ข่าว

"น้ำท่วมใหญ่ 2565" นักวิชาการ ชี้ ไม่เท่า ฝันร้าย น้ำท่วม 54 แต่วิกฤต - ยืดเยื้อ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ชี้ "น้ำท่วมใหญ่ 2565" ไม่กลับมา เหมือน ฝันร้าย น้ำท่วม 54 แต่วิกฤต - ยืดเยื้อ จาก พายุ จร และ ปริมาณน้ำ ที่ระบายผ่าน เขื่อนเจ้าพระยา

สถานการณ์น้ำท่วม 54 กลายเป็นฝันร้ายของคนไทยทั่วประเทศ โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร และในปี 2565 จุดเริ่มต้นจาก “พายุโนรู” ทำให้สถานการณ์น้ำในประเทศไทยในหลายพื้นที่ จะเข้าสู่จุด “พีคที่สุด” และ “เปราะบางที่สุด” ตามการคาดการณ์ของรัฐบาล และผู้บริหาร กทม. แต่อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างยืนยันว่า สถานการณ์ในปีนี้ ไม่รุนแรงเท่าปี 2554 สอดรับกับ รศ.ดร.เสรี ที่เคยคาดการณ์ว่า ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนปี 2565 จะมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2565

โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า จากข้อมูลที่เคยให้ไว้ ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนปีนี้ จะมีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี มีบางท่านกลับต่อว่าจะเกิดขึ้นได้ไง อาจารย์เอาอะไรมาพูด แล้วขณะนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร? วิกฤตเกิดขึ้นหรือยัง ? ผมปฏิเสธข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ผมไม่เคยเห็นเหตุการณ์เขื่อนขนาดใหญ่ กลาง เล็ก มีปริมาณน้ำมากขนาดนี้ ชุมชนหลายแห่งประสบความเสียหายหนักกว่าปี 2554 ถ้าผมไม่ออกมาให้ข้อมูลจะเสียหายมากกว่านี้ เพราะถ้าเราเริ่มจากความพร้อมของชุมชน ผลกระทบย่อมลดลงอย่างแน่นอน

 

 

รศ.ดร.เสรี ระบุว่า ปริมาณน้ำที่ระบายผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ได้แตะระดับปี 2564 ส่งนัยความเสียหายเข้าขั้นวิกฤต (แต่ไม่ถึงปี 54 เนื่องจากปริมาณน้ำเหนือปัจจุบันมีน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ยกเว้นบางพื้นที่ระดับน้ำสูงกว่าปี 54 แล้ว เช่นที่บางบาล เป็นต้น) และจะยืดเยื้อไปอีกหลายสัปดาห์ จากปริมาณน้ำเหนือผ่านนครสวรรค์ยังคงเพิ่มขึ้น และหลายเขื่อนมีน้ำล้น หลายชุมชนในลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูลได้รับผลกระทบแบบโดมิโน จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในขณะที่การคาดการณ์แนวโน้มปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางจนถึงปลายเดือนเดือนตุลาคมนี้ จากอิทธิพลของพายุจรที่ยังไม่หมด (ลูกแรกน่าจะส่งผลกระทบช่วงกลางเดือนนี้ และจะมีหย่อม Low เกิดขึ้นในอ่าวไทย อิทธิพลของความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่ทำให้ลดความรุนแรงลง จึงต้องติดตามเป็นรายสัปดาห์)

สถานการณ์น้ำ

ส่วน กรุงเทพและปริมณฑลจะวิกฤตสุด 2 ช่วง (ช่วงแรกกลางเดือน และช่วงที่สองปลายเดือน) บริเวณชุมชนริมน้ำ ลำคลอง จากปริมาณฝนที่ยังคงมีต่อไปในเดือนนี้ น้ำเหนือจะเดินทางมาถึงช่วงแรกกลางเดือน และช่วงที่สองปลายเดือน (จากพายุจรหลังกลางเดือนนี้) จังหวะเวลาเดียวกันกับอิทธิพลน้ำหนุนกลางเดือน และปลายเดือนสูงสุด จึงต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์

 

 

ช่วงเฝ้าระวังสูงสุด (จากนี้จนถึงปลายเดือนตุลาคม) จึงได้ออกสำรวจรอบ ๆ บริเวณคลองด่านหน้า กทม. ฝั่งตะวันออก (คลองรังสิต) ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์น้ำล้นคลองมาแล้ว (ต้นเดือนกันยายน) และเพิ่งจะล้นครั้งที่ 2 (เมื่อวันที่ 2-3 ตุลาคม) มีน้ำท่วมถนนเรียบคลองข้างเมืองเอก ระดับน้ำในคลองรังสิตอยู่สูงกว่าระดับถนนในหมู่บ้านประมาณ 1.0-1.4 m (แต่ยังต่ำกว่าระดับคันกั้นน้ำประมาณ 0.80-1.0 m) และต่ำกว่าระดับถนนซ่อมสร้าง 0.30 m เทศบาลหลักหกได้นำกระสอบทราย และกรมชลประทานเร่งสูบน้ำ (ปัจจุบันความสามารถเครื่องสูบน้ำทั้ง 2 ประตู คือประตูน้ำจุฬาฯ และประตูน้ำปลายคลองมีประมาณ 120 cms) ซึ่งทำหน้าที่แบ่งน้ำลงเจ้าพระยาตั้งแต่คลอง 1-13 และแบ่งน้ำลงแม่น้ำนครนายก ตั้งแต่คลอง 13 เป็นต้นไป ในขณะเดียวกันระดับน้ำในคลองเปรมประชากรยังคงต่ำกว่าถนนเรียบคลองประมาณ 0.30-0.50 m (มีการสูบน้ำย้อนกลับจากคลองเปรมใต้สู่คลองรังสิต) การประเมินเบื้องต้นปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่เหนือคลองรังสิตกว่า 200,000 ไร่ มีปริมาณ 200 cms ต่อปริมาณฝนตก 100 mm ดังนั้นความสามารถเครื่องสูบน้ำจึงยังคงไม่เพียงพอ แต่ก็สามารถบรรเทาได้ขึ้นกับปริมาณฝนตก โดยในการปฏิบัติงานจริงต้องมีการสำรองเครื่องไว้จำนวนหนึ่ง จึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

สถานการณ์น้ำ

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ