจ้าหน้าที่ทั้ง 76 จังหวัด ล่าสุดหญิงขายบริการจากจังหวัดใกล้เคียงหลั่งไหลเข้ามาหากินตามสถานบันเทิงต่างๆ ส่วนว่ายน้ำพังสถิติอีก 6 รายการ โดย "น้องเบญ"
จากกรุงเทพ ที่เคยทำไว้ 09.11.67 นาที ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ที่จ.ยะลา เมื่อปี 2542 หรือเมื่อ 11 ปีที่แล้ว
การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 26 "มะขามหวานเกมส์" เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีชิงชัยทั้งหมด 51 เหรียญทอง ไฮไลท์สำคัญยังอยู่คงที่ว่ายน้ำ วันที่สอง ชิง 7 ทอง ปรากฏว่า มีการทุบสถิติได้ถึง 6 รายการ เริ่มจากฟรีสไตล์ 800 เมตร หญิง "น้องเบญ" เบญจพร ศรีพนมธร เงือกสาวกรุงเทพ ดีกรีเยาวชนทีมชาติไทย ทำเวลาได้ 09.03.58 นาที ทำลายสถิติเก่าของ พรลดา ศรีสวัสดิ์ จากกรุงเทพ ที่เคยทำไว้ 09.11.67 นาที ในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 15 ที่จ.ยะลา เมื่อปี 2542 หรือเมื่อ 11 ปีที่แล้ว, กบ 100 เมตร ชาย "เจมส์บอนด์" ณัฐพงษ์ เกษอินทร์ (เชียงใหม่) ซิวเหรียญทองที่ 2 ให้กับตัวเองเวลา 01.03.85 นาที ทำลายสถิติเก่าของตัวเองที่เคยทำไว้ 01.05.54 กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จ.อุบล เมื่อปี 51
กบ 100 เมตรหญิง ทอง ชะวัลนุช สลับลึก (นนทบุรี) เวลา 01.13.73 นาที ทำลายสถิติเดิมของ ดวงฤทัย ธรรมปัญญา (กรุงเทพ) ที่เคยทำไว้ 01.15.74 นาที, ฟรีสไตล์ 200 เมตร ชาย ทอง สาริศ ธิวงศ์ (อุบลราชธานี) เวลา 01.53.85 นาที ทำลายสถิติเก่าของ นิธิปัญญา อนุชิตโอฬาร (กรุงเทพ) เวลา 01.56.32 นาที, ผีเสื้อ 50 เมตร หญิง ทอง เจนจิรา ศรีสอาด (สมุทรปราการ) เวลา 28.75 วินาที ดีกว่าสถิติของ นาถนภา พรมหมื่นไวย์ (ชลบุรี) ที่เคยทำไว้เวลา 28.83 วินาที และ ผลัดฟรีสไตล์ 4x200 เมตร หญิง ทอง กรุงเทพ (นวรัตน์ ทองแก้ว, ภาสินี ธีระภาพ, ฉวีวรรณ ขำมี, เบญจพร ศรีพนมธร) เวลา 08.39.36 นาที ดีกว่าสถิติเดิมของ เชียงใหม่ ที่เคยทำไว้ 08.43.98 นาที ส่วนที่ไม่ทำลายสถิติมี 1 รายการคือ ผีเสื้อ 50 เมตร ชาย ทอง ธัชพงศ์ นุตะสิริวัฒน์ (กรุงเทพ) เวลา 26.32 นาที
ด้าน เบญจพร เผยว่า ไม่คิดมาก่อนว่า จะสามารถทำลายสถิติในรอบ 11 ปีได้สำเร็จ รู้สึกดีและสะใจมาก ที่สร้างผลงานได้ดีเช่นนี้ จากนี้ไปจะพยายามตั้งใจรักษาผลงานให้ดี เพื่อสร้างผลงานที่ดีในรายการต่อไป
ขณะที่ "เจมส์บอนด์" ณัฐพงษ์ กล่าวว่า เป็นไปตามแผนที่ตั้งใจไว้ที่จะต้องทำลายสถิติให้ได้อีก เพราะการมาครั้งนี้เพื่อครองเจ้าสระให้ได้อีกสมัย จากนี้ไปยังเหลือประเภทเดี่ยวผสม 200 เมตร, กบ 50 เมตร และ กบ 200 เมร ทุกรายการจะคว้าเหรียญทองและพยายาททุบสถิติลงให้ได้
ส่วนเจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณะสุขจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เดินทางมาพบปะกับพบสื่อมวลชน พร้อมกันนี้ได้แจกจ่ายคู่มือ และอุปกรณ์ป้องกันโรคติดต่อ คนละ 1 ชุด ซึ่งผลิตมาในงานนี้ทั้งหมดจำนวน 10,000 ชุด และได้มอบให้กับนักกีฬา, เจ้าหน้าที่, กรรมการผู้ตัดสิน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องจาก 76 จังหวัด ที่เดินทางมาร่วมศึกกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 26 ภายในถุงดังกล่าว ประกอบด้วย เจลล้างมือ, ผ้าปิดปาก, ผงน้ำตาลเกลือแร่, โลชั่นทากันยุง, หนังสือคู่มือป้องกันตนเองจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และถุงยางอนามัย 1 กล่อง (จำนวน 3 ชิ้น) เพื่อต้องการให้ทุกคนปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการแจกถุงยางอนามัยให้กับนักกีฬาระดับเยางชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงระหว่างการแข่งขัน "มะขามหวานเกมส์" ปรากฏว่า มีหญิงบริการจากจังหวัดใกล้เคียงทั้งภาคอีสาน, ภาคเหนือ และ ภาคกลาง เดินทางมาทำงานตามโรงแรมต่างๆมากเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่จะแฝงตัวอยู่ตามสถานท่องเที่ยวแหล่งบันเทิงตอนกลางคืน ค่าเสนอราคาคนละ 1,500-2,000 บาท ส่งผลให้ทางกระทรวงสาธารณะสุขจังหวัดเพชรบูรณ์มีความเป็นห่วงอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน จึงได้มีการแจกถุงยางอานามัยครอบคลุมไปทุกจังหวัดจำนวน 1 หมื่นชุดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เรือพาย วันสุดท้าย ชิง 10 ทอง นักพายเรือจาก กรุงเทพ ยังโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม โกยเพิ่มได้อีก 6 ทอง จาก 200ม. คยัคชาย 1 คน เกษมสิทธิ์ บริบูรณ์วศิน, คยัคหญิง 2 คน รวิวรรณ ภูมิสถาน กนกพรรณ สวนสันต์, แคนูชาย 1 คน ปฎิพัฒน์ บูรณะคุปต์, คยัคหญิง 1 คน รวิวรรณ ภูมิสถาน, คยัคชาย 2 คน ปรัศมินทร์ วิเทศโกสุม, เกษมสิทธิ์ บริบูรณ์วศิน และ แคนูชาย 2 คน ปฎิพัทธ์ บูรณะคุปต์ กับ รุ่งสวรรค์ สวนสันต์ ส่งผลให้ทีมเรือพายกรุงเทพกวาดไปทั้งหมด 18 เหรียญทอง จากที่มีการชิงชัย 38 เหรียญทอง ได้เป็นเจ้าเหรียญทองกีฬาชนิดนี้เป็นสมัยแรก
โดยสองพี่น้อง “สวนสันต์” รุ่งสวรรค์ กับ กนกพรรณ ทำได้คนละ 5เหรียญทอง รวมช่วยทีมคว้าไป 10 เหรียญทอง โดยเฉพาะ กนกพรรณ ได้เป็นนักกีฬาเรือพายยอดเยี่ยมฝ่ายหญิง ขณะที่ เกษมสิทธิ์ บริบูรณ์วศิน ของกรุงเทพเช่นกัน ได้ยอดเยี่ยมฝ่ายชาย ส่วน กานต์ ขาลสุวรรณ โค้ชทีมกรุงเทพ ได้รับตำแหน่งผู้ฝึกสอนเรือพายยอดเยี่ยม
ยกน้ำหนัก ชิง 9 ทอง รุ่นน้ำหนัก 105 กก. ชาย สาธร นวน (อ่างทอง) กวาดคนเดียว 3 ทอง สแนทช์ 122 กก., คลีนแอนด์เจิร์ก 150 กก., น้ำหนักรวม 272 กก., รุ่นน้ำหนักเกิน 75 กก. หญิง ชิดชนก พูลทรัพย์สกุล ดีกรีจอมพลังรุ่นเล็กทีมชาติไทยจากนครสวรรค์เหมา 3 ทองคนเดียว พร้อมทำสถิติใหม่ 2 ท่า โดยสแนทช์ยกได้ 113 กก. ทำลายสถิติเก่าของ เมติยา ซื่อสัตย์ 100 กก. ทำไว้เมื่อปี 49 ที่จ.ลำปาง, คลีนแอนด์เจิร์ก 126 กก. และ น้ำหนักรวม 239 กก. ทำลายสถิติของ แพรวนภา เคนจันทึก ที่ยกได้ 225 กก. ที่เคยทำไว้เมื่อปี 49 ที่จ.ลำปาง, รุ่นน้ำหนักเกิน 105 กก. “เจ้าท็อป” วราวุฒิ แจ้งไธสง จอมพลังทีมชาติไทยจากนครราชสีมา ทำผลงานสมราคากวาด 3 ทองสำเร็จ สถิติสแนทช์ 140 กก., คลีนแอนด์เจิร์ก 161 กก., น้ำหนักรวม 301 กก.