ข่าว

กทม. ปรับปรุงระบบงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน

กทม. ปรับปรุงระบบงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน

25 ก.ย. 2565

ประธานที่ปรึกษา ผู้ว่า กทม.เซ็ทระบบขับเคลื่อน งบประมาณฐานศูนย์ ทดสอบใช้ในโครงการปี 67 ดึง OKR กลไกประเมินผล รับกระแสการเปลี่ยนทั้งปัจจุบันและอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพใช้งบ สร้างประโยชน์คนกรุงเทพในทุกด้าน ตามนโยบาย ผู้ว่า ดัน กรุงเทพเมืองน่าอยู่ของทุกคน

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ ประธานที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และงบประมาณ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า แผนการขับเคลื่อนการนำหลักการงบประมาณฐานศูนย์ “Zero-Based Budgeting” ที่จะไปใช้กับโครงการต่างๆภายใต้งบประมาณประจำปีของกทม.

 

คาดว่ากระบวนการจะเริ่มต้นใช้ในบางโครงการ ในปีงบประมาณปี 2567และใช้การครอบคลุมการจัดทำงบประมาณปี 2568  ควบคู่ไปกับการเริ่มต้นใช้การวัดผล การจัดทำ OKR (Objective and Key Results) หรือ เครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล คือ การคิดแบบติดตามผลลัพธ์ (Result Based) มากกว่า การประเมินตามแนวทางรูปแบบเดิม ที่บางครั้งไม่สามารถตอบสนองต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนาเมืองในช่วงที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 


“การจัดสรรงบประมาณประจำปีของกทม. ที่มี 50 เขต 20 สำนัก ที่ผ่านมามักจะอ้างอิงกับงบประมาณของปีก่อน โดยปกติจะจัดทำล่วงหน้า 1-1.5 ปี ก่อนปีงบประมาณจริงเราเพิ่งเข้ามาทำงานได้ราว 100 กว่าวันจึงเข้ามาในช่วงที่การจัดทำงบปี’66 เสร็จแล้ว สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ คือ การดูงบประมาณอะไรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับนโยบายของเราได้ ซึ่งบประมาณของ กทม. จะถูกจัดสรรเป็น 5 ประเภท คือ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่นๆ ซึ่งหากดูแล้วงบทั้ง 5 ประเภทนี้ ที่จะนำมาทำได้ตามยุทธศาสตร์ ก็คือ งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่นๆ ส่วนงบอื่นๆ จะเป็นงบที่ค่อนข้างคงที่และดีอยู่แล้ว” ผศ.ดร.เกษรา กล่าว

กทม. ปรับปรุงระบบงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน
สำหรับการจัดสรรงบประมาณแบบอ้างอิงปีที่ผ่านมานี้มีข้อดี คือ สะดวก และง่าย แต่ข้อเสีย คือ เราไม่ได้คิดใหม่ แต่เมื่อทุกวันนี้โลกมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องอาศัยการจัดสรรงบประมาณแบบ Zero-based budgeting โดยที่ทุกโครงการในการใช้งบประมาณจะเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ แล้วคิดต่อยอดในการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวคิดต้องทำกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่สำหรับทุกคน

กทม. ปรับปรุงระบบงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กทม. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2565-2570 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ทำได้ขณะนี้ คือ การนำนโยบาย 9 ดี ที่เคยใช้หาเสียงมาประยุกต์ใช้กับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ด้วยการปรับเปลี่ยนและแก้ไขแผนบางส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย 216 ข้อ ของผู้ว่าฯ กทม. เพื่อนำมาจัดทำงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์กทม.ฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งงบยุทธศาสตร์กทม. นี้จะอยู่ในส่วนของงบการลงทุนและงบรายจ่ายอื่นๆ คาดว่าในปี 2567 จะเป็นปีแรก ที่สามารถดำเนินงานตามแผนของเราได้ 100%


สำหรับการจัดสรรงบประมาณแบบอ้างอิงปีที่ผ่านมานี้มีข้อดี คือ สะดวก และง่าย แต่ข้อเสีย คือ เราไม่ได้คิดใหม่ แต่เมื่อทุกวันนี้โลกมีสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องอาศัยการจัดสรรงบประมาณแบบ Zero-based budgeting โดยที่ทุกโครงการในการใช้งบประมาณจะเริ่มต้นใหม่จากศูนย์ แล้วคิดต่อยอดในการใช้งบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวคิดต้องทำกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่สำหรับทุกคน

กทม. ปรับปรุงระบบงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงาน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กทม. ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2565-2570 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ทำได้ขณะนี้ คือ การนำนโยบาย 9 ดี ที่เคยใช้หาเสียงมาประยุกต์ใช้กับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ด้วยการปรับเปลี่ยนและแก้ไขแผนบางส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย 216 ข้อ ของผู้ว่าฯ กทม. เพื่อนำมาจัดทำงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์กทม.ฉบับแก้ไขใหม่ ซึ่งงบยุทธศาสตร์กทม. นี้จะอยู่ในส่วนของงบการลงทุนและงบรายจ่ายอื่นๆ คาดว่าในปี 2567 จะเป็นปีแรก ที่สามารถดำเนินงานตามแผนของเราได้ 100%