ข่าว

"ส่งออก" ไทย เดือน พ.ค. 65 ขยายตัว มูลค่ากว่า 8 เเสนล้าน สินค้าเกษตรโตต่อเนื่อง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาพรวม "ส่งออก" ไทย เดือน พ.ค. 65 มูลค่าส่งออก 854,372 ล้านบาท ตลาดสหรัฐฯขยายตัวถึงร้อยละ 29.2

กระทรวงพาณิชย์ รายงานสถานการณ์การ "ส่งออก" ของไทย เดือนพฤษภาคม และ 5 เดือนแรกของปี 2565 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พบการส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 854,372 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.5 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 11.1 การส่งออกยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนถึงบทบาทการเป็น ครัวโลก ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกมีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น 

 

ขณะเดียวกัน การ "ส่งออก" สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตตามภาคการผลิตโลกที่ยังขยายตัวดี สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 สะท้อนอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัว  แม้จะได้รับผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ปัญหาเงินเฟ้อ และการล็อกดาวน์บางเมืองเศรษฐกิจของจีน

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤษภาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 25,509.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.5 การนำเข้า มีมูลค่า 27,383.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.2 ดุลการค้าขาดดุล 1,874.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) การ "ส่งออก" มีมูลค่า 122,631.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.9 การนำเข้า มีมูลค่า 127,358.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.2 ดุลการค้าขาดดุล 4,726.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤษภาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 854,372 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 19.3 การนำเข้า มีมูลค่า 928,890 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 34.0 ดุลการค้าขาดดุล 74,518 ล้านบาท ขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) การ "ส่งออก" มีมูลค่า 4,037,962 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 23.2 การนำเข้า มีมูลค่า 4,251,796 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.1 ดุลการค้าขาดดุล 213,834 ล้านบาท 

การ "ส่งออก" สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 25.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 

- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 27.6 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) 

- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 81.4 (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสหรัฐฯ) 

- ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 3.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี ฝรั่งเศส และสเปน) 

- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 32.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อียิปต์ และลิเบีย) 

- น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 171.2 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว) 

- อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 25.5  (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย และออสเตรเลีย) 

- ข้าว ขยายตัวร้อยละ 24.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ แคเมอรูน จีน และเยเมน) 

 


สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ 
- ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 2.8 (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ และลาว) 

- สิ่งปรุงรสอาหาร หดตัวร้อยละ 2.4 (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี) 5 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 15.5 


การ "ส่งออก" สินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.2  ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ 

- สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 23.3 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สิงคโปร์ กัมพูชา มาเลเซีย และอินเดีย) 

- ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 10.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฝรั่งเศส) 

- แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 6.4 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์) 

- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 24.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย และสิงคโปร์) 

- อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 69.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี และกาตาร์) 

- เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 27.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์) 

- เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 141.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง จีน และไต้หวัน) 


ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ 
- รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 3.1 (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น) - เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัวร้อยละ 20.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเยอรมนี) 

- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 3.0 (หดตัวในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย)

5 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 11.3 

 

ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับดีขึ้น สะท้อนถึงอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ยังขยายตัวได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และการใช้มาตรการควบคุมไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้ 

 

1. ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 12.3 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 29.2 อาเซียน ร้อยละ 8.3 CLMV ร้อยละ 13.1 ขณะที่ตลาด จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.8 ร้อยละ 6.2 ร้อยละ 12.8 ตามลำดับ                

 

2. ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 8.9 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 55.7 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 37.9 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 10.2 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 22.5 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 11.9 และ 56.9 ตามลำดับ 

 

3. ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 59.1 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 70.0
 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ