ข่าว

ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าBTS "ชัชชาติ" หารือนำตั๋วรายเดือนกลับมา บรรเทาภาระประชาชน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าBTS "ชัชชาติ" เล็งนำตั๋วรายเดือนกลับมาใช้บรรเทาภาระประชาชน หารือพิจารณา 2 ส่วนหนี้สินค่าโครงสร้าง และไฟแนนซ์หนี้ ชี้ผูกพันธ์กับค่าโดยสาร


นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึง แนวทางในการลดอัต ราคา ค่าโดยสาร รถไฟฟ้าBTS ว่า สิ่งที่เป็นอยู่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งด้านหนี้สินโครงสร้าง และค่าการบริหารจัดการ  โดยกรุงเทพมหานคร หรือ กทม. ต้องมาพิจารณาในอีก 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นค่าโครงสร้าง และส่วนที่เป็นค่าเดินรถ โดยทั้งหมดมีผลผูกพันธ์กับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร  ปัจจุบัน กทม.ต้องจ่ายค่าเดินรถซึ่งเรียกว่าเป็นสัญญาจ้างบริหารจัดการในระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2572-2585 ทั้งนี้จะต้องพิจารณาอีกหนึ่งส่วนคือ  การไฟแนนซ์หนี้ว่าอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ ซึ่งต้องมีความชัดเจนก่อนว่า กทม.จะต้องจ่ายเท่าไหร่  ซึ่งกทม.ต้องมาพิจารณาว่า  ส่วนหนึ่งต้องทำการไฟแนนซ์หนี้ และค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้เอกชน  แต่แน่นอนว่าหากให้เอกชนทำการไฟแนนซ์หนี้ก็จะส่งผลให้อัตราค่าโดยสารแพงขึ้น

ปัจจุบันรายจ่ายค่าเดินรถที่มีภาระผูกพันธ์ตั้งแต่ปี 2572-2585  หากรู้ชัดเจนว่าทั้งจ่ายค่าเดินรถ และไฟแนนซ์ต้องจ่ายเท่าไหร่ จะทำให้เห็นราคา ค่าโดยสาร ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  หากเอาหนี้ไปให้เอกชนไฟแนนซ์ ต้นทุนของเอกชนสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้อัตราค่าโดยสารสูงขึ้น.  

นาย ชัชชาติ กล่าวตอ่ว่า กรอบราคาอัตรา ค่าโดยสาร ใช้ใจคิดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับฝั่งที่จะต้องไปเสียเงิน ขณะนี้มีต้นทุนที่ต้องจ่าย 18,000 / ปี ซึ่งต้นทุนที่กทม.ต้องจ่ายจะอยู่ประมาณ 50 บาทต่อคน ไม่รวมหนี้สินก้อนแรก สิ่งที่ยังเป็นภาระค้ำคอ คือสัญญากลางราคาค่าโดยสาร 44 บาทที่อยู่ในไข่แดง ซึ่งอยู่ถึงปี 72 ในระยะนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน หารือเรื่องการนำตั๋วรายเดือนกลับมา บัตรสำหรับนักเรียน ผู้สูงอายุกลับคืนมาก  

นอกจากนี้อาจจะต้องหารือก่อนว่า ช่วงส่วนต่อขยายที่เก็บ 15 บาท นั้นกทม.จะสามารถคิดราคาให้ถูกลงได้หรือไม่ต้องหารืออีกครั้ง   พยายามตรึงราคาไว้ไม่ให้แพงเกินว่ากรอบที่กำหนดไว้  พรุ่งนี้หารือกับ ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ  ประธานบอร์ด บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนต่อไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กทม.บริหารเองไม่ได้ แต่ต้องจ้างด้วยความเป็นธรรม ต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ  รวมไปถึงการพิจารณาสัญญา 2572-2585 ว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ