ข่าว

ในหลวง - พระราชินี ทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

วันนี้  เวลา 17.33  น.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปทรงเปิดอาคาร ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
  เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึง  พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี  นายฐาปน  สิริวัฒนภักดี  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด  พร้อมคณะผู้บริหาร ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น เสด็จเข้าห้องโถง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ ทรงศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล  

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ จากนั้น  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้   พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  กราบบังคมทูลรายงานโครงการปรับปรุงและดัดแปลง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และกราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังแท่นพิธี

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

ทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “อาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” ต่อจากนั้น ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก 

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

จบแล้ว  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้  นายฐาปน  สิริวัฒนภักดี  เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท  ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแผ่นศิลา เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และพระนามาภิไธย 

ต่อจากนั้น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกราบที่หน้าเครื่องนมัสการ ทรงลาพระสงฆ์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปยังห้องจัดนิทรรศการ  ทอดพระเนตรวีดิทัศน์ข้อมูลโครงการปรับปรุงและดัดแปลง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์


ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกของประเทศไทย ที่รัฐบาลได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นบนเนื้อที่ 53 ไร่ 15 ตารางวา เพื่อเป็นสถานที่จัดการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เมื่อปี ๒๕๓๔ และใช้ประโยชน์ในกิจการอื่น ๆ  ซึ่งได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศูนย์การประชุม ฯ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2534  และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธยเป็นชื่ออาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติว่า  “ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12สิงหาคม 2535  ต่อมาเมื่อปี 2560 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีการปรับปรุงดัดแปลงอาคารศูนย์การประชุม

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์
เพื่อให้มีความทันสมัย และมีมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นธุรกิจบริการที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ และกระจายรายได้ไปสู่ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น 

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

โดยสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยที่ผสมผสานกับความล้ำสมัยของเทคโนโลยีสากล และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชกรณียกิจของพระบรมชนกนาถ และ พระบรมราชชนนี  

ในหลวงเสด็จเปิด ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์

รวมทั้งได้รับแรงบันดาลใจจากฉลองพระองค์ของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มาใช้ในการสร้างสรรค์การออกแบบภายในศูนย์การประชุม ฯ  แต่ละพื้นที่ของอาคาร จึงมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่งดงาม


อาคาร ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แห่งใหม่ มีการขยายพื้นที่มากกว่าเดิม 5 เท่า หรือประมาณ 300,000 ตารางเมตร และใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างชั้นสูง เป็นอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานอาคารเขียว รวมทั้งมีระบบรักษาความปลอดภัยมาตรฐานสากล

นอกจากนี้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังได้รับเกียรติให้เป็นสถานที่จัดงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค   2022 (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC 2022) ระหว่างวันที่ 14 – 19  พฤศจิกายน 2565  โดยจะได้ใช้ศักยภาพของศูนย์การประชุม ฯ อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อต้อนรับผู้นำประเทศต่าง ๆ และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานทุกคน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ