ข่าว

เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

NIA รับเทศกาล "Pride Month" พาเปิด 2 สีสันกลุ่ม LGBTQIA+ ผู้รันวงการนวัตกรรมไทย ความหลากหลายที่ฉายแสงบนโลกของศิลปวัฒนธรรม และการทะลายข้อจำกัดเพศ - อาชีพ

เมื่อปฏิทินเปลี่ยนผ่านก้าวเข้าสู่เดือนมิถุนายนของทุกปี ภาพความรื่นเริงของขบวนพาเหรดที่เรียกว่า ไพรด์ พาเหรด (Pride Parade) และการประดับประดาธงสีรุ้งที่แสดงถึงการสนับสนุนสิทธิเสรีภาพของกลุ่ม LGBTQIA+ การเฉลิมฉลองเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ หรือ "Pride Month" เป็นสิ่งที่ผู้คนและองค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญ ขณะที่ประเทศไทยปีนี้เป็นปีแรกที่ได้เปิดพื้นที่ให้จัดกิจกรรมหรือแคมเปญต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA หน่วยงานสนับสนุนนวัตกรรมในทุกมิติ จะพาไปส่อง 2 โซลูชั่นใหม่ที่คิดค้นขึ้นโดยนวัตกรที่มีความโดดเด่นด้านการคิดและสร้างสรรค์อย่างกลุ่ม LGBTQIA+ "เมื่อนวัตกรรมไม่ได้ขีดเส้นจำกัดอยู่ที่คำว่าเพศสภาพ" 

"นวัตกรสีรุ้ง" รังสรรค์ด้วยใจ ปลุกพลัง "soft power" ในอุตสาหกรรมผ้าทอ เพราะเชื่อว่านวัตกรรมไม่ได้มีเส้นแบ่งของคำว่าเพศ แต่กลับเป็นเรื่องใหม่ที่มีความท้าทายและน่าเรียนรู้ บวกกับการเป็นคนที่ชอบคิดค้น ประดิษฐ์ และพัฒนาสิ่งใหม่อยู่เสมอ เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ คุณปิ่นมนัส โคตรชา กรรมการผู้จัดการบริษัท อัตลักษณ์ จำกัด  เลือกที่จะนำจุดเด่นด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ความชื่นชอบและหลงไหลเกี่ยวกับความสวยความงามของ LGBTQ มาเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการออกแบบและพัฒนาสินค้าแปรรูปจากผ้าทอพื้นเมืองกาฬสินธุ์อย่างสร้างสรรค์ ด้วย "นวัตกรรมอัตลักษณ์คุ้มค่า" ผ่าน โครงการผ้าทอทวารวดีศรีกมลาไสย: นวัตกรรมการผลิต สินค้าอัตลักษณ์ครบห่วงโซ่  ด้วยการส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายแบบครบวงจรให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ในพื้นที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แหล่งผลิตที่ได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ราชินีแห่งผ้าทออีสาน" แล้ว ยังแฝงไปด้วยพลังแห่งอำนาจอ่อน (soft power) ที่จะผลักดันและเร่งให้เกิดการแข่งขันพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าทอในชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย  อย่างไรก็ตามการที่ LGBTQIA+ เข้ามาขับเคลื่อนเรื่องนวัตกรรมในท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะชุมชนทางภาคอีสานเข้าใจและยอมรับเพศทางเลือกมานานแล้ว เห็นได้จากบทบาทการเป็นผู้นำในกิจกรรมฟ้อนรำมาหลาย 10 ปี และช่วยลดช่องว่างด้านการทำงานเพราะชุมชนมีความไว้ใจกลุ่ม LGBTQIA+ มากกว่าเพศชายหรือหญิง

เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ

ด้าน คุณศรุต ผิวขาว ผู้ก่อตั้งบริษัท รีมิค-บิทซ์ จำกัด ผู้ก่อตั้ง Than Ruea NA WA  โซลูชั่นชวนเที่ยวเมืองรองครบจบในแอพเดียว เล่าว่า หากเจาะลึกเข้าไปในโครงสร้างบริษัท รีมิค-บิทซ์ จำกัด จะพบว่าเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรหลากเพศเข้ามาทำงานร่วมกัน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นกลุ่มใดเพราะมองว่าแต่ละเพศสภาพมีความคิดสร้างสรรค์และความถนัดแตกต่างกัน ผลงานที่ได้จึงมีจุดเด่นที่หลากหลาย ทั้งในด้านของความสมาร์ท ไฮเทค ก้าวทันเทคโนโลยี แต่สอดแทรกกลิ่นอาย และอัตลักษณ์ความเป็นชุมชน ตามมุมมองและแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดความสมบูรณ์ แม้จะต่างเพศก็ไม่มีผลต่อการทำงาน เพราะทุกคนต้องปรับจูนแนวคิดและการทำงานเข้าหากัน ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดของการทำงานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามคือการให้เกียรติ เคารพในความคิดและขอบเขตหน้าที่การทำงานของทุกคน แม้จะหลากหลายทางเพศก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข ด้วยพื้นฐานที่เป็นคนชอบเดินทางท่องเที่ยว และสนใจศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คน แต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้อันดับต้นๆ ให้กับประเทศส่วนใหญ่มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองหลัก แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวตามเมืองรองอีกมากมายที่ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ เพราะไม่มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมถึงไม่มีข้อมูลการสื่อสารที่แน่ชัด ส่งผลให้การพัฒนาชุมชนไม่มีจุดเด่น ขาดเครืองมือ และเทคโนโลยีที่จะมาช่วยสนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น ชุมชนท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอีสานที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ขาดองค์ประกอบในมิติของการนำนวัตกรรมเข้าไปช่วยยกระดับรายได้ของคนในชุมชน

เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวทิ้งท้ายว่า โลกของนวัตกรรมคือโลกที่เปิดโอกาส และความหลากหลายเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งที่จะทำให้นวัตกรรมที่ถูกคิดและผลิตออกมานั้นมีประสิทธิภาพทั้งในเชิงการแข่งขัน และการสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ การเปิดโอกาสขั้นพื้นฐานประการหนึ่งที่ไทยหรือในระดับโลกจำเป็นต้องให้ความสำคัญลำดับแรกก็คือ “การลดอคติ” ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องเพศ แต่ยังเป็นเรื่องของมุมมอง ทัศนคติ สิทธิเสรีภาพเชิงความคิด เพื่อลดบรรทัดฐาน หรือกรอบความเชื่อเดิม ๆ ที่เคยมีในสังคม ตลอดจนสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในด้านการทำงาน หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

สำหรับ ในส่วนของ LGBTQIA+ นั้น ปัจจุบันถือว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมทั้งในประเทศไทยและบริบทโลก เนื่องด้วยเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถเป็นผู้ขับเคลื่อนทั้ง Hard Innovation , Soft Innovation รวมถึงกลุ่มงานด้าน Soft Power ตลอดจนรู้จักที่จะดึงทักษะมาผสมผสานสิ่งที่อยู่รอบตัวและนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดย NIA พร้อมที่จะให้การสนับสนุนกลุ่มบุคคลดังกล่าวผ่านทั้งการเปิดพื้นที่ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ การสนับสนุนทุนนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดได้จริงและเกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม และไม่เพียงแต่จะเปิดกว้างให้กับกลุ่มคนภายนอกเท่านั้น การส่งเสริมบุคลากรภายในก็เป็นเรื่องที่สำนักงานฯ ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยสนับสนุนทั้งในเรื่องความหลากหลายทางความสามารถ เพศ และวิถีปฏิบัติ เพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

เปิด 2 นวัตกรรมรับเดือน "Pride Month" กับแนวคิด การทะลายข้อจำกัด เพศ - อาชีพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ