ข่าว

จัดวันช้างไทยที่ศูนย์คชศึกษาหมู่บ้านช้างสุรินทร์

จัดวันช้างไทยที่ศูนย์คชศึกษาหมู่บ้านช้างสุรินทร์

13 มี.ค. 2552

จังหวัดสุรินทร์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ จัดงาน “วันช้างไทย” วันที่ 13 มีนาคม เพื่อให้ความสำคัญต่อช้างที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และยังคู่บารมีพระมหากษัตริย์ไทยมาทุกยุคทุกสมัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า “ช้าง” เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อประเทศไทย และเราได้ยึดถือกันมาว่า “ช้าง”ยังเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง คู่บารมีพระมหากษัตริย์ไทย รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยมานาน  แต่ปัจจุบัน  ภาพลักษณ์ของ “ช้าง” กลับเป็นภาพไม่น่าดู เราจะเห็น “ช้าง”จำนวนไม่น้อยที่ถูกเจ้าของช้าง หรือ “ควาญช้าง” นำช้างออกไปเร่ร่อนตามเมืองต่าง ๆ เพื่อหารายได้มาลี้ยงชีพ และเลี้ยงช้าง ซึ่งทำให้หลายฝ่ายมองว่า เป็นปัญหาสำคัญของสังคมปัญหาหนึ่ง จนถูกมองว่า “ช้างขอทาน” อันส่งผลให้ภาพลักษณ์ของ “ช้างไทย”ต้องถูกกระทบกระเทือนไปอย่างเลี่ยงไม่ได้    ซึ่งการแก้ปัญหาช้างเลี้ยงภายในประเทศไทยยังไม่สามารถทำให้เป็นรูปแบบที่ดีได้ เพราะความจริงปัญหาที่ถูกมองข้าม และการขาดโอกาสมีส่วนร่วมของ “คนกับช้าง” ในการกำหนดวิถีชีวิต หรือการสืบสานวัฒนธรรมระหว่างคนกับช้างให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุข
 จากปัญหาดังกล่าว องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เริ่มจัดโครงการ “นำช้างคืนถิ่นสุรินทร์บ้านเกิด” มาเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2549 เพื่อแก้ไขปัญหา “ช้างเร่ร่อน” โดยเฉพาะ “ช้างสุรินทร์” ที่เป็นช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดสุรินทร์และประเทศไทยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมานานนับ 40 ปี ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541  ให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเป็นวันช้างไทย”  และทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้เห็นความสำคัญของช้างไทย “ช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลกของจังหวีดสุรินทร์ จึงได้จัดงาน “วันช้างไทยขึ้น” โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ นาคประดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เดินทางมาเป็นประธาน และมี นายสมศักดิ์  เจริญพันธ์รองนายกองการบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงาน พร้อมกับจัดพิธีสงฆ์  อุทิศส่วนกุศลให้กับช้าง และควาญช้างที่ล่วงรับไปแล้ว  มีพระสงฆ์จากวัดต่าง ๆ ในตำบลกระโพ จำนวน 9 รูปมาเจริญพระพุทธมนต์  พร้อมกับจัดเลี้ยงอาหารให้ช้างที่เข้าอยู่ในโครงการ “นำช้างคืนถิ่นสุรินทร์บ้านเกิด” 
 หลังจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ และรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยประชาชน และนักท่องเที่ยวได้มาร่วมเลี้ยงอาหารช้างจำนวน 65 เชือก ซึ่งโต๊ะอาหารช้างมีความยาวประมาณ 100 เมตร มีอาหารของช้าง ประเภท กล้วย, อ้อย, แตงโม,สัปปะรด
หลังจากเลี้ยงอาหารให้ช้างเสร็จแล้ว ประชาชน นักเรียน และนักที่องเที่ยวได้เดินมาดูการแสดงของช้างที่สนามแสดงช้างที่ศูนย์คชศึกษาด้วย
 นายสมศักดิ์ เจริญพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ได้กล่าวถึงภาพรวมในการจัดงาน และปัญหาของช้างเลี้ยงที่เข้าร่วมโครงการนำช้างคืนถิ่นสุรินทร์บ้านเกิดว่า ทาง อบจ.ยังขัดสนในเรื่องงบประมาณของอาหารเลี้ยงช้าง และพื้นที่ปลูกป่าอาหารช้าง เพราะพื้นที่ยังไม่ได้รับมอบจากป่าไม้ แต่ว่ามีทางปศุสัตว์ เกษตร และประชาชนได้มาร่วมปลูกป่าอาหารช้าง ถ้าจะให้ครอบคุมครบสมบูรณ์ เป็นรูปธรรมยังเป็นไปไม่ได้ เพราะขัดกับเงื่อนไขระเบียบของทางราชการ  แต่ถ้าจะเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว จะเห็นว่าปีนี้ได้มีการเปลี่นยแปลงดีกว่าปีที่ผ่านมา