ข่าว

เช็คลิสต์ "โรคติดต่อ" ไทยมีเยอะแค่ไหน โรคอะไรอยู่ในกลุ่มอันตราย-เฝ้าระวัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดรายชื่อ "โรคติดต่อ" ของไทยมีเยอะแค่ไหน อัปเดตล่าสุดโรคอะไรบ้างถูกจัดอยู่ในกลุ่ม โรคติดต่ออันตราย และโรคไหนบ้างถูกจับตาให้เป็น โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

ตลอดระยเวลาหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยเกิด "โรคติดต่อ" และ โรคระบาด มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ส่งผลให้กระทรวงสาธารณะสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีการกำหนด และระบุ "โรคติดต่อ" หรือ โรคระบาด ที่จะต้องเฝ้าระวังลงใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ  2558 เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน ประชาชนปฏิบัติตัวได้ตามกฎเกณฑ์ และระเบียบ เป็นการป้องกันการแพร่กระจายโรคเป็นวงกว้าง  โดยใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ  2558 ได้กำหนด ความหมายไว้ดังนี้  

  • "โรคติดต่อ" หมายความว่า โรคที่เกิดจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรค ซึ่งสามารถแพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมมาสู่คน
  • โรคติดต่ออันตราย หมายความว่า โรคติดต่อที่มีความรุนแรงสูงและสามารถแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว
  • โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หมายความว่า โรคติดต่อที่ต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ หรือจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
  • โรคระบาด หมายความว่า โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคแน่ซัด ซึ่งอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่น ได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง หรือมีภาวะของการเกิดโรคมากผิดปกติกว่าที่เคยเป็นมา อย่างไรก็ตามในประเทศที่ผ่านมามี "โรคติดต่อ" อันตราย ทั้งหมด 13 โรค และมีโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังมี 57 โรค  โดยตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 กระทรวงลาธารณสุข ปรับโรค COVID-19
     

สำหรับรายชื่อ "โรคติดต่อ" อันตราย ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 จำนวน 13 โรค ดังนี้  

1. กาฬโรค (Plague)  
2. ไข้ทรพิษ (Smallpox)
3. ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก (Crimean - Congo Hemorrhagic fever)
4. ไข้เวสต์นล์ (West Nile Fever)
5. ไข้เหลือง (Yellow fever)
6. ไข้ลาสซา (Lassa fever) (Hendra virus disease) 
7.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์  (Nipah virus disease) 
8. โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก Respiratory Syndrome - SARS) (Marburg virus disease) 
9.โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola viras disease-EVD)
10. โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา ชนิดรุนแรงมาก (Hendra virus disease)
11. โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส ( Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS)
12. โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome-MERS)
หรือโรคเมอร์ส (Middle EastRespiratory Syndrome - MERS)
(Extensively drug -resistant tubercolois (XDR-TB)
13.วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug resistant tuberculois) (XDW-TB)

 

โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง 57 โรค มีดังนี้ 
1. กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง(Lymphogranuloma Venereum หรือ Granuloma Inguinale) 
2. การติดเชื่อในโรงพยาบาล (Health care-associated infection หรือ hospital-acquired infection)
3. ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis)
4. ไข้ดำแดง (Scarlet fever)
5. ไข้เด็งที่ (Dengue Fever)
6. ไข้ปวดข้อยงลาย(Chikungunya fever)
7. ไข้มาลาเรีย (Malaria)
8. ไข้ไม่ทราบสาเหตุ (Pyrexia ofUnknown origin หรือ Fever of Unknown Origin)
9. ไข้สมองอักเสบชนิดญี่ปุ่น (Japanese Encephalitis)
10. ไข้สมองอักเสบไม่ระบุเชือสาเหตุ(Unspecified encephalitis)
11. ไข้หวัดนก (Avian Influenza)
12. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
13. ไข้หัด (Measles)
14. ไข้หัดเยอรมัน (Rubella)
15.ไข้เอนเทอริค (Enteric fever)
16. ไข้เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)
17. คอตีบ (Diphtheria)
18. คางทูม (Mumps)
19. ซิฟิลิส (Syphilis)
20. บาดทะยัก (Tetanus)
21. โปลิโอ (Poliomyelitis)
22. แผลริมอ่อน (Chancroid)
23. พยาธิทริคิเนลลา(Trichinosis)
24. พยาธิใบไม้ตับ(Liver Fluke)
25. เมลิออยโดสิส(Melioidosis)
26. เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis)
27. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified meningitis)
28. เริมของอวัยวะสืบพันธุ์ และทวารหนัก (Anogenital Herpes)
29. โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสชนิด เอ บี ซี่ ดี และ อี่ (Viralhepatitis A, B, C, D and E)
30. โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis)
31. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease)
32.โรคติดเชื้อสเตร์ปโตคอคคัสชูอิส (Streptococcus suis infection)
33. โรคเท้าช้าง (ElephantiasisLymphatic Filariais)
34. โรคบรูเซลโลสิส (Brucellosis)
35. โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis หรือ Pneumonia)
36. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
37. โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease)
38. โรคเรื้อน (Leprosy)
39.โรคลิซมาเนีย (Leishmaniasis)
40. โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis)
41. โรคสครับไทฟัส (Scrubtyphus)
42. โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส (Varicella, Chickenpox)
s) 43.โรคอัมพาตกล้ามเนื้อ ออนปวกเปียกเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP)
44. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน(Acute diarrhea)
45. โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome:AIDS)
46. โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
47.วัณโรค (Tuberculosis)
48. ไวรัสตับอักเสบ ไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Hepatitis)
49. หนองใน (Gonorrhea)
50. หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NGU)
51. หูดอวัยวะเพศและ ทวารหนัก (Condyloma Acuminata หรือ Venereal Warts)
52. อหิวาตกโรค (Cholera)
53. อาการภายหลัง ได้รับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization:AEFI)
54. อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
55. ไอกรu (Pertussis)
56. โรคฝีดาษวานร หรือโรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
57. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ