ข่าว

เจ็บ ป่วย อยากใช้ "สิทธิบัตรทอง" ลงทะเบียน เช็กสิทธิ ดูขั้นตอนได้ที่นี่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สปสช. เเจ้งรายละเอียด "สิทธิบัตรทอง" ใครบ้างมีสิทธิ พร้อมวิธีเช็กสิทธิ และขั้นตอนการลงทะเบียน อัปเดตข้อมูลรักษาได้ทุกที่ ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ หรือ สปสช. เเจ้งรายละเอียดสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" เป็นสิทธิตามกฎหมายที่รัฐบาลจัดให้คนไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิด และตลอดช่วงชีวิต (ไม่ใช่สิทธิเพื่อการสงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม) ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

 

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" 3 ข้อ คือ

1. เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย

2. มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

3. ไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ (ที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของรัฐ) ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ข้าราชการการเมือง


ใครบ้างมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท"?
• เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการจากบิดามารดา


• บุตรข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไปหรือสมรส) และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ

• บุตรข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป และไม่มีสิทธิประกันสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ เช่น สิทธิข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน

• ผู้ประกันตนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (หมดสิทธิประกันสังคม)

• ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากราชการโดยมิได้รับบำนาญ

• ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน

 

สามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
 

"สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" สำหรับคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศติดต่อกันมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (ข้อมูลจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) หรือผู้ที่ลงทะเบียนเลือกตั้งในต่างประเทศ (ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง) จะสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งขาติต่อเมื่อเดินทางกลับมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว โดยประชาชนติดต่อแก้ไขสถานะบุคคล ณ หน่วยบริการโนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่อยู่ใกล้บ้าน

 

4 วิธีเช็กสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

1.โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 
2.เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
3.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
4.ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

 

การลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ ประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัวของตนเองที่จะเข้ารับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่กำหนด 
 

อย่างไรก็ตาม "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป กรณีอยู่ต่างพื้นที่และเกิดเจ็บป่วยขึ้น สามารถเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิในระบบบัตรทองที่อยู่ใกล้ได้ โดยไม่ต้องกลับไปรับใบส่งตัวเพื่อนำมายื่นในภายหลัง หรือถูกเรียกเก็บค่ารักษาเหมือนในอดีต โดยหน่วยบริการจะเรียกเก็บค่ารักษาจาก สปสช.แทน เป็นการเพิ่มคุณภาพและความสะดวกการรับบริการ ตามนโยบาย "ยกระดับบัตรทอง"  30 บาทรักษาทุกที่ในหน่วยบริการปฐมภูมิ 

 

ตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.), หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 

 

สำหรับการลงทะเบียน "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท"   สปสช.จัดระบบลงทะเบียนดังนี้ 
ติดต่อด้วยตนเองในวันและเวลาราชการ ที่ 

ต่างจังหวัด
• หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ 
• สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 
• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1-12

 

กรุงเทพมหานคร
• สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. 

 

หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้ 
1.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกทำรายการ "ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ
2.ไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 มีแอดมินคอยรับเรื่องและรับเอกสารลงทะเบียนทางไลน์ 

 

หากต้องการเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ "สิทธิบัตรทอง" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" ต้องทำอย่างไร ? 

ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำไปได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี (รอบปีงบประมาณ นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป) เปลี่ยนหน่วยบริการได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน 

 

นำบัตรประจำตัวประชาชน สำหรับเด็กถ้าไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ให้ใช้สูติบัตร(ใบเกิด) แทน
กรณีที่อยู่อาศัยไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน แสดงหลักฐานเพิ่ม อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ 

 

• หนังสือรับรองการพักอาศัยจากเจ้าบ้าน พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน
• หนังสือรับรองจากผู้นำชุมชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นำชุมชน 
• เอกสารหลักฐานแสดงที่ตั้งบริษัท/ห้างร้าน นายจ้าง/ผู้ว่าจ้างรับรองการพักอาศัยจริง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ว่าจ้าง/ผู้รับจ้าง
• เอกสารหรือหลักฐานอื่น ใบเสร็จค่าสาธารณูปโภคต่างๆ หรือสัญญาเช่าที่มีชื่อตนเองที่แสดงว่าพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ โดยติดต่อด้วยตนเองในวันและเวลาราชการ 

ต่างจังหวัดติดต่อได้ที่
•    หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลของรัฐ 
•    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 
•    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 1-12

 

กรุงเทพมหานคร
•    สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กทม. 

 

หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้ 
1.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกทำรายการ "ลงทะเบียน เปลี่ยนแปลงหน่วยบริการ
2.ไลน์ สปสช. ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ 

 

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
Twitter - https://twitter.com/Kom_chad_luek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ