ข่าว

ตามรอยศิลป "โบราณวัตถุ" "ครอบพระเศียร" ทองคำล้านนา เครื่องปั้นดินเผาลพบุรี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เตรียมเปิดให้ชม "โบราณวัตถุ"  "ครอบพระเศียร" ทองคำสมัยล้านนา และ "เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี" จาก แหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์  ตั้งแต่ 22 มิถุนายนนี้ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทยในอดีต

นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร เตรียมเปิดให้ประชาชนเข้าชม "โบราณวัตถุ" ที่ได้รับมอบจากสหรัฐอเมริกาและผู้บริจาคชาวไทย หลังจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับมอบ "โบราณวัตถุ" ดังกล่าวในนามของรัฐบาล ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา

ตามรอยศิลป "โบราณวัตถุ" "ครอบพระเศียร" ทองคำล้านนา เครื่องปั้นดินเผาลพบุรี

สำหรับ "โบราณวัตถุ" ที่รัฐบาลไทยได้รับมอบได้แก่

"ครอบพระเศียร" ทองคำสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21 ที่ได้รับมอบจากครอบครัวชาวอเมริกัน จะจัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีล้านนา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์

ครอบพระเศียรทองคำสมัยล้านนา

ตามรอยศิลป "โบราณวัตถุ" "ครอบพระเศียร" ทองคำล้านนา เครื่องปั้นดินเผาลพบุรี และ "เครื่องปั้นดินเผา" สมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 19 ที่รับมอบจากนายโยธิน และนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ จัดแสดงที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ขณะนี้ทางสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบ การจัดแสดง "โบราณวัตถุ" ที่ห้องประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยลพบุรี อาคารมหาสุรสิงหนาท แล้วเสร็จ รวมถึงการจัดแสดง"เครื่องปั้นดินเผา"สมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 164 รายการ ที่ได้รับมอบใหม่ในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้ตามเจตนารมณ์ของผู้มอบ และให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้ภาคภูมิใจในความสามารถของคนไทยในอดีตที่เป็นศูนย์กลางการผลิต "เครื่องปั้นดินเผา" คุณภาพดีมาแต่โบราณ อีกทั้งยังเป็นสินค้าส่งออกไปยังราชสำนักเมืองพระนครและเมืองอื่นภายในอาณาจักรเขมรโบราณ 

ตามรอยศิลป "โบราณวัตถุ" "ครอบพระเศียร" ทองคำล้านนา เครื่องปั้นดินเผาลพบุรี

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า เมื่อ พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรได้ดำเนินการศึกษาขุดค้นเตาเผาโบราณ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมาได้สร้างอาคารคลุมกลุ่มเตาเผา พร้อมจัดแสดงเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับผู้สนใจเข้าชม 2 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ข้อมูลแหล่งเตาเผาโบราณบ้านสวาย และศูนย์ข้อมูลแหล่งเตาโบราณนายเจียน จึงขอแนะนำให้ผู้ที่ได้เข้าชมการจัดแสดง "เครื่องปั้นดินเผา" สมัยลพบุรีจากแหล่งเตาจังหวัดบุรีรัมย์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และมีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าเยี่ยมชมแหล่งผลิต"เครื่องปั้นดินเผา"กลุ่มนี้ เป็นการเติมเต็มเรื่องราวของเครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรีที่ได้รับมอบในครั้งนี้ด้วย

เตาเผาโบราณ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ