ข่าว

"LGBTQ" มีความหวัง สภา รับหลักการร่างกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สภาผู้แทนทราษฎร รับหลักการร่างกฏหมาย "สมรสเท่าเทียม" "LGBTQ" มีความหวัง ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 15 คน แปรญัตติ 15 วัน

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติ รับหลักการวาระแรกร่างกฎหมายคู่ชีวิต 2 ฉบับ และร่างแก้ไขกฏหมายแพ่งและพานิชย์ หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม 2 ฉบับ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณา จำนวน 25 คน กำหนดระยะเวลาแปรญัตติ 15 วัน โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมของพรรคก้าวไกล สภามีมติด้วยคะแนน 210 ต่อ 180 เสียง ขณะที่ร่างพ.รบ.คู่ชีวิต  ของครม. รับหลักการด้วยคะแนน229 ต่อ 167 

ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำไปสู่การสมรสเท่าเทียม 4 ฉบับ ที่สภารับหลักการในวาระแรก ประกอบด้วย

1. ร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ เสนอโดยพรรคก้าวไกล 

2. ร่าง พรบ.คู่ชีวิต เสนอโดย ครม. 

3. ร่าง พรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ เสนอโดย ครม. สภาฯ 

4. ร่าง พรบ.คู่ชีวิต เสนอโดย พรรคประชาธิปัตย์ 
 

 

"LGBTQ" มีความหวัง สภา รับหลักการร่างกฎหมาย "สมรสเท่าเทียม"

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล สัดส่วน LGBTQ ผู้เสนอร่างแก้ไขกฏหมายแพ่งและพานิชย์กรณีสมรสเท่าเทียม เล่าความหลังช่วงสรุปญัตติว่า ได้ยื่นกฎหมายให้รัฐมนตรี กับมือ


ธัญวัจน์ ระบุว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องของเราทุกคนทำไมต้องพูดเรื่องจำนวนเพศในสภา กฎหมายสมรสเท่าเทียมวันนี้คือสัญลักษณ์การต่อสู้ของประชาชนที่ฝ่ายค้านหยิบยกขึ้นมา สมรสไม่ได้ทำลายสิทธิของใคร ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราศึกษาหลายประเทศแล้วยังต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งที่สังคมเข้าใจเรื่องเพศอย่างมากแล้ว ต้องถามคนในสภาว่าเข้าใจพวกเขาหรือไม่  ทำไมจึงกลัวการเปลี่ยนแปลง ทั้งที่มีคนรอกฎหมายฉบับนี้ สมรสเท่าเทียมคือกระดุมเม็ดแรกที่เราจะกลัดเพื่อเดินไปสู่ความเท่าเทียมร่วมกัน

เกิดโชค เกษมวงศ์จิตร ผู้ชี้แจง จากกรมคุ้มครองสิทธิ์ชี้แจงว่า การร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต
เริ่มจากปี2554 เกิดจากคุณ นที กลุ่ม LGBTQ ร้องเรียนเข้ามาว่า ไม่สามารถจดทะเบียนได้   ไม่ได้คิดถึงการแบ่งคนออกเป็นสองประเภท เนื่องจากคนที่ยกร่างทั้ง5ฉบับ เกิดจากการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มLGBTQ จนผ่าน ครม.เข้ามาพิจารณาในวันนี้ เราเสนอกฎหมายคู่ชีวิต เพื่อรองรับคนกลุ่มนี้  ต้องขอขอบคุณแทนประชาชน


กฎหมายทั้งสองฉบับมีเป้าหมายเดียวกัน พ.ร.บ.คู่ชีวิตศึกษาจาก30 กว่าประเทศ กลุ่มศาสนา ทิศทางในประเทศไทย ค่อยเป็นค่อยไปดีกับประเทศไทยมากกว่า เริ่มจากการเป็นคู่ชีวิต ก่อนพัฒนาไปสู่การสมรสเท่าเทียม

ตัวแทนจากกฤษฎีกาชี้แจงว่าพ.ร.บ.คู่ชีวิตข้อแตกต่างจากร่างพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่สำคัญเช่นสภาพตัวบุคคล บิดา มารดา บุตร ที่เป็นเรื่องทางสายโลหิตและเรื่องการหมั้นที่เป็นเรื่องของชายกับหญิง แต่การสร้างครอบครัวเพศเดียวกันทำได้

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ