ข่าว

ด่วน! เตือน 36 จังหวัด ระวัง "น้ำท่วม" ฉับพลัน น้ำหลาก 2-10 ส.ค.นี้ เช็คที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ด่วน! เตือน 36 จังหวัดระวัง "น้ำท่วม" ฉับพลัน และน้ำหลาก ระหว่างวันที่ 2-10 ส.ค.นี้ เช็คพื้นที่ได้รับผลกระทบแบบละเอียดที่นี่

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัย "น้ำท่วม" โดยระบุว่า ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 2 – 10 สิงหาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง 

กอนช. ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าจะมีปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่อง ประกอบกับสถานการณ์น้ำในลำน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ที่ฝนตกหนักอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและ "น้ำท่วม" ฉับพลัน จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ในช่วงวันที่ 2 – 10 สิงหาคม 2565 ดังนี้

โดยมีพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง น้ำหลาก "น้ำท่วม" ขัง ดังนี้

ภาคเหนือ 8 จังหวัด

จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอปาย)
จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว และแม่อาย)
จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่จัน และแม่ลาว)
จังหวัดน่าน (อำเภอบ่อเกลือ ปัว และสันติสุข)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอท่าปลา และทองแสนขัน)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย วัดโบสถ์ เนินมะปราง และชาติตระการ)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวังโป่ง หล่มสัก และหล่มเก่า) 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด

จังหวัดเลย (อำเภอเชียงคาน และนาด้วง)
จังหวัดหนองคาย (อำเภอโพนพิสัย และรัตนวาปี)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ บุ่งคล้า โซ่พิสัย และเซกา)
จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอดงหลวง)
จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน เมืองนครพนม และธาตุพนม)
จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอบ้านเขว้า และหนองบัวแดง)
จังหวัดขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น)
จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอสุวรรณภูมิ)
จังหวัดยโสธร (อำเภอมหาชนะชัย และคำเขื่อนแก้ว)
จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอจักราช พิมาย และลำทะเมนชัย)
จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอม่วงสามสิบ ตระการพืชผล ดอนมดแดง เขื่องใน เมืองอุบลราชธานี และวารินชำราบ) 

ภาคตะวันออก 5 จังหวัด

จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก และปากพลี)
จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอนาดี ประจันตคาม และกบินทร์บุรี)
จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง และเมืองระยอง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ แหลมสิงห์ เมืองจันทบุรี ขลุง และมะขาม)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ แหลมงอบ เกาะกูด เกาะช้าง และเขาสมิง) 

ภาคกลาง

จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และทองผาภูมิ)
จังหวัดลพบุรี (อำเภอชัยบาดาล)
รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

ภาคใต้ 8 จังหวัด 

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอบางสะพาน และทับสะแก)
จังหวัดชุมพร (อำเภอปะทิว)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และไชยา)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอพรหมคีรี)
จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์)
จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วทุ่ง)
จังหวัดตรัง (อำเภอย่านตาขาว)
จังหวัดพัทลุง (อำเภอกงหรา) 

 

นอกจากนี้ กอนช. ยังเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำกกแม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเลย แม่น้ำชี แม่น้ำมูล แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำตราด
 
เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี รวมทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ

2. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีสูบน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมทั้งวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ และระดับน้ำในลำน้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับน้ำหลากป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

 

 

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote : https://www.komchadluek.net/entertainment/524524

#คมชัดลึกอวอร์ด #คมชัดลึกลูกทุ่งAwards #คมชัดลึกลูกทุ่ง #คมชัดลึก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ