ข่าว

ผู้ว่าฯกทม. ยังรอสภา ตั้งกมธ.วิสามัญ ศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยื้อเสนอความเห็น แก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ผู้ว่าฯกทม. รอได้ หากสภาสภากรุงเทพมหานคร จะตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ขึ้นมาศึกษาฯ

เอกวรัญญู อัมระปาล โฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีสภากรุงเทพมหานครล่ม หลังมีการเสนอญัตติขอความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า ประเด็นรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ทางกรุงเทพมหานครตั้งใจจะเร่งแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวกรุงเทพมหานครโดยตรง จึงมีการเสนอญัตติขอรับความเห็นจากสภากรุงเทพมหานครในเรื่องแนวทางการเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่ามีแนวทางความเห็นในเรื่องนี้ร่วมกันอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชน

สำหรับข้อกังวลของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครบางคน  ที่กังวลว่าสภาไม่มีอำนาจพิจารณาญัตตินั้น การเสนอญัตติดังกล่าว เป็นเพียงการขอรับความเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพื่อรวบรวมนำเสนอต่อกระทรวงมหาดไทย ตามหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 เรื่อง ขอทราบแนวทางการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวจากกรุงเทพมหานคร ซึ่งมประกอบไปด้วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร บริหารราชการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอน

 

กรุงเทพมหานครยืนยันว่าการยื่นญัตติดังกล่าวเป็นไปเพื่อชี้แจงรายละเอียดในส่วนการบริหารจัดการในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครให้สภากรุงเทพมหานครได้รับทราบ และเป็นการอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ  สภากรุงเทพมหานคร ถือเป็นส่วนสำคัญตามโครงสร้างการบริหารราชการกรุงเทพมหานคร และมีหน้าที่ในการพิจารณาความเหมาะสมการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานครให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความคิดเห็นของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ถือเป็นเสียงสำคัญที่สะท้อนความต้องการของประชาชน


ดังนั้นหากสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษารายละเอียดในเรื่องนี้ให้รอบคอบรอบด้าน โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นกรรมการหรือให้ข้อมูลฝ่ายบริหารก็ไม่ขัดข้อง

ข้อเสนอแนะที่ ผู้ว่าฯกทม.เตรียมเสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกอบไปด้วย

 

-ไม่ควรมีการต่อสัมปทาน โดยคำสั่งคสช. ที่ 3/2562 แต่ควรต่อสัมปทานโดยใช้วิธีการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการเซ็นต์สัญญาว่าจ้างเดินรถ จากปี 2572 ไปสิ้นสุดปี 2585 ไว้แล้ว เป็นปัญหาหลัก ที่กรุงเทพมหานครตัดสินใจลำบาก ต้องไปดูว่าการยกเลิกสัญญาการจ้างเดินรถทำได้หรือไม่


-ขออุดหนุนค่าใช้จ่ายโครงสร้างงานโยธา ของส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ก็มีการขออุดหนุนค่าใช้จ่ายโครงสร้างโยธาเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันค่าโครงสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 กรุงเทพมหานครรับโอนหนี้จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยประมาณ 5.8-5.9 หมื่นล้านบาทรวมดอกเบี้ย
 

 

ติดตามคมชัดลึกได้ที่

 

Line:https://lin.ee/qw9UHd2-

 

YouTube:https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ