ข่าว

"ฝีดาษลิง" รายที่ 2 ส่อติดเชื้อจากชายไนจีเรียรายแรก ยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ฝีดาษลิง" รายที่ 2 ของไทย นักไวรัสวิทยา ถอดรหัสพบอาจติดเชื้อมาจากชายไนจีเรียรายแรง ระบุยังไม่ใช่การติดเชื้อสายพันธุ์ B.1 สัญญาณดีไทยยังไม่พบ B.1

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Anan Jongkaewwattana" ถึงการระบาดและการติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ของผู้ติดเชื้อรายที่ 2 ในไทย โดยเบื้องต้นคาดว่าเป็นการติดเชื้อมาจากขายชาวไนจีเรีย ที่ตรวจพบว่าเชื้อ "ฝีดาษลิง" เป็นรายแรกของไทย ซึ่งไม่ใช่การติดเชื้อสายพันธุ์ B.1 ซึ่งเป็นตัวหลักที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ 

ดร.อนันต์ ระบุข้อมูลว่า ผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รายที่สองของไทย?

ไวรัส "ฝีดาษลิง" ที่ตรวจพบในประเทศไทยตอนนี้เป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม A.2 ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในยุโรปและอเมริกาซึ่งเป็นกลุ่ม B.1 (สีเหลือง) ไวรัสใน 2 กลุ่มนี้มีความแตกต่างกันไม่มากในภาพรวม แต่มากพอที่จะแยกจากกันเป็นกลุ่มที่ชัดเจน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นกำเนิดของไวรัสที่ระบาดในประชากรมนุษย์ เชื่อว่ามาจาก 2 แหล่งที่แตกต่างกัน และ เนื่องจาก A.1 ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เก่ามากกว่าจึงทำให้เชื่อว่าไวรัส "ฝีดาษลิง" อาจจะอยู่ในประชากรมนุษย์มาสักพักหนึ่งแล้ว ก่อนที่จะมีการระบาดอย่างเห็นได้ชัดของกลุ่ม B.1 ในตอนนี้ 
 

ดร.อนันต์ ยังระบุ เพิ่มเติมว่า สำหรับความแตกต่างของอาการของโรค "ฝีดาษลิง" หรือ ความรุนแรงระหว่าง A.2 กับ B.1 ยังไม่มีข้อมูลแบ่งแยกออกมาชัดเจนถ้าดูจากข้อมูลของ A.2 ในฐานข้อมูลจะเห็นว่า A.2 ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากเท่ากับ B.1 อาจจะเป็นเพราะไวรัสในกลุ่ม A.2 ยังมีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับไวรัสที่ระบาดหนักในตอนนี้ 

ข้อมูลนี้ชี้ว่าไวรัสในประเทศไทยพบแล้วในผู้ป่วย 2 ราย สายพันธุ์แรก คือ จากชายชาวไนจีเรีย (Phuket-74) และ อีกตัวอย่างหนึ่งมาจากผู้ป่วยอีกรายที่ถอดรหัสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-ID220016-FTV) 

โดยไวรัสสองตัวอย่างมีความใกล้เคียงกันมาก และ มากกว่าสายพันธุ์ A.2 ที่ไปพบในอินเดีย และ สหรัฐอเมริกา เป็นไปได้สูงมากว่า "ผู้ป่วยรายที่ 2" ได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาจากชาย "ชาวไนจีเรีย" รายแรก และยังไม่ใช่สายพันธุ์ B.1 ที่เป็นสายพันธุ์หลักของโลกตอนนี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก A.2 มาก่อนหลายปี แต่มีผู้ป่วยน้อยกว่า B.1 มาก เลยแอบตั้งสมมติฐานว่า ไวรัส A.2 อาจจะมีคุณสมบัติการแพร่กระจายน้อยกว่า B.1 ซึ่งการที่ยังไม่พบ B.1 ในประเทศไทยอาจจะเป็นข่าวดีอยู่นิดๆ

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Line : https://lin.ee/qw9UHd2
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ