ข่าว

เตือน "ชัชชาติ" อย่าผลีผลามเอา "สายไฟฟ้าลงใต้ดิน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เอา "สายไฟฟ้าลงใต้ดิน" ไม่ใช่เรื่องง่าย ไพศาลเตือน "ชัชชาติ" กับดักกฎหมายเยอะมาก เพราะเคยเป็นบอร์ดโทรศัพท์มาก่อน

ไพศาล พืชมงคล อดีตที่ปรึกษารองนายกฯ โพสต์เฟสบุ๊ค เตือนชัชชาติ เอาสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ระวังผิดกฎหมายมีเนื้อหาว่าคุณชัชชาติ...อย่าผลีผลามเรื่องเอาสายไฟลงดินเป็นอันขาด


1. ตอนนี้เกิดกระแสที่หลายฝ่ายพยายามจะนำสายไฟฟ้าตามข้างถนนลงดิน เพราะรู้ดีว่าเป็นเรื่องที่ก่อความเสียหายและเกิดความเดือดร้อนมานานแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีใครรับผิดชอบ จนกระทั่งเกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้น แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหมู ๆ จะต้องรู้ให้กระจ่างว่าเป็นเรื่องอะไร เพราะเคยเป็นบอร์ดองค์การโทรศัพท์ ได้รู้ได้เห็นเรื่องราวเหล่านี้มาเป็นอย่างดี เมื่อเห็นท่าทีที่จะทำให้คนที่มีความตั้งใจดีเสียหายก็จำเป็นจะต้องเตือน

2. จะต้องรู้ก่อนว่าเจ้าภาพที่ทำให้เกิดการวางสายเกะกะตามแนวถนนทั้งประเทศโดยเฉพาะในกรุงเทพนั้น เป็นเรื่องของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายการจัดตั้งการไฟฟ้าที่จะปักเสาพาดสายและอนุญาตให้ใครพาดสายก็ได้


ดังนั้นจึงมีเสาไฟฟ้าอยู่ 2 ประเภท คือ เสาไฟฟ้าแรงสูงซึ่งเป็นเสาสายส่งทั่วไปและเสาไฟฟ้าแรงต่ำที่เชื่อมมาจากเสาไฟฟ้าแรงสูงและเดินสายเข้าชุมชนและหมู่บ้านและบ้านเรือนต่าง ๆ

 

เตือน "ชัชชาติ" อย่าผลีผลามเอา "สายไฟฟ้าลงใต้ดิน"

 

การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้ใครนำสายอะไรต่อมิอะไรมาพาดตามแนวเสาไฟฟ้า โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่การไฟฟ้านครหลวง ดังนั้นนอกจากสายไฟฟ้าซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาแล้ว บรรดาสายทั้งหลายที่พาดตามเสาไฟฟ้าเป็นความรับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งเป็นผู้อนุญาต
ใครรุ่มร่ามไปรื้อถอนอาจต้องรับผิดทั้งต่อการไฟฟ้านครหลวงและต่อเจ้าของสายเหล่านั้น เพราะเขาเป็นผู้เช่าพาดสายและได้รับอนุญาตให้พาดสายแล้ว ดังนั้นอย่าผลีผลามไปรื้อถอนเข้า
3. สารพัดสายที่ขอเช่าพาดสายกับเสาไฟฟ้านครหลวงนั้น จำแนกประเภทได้ดังนี้
3.1. สายโทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้ตามบ้าน ซึ่งเป็นขององค์การโทรศัพท์มาแต่เดิม ขณะนี้ส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใช้แล้ว เป็นขององค์การโทรศัพท์
3.2. สายสัญญาณดาวเทียมที่แต่ละบ้านมีกล่องสัญญาณดาวเทียมเชื่อมต่อกับโทรทัศน์เป็นของเอกชน แต่จ่ายค่าพาดสายให้กับการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งขณะนี้เกือบทั้งหมดไม่ได้ใช้แล้ว
3.3. สายสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณอื่น ๆ
ทั้งหมดเป็นของเอกชนหลายรายและหลายยุค เมื่อยุคแรก ๆ ความเร็วต่ำ เขาก็เดินสายใหม่เป็นความเร็วสูง เพิ่มสายกันไม่รู้กี่รอบแล้ว แต่สายเก่ากลับไม่ได้รื้อถอนจึงมีสายที่ใช้การอยู่ของเอกชนหลายรายตาม 3.3.นอกนั้นต้องรื้อถอนออกทั้งหมด

เมื่อเจ้าของไม่รื้อ การไฟฟ้าต้องดำเนินการให้รื้อและเรียกค่าเสียหาย แต่ไม่แน่ใจว่า การไฟฟ้านครหลวงยังเรียกเก็บค่าพาดสายแบบกันเองกันอยู่หรือไม่ และเงินค่าพาดสายนั้นเข้าบัญชีเงินหลวงหรือไม่ ก็อาจต้องดูกันสักครั้ง
ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงไม่มีอำนาจไปรื้อถอนได้เอง ในกรณีที่ผิดเทศบัญญัติหรือกฎหมาย กทม. ก็ต้องออกเทศบัญญัติหรือออกคำสั่งให้มีการรื้อถอนตามกฎหมาย

ส่วนสายที่ยัง.ใช้การได้อยู่จะเอาลงดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ขอสาธุชนทั้งหลายได้เข้าใจเรื่องนี้ร่วมกัน เพราะจะปล่อยให้เป็นไปตามกระแสและต้องรับผิดกัน อุตลุตนั้นหาควรไม่

 



ติดตาม คมชัดลึก เพิ่มเติม คลิ๊ก
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online/
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ