ข่าว

ประกาศแนวทาง "ฝีดาษลิง" สงสัยติดเชื้อเป็นผู้ป่วยในทันที กักตัวกี่วันเช็ค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ประกาศแนวทางดูแล "ฝีดาษลิง" กรมการแพทย์ ระบุ สงสัยติดเชื้อให้เป็นผู้ป่วยในทันที สรุปแนวทางการรักษา ระยะเวลากักตัว แบบชัด ๆ เช็ครายละเอียดที่นี่

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่แนวทางปฏิบัติการวินิจฉัย การดูแลรักษาและการป้องกันการติดเชื้อกรณี โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) หรือโรค "ฝีดาษลิง" โดยมีรายละเอียดสำคัญ ได้แก่ โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่อาการไม่รุนแรง หายเองได้ แต่จะมีอาการรุนแรงได้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเด็กเล็ก โดยมีอัตราการตายต่ำกว่าร้อยละ 5 ระยะเวลามีอาการของ


โรคประมาณ 2-4 สัปดาห์ เนื่องจากโรค "ฝีดาษลิง" เพิ่งมีรายงานในประเทศไทยเป็นครั้งแรก จึงจำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้รักษาเป็นผู้ป่วยในทุกราย ระยะฟักตัว 7 - 21 วัน อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยมักเริ่มด้วยอาการไข้และผื่น จะเริ่มจากตุ่มแดง ประมาณ 5-7 วันหลังรับเชื้อ และตุ่มจะเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และแห้งเป็นสะเก็ด ตุ่มมีจำนวนมากน้อยตามความรุนแรงของโรค และการตอบสนองของผู้ป่วย รวมระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

การแพร่กระจายเชื้อและการติดต่อส่วนใหญ่โดยการสัมผัสผื่นผู้ป่วยโดยตรงในระยะแพร่เชื้อ หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยยืนยัน อาจมีการติดต่อทางละอองฝอยได้ โดยเฉพาะหากมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็ก

ทั้งนี้ ให้รับผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" เป็นผู้ป่วยใน โดยอยู่ในห้องแยกโรคเดี่ยว มีห้องน้ำในตัว ระหว่างรอผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ จนกว่าจะทราบผล ในกรณีไม่พบเชื้อให้สังเกตอาการ 21 วัน หากมีอาการไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่น ให้ไปพบแพทย์ ส่วนกรณีที่ตรวจพบเชื้อ "ฝีดาษลิง" ให้ Admit ทุกรายในโรงพยาบาล และรักษาในห้องแยกผู้ป่วยโรคติดเชื้อ
 

สำหรับการรักษา "ฝีดาษลิง" ตามอาการ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย เช่น ลดไข้ ลดอาการไม่สบายจากตุ่มหนอง และดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน การรักษาจำเพาะ ยาต้านไวรัสจำเพาะเป็นยาที่ใช้ในการรักษาอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ ทั้งนี้ ยาที่มีรายงานให้รายผู้ป่วยที่อาการรุนแรง คือ tecovirimat (TPOXX)

ผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรครุนแรง ได้แก่ กลุ่ม ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น

ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

มะเร็งเม็ดเลือด ได้แก่ leukemia  lymphoma  โรคมะเร็งอวัยวะต่าง ๆ  ผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ได้รับการรักษาด้วย alkylating agents  antimetabolites  radiation tumor necrosis factor inhibitors  high-dose corticosteroids

ผู้ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกมาภายใน 2 ปี หรือตั้งแต่2 ปีขึ้นไป แต่มีภาวะ graft-versus-host disease หรือโรคเดิมกำเริบ โรค autoimmune disease ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเด็ก  เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 8 ปี

 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ 

logoline