ข่าว

เช็ค "เส้นเลือดหัวใจตีบ" อาการเป็นยังไง พบ 5 อาการบ่งชี้ อันตรายถึงตายมั้ย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็ค "เส้นทางหัวใจตีบ" หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการเบื้องต้นเป็นยังไง เจ็บหน้าอกแปลบ ๆ ลักษณะนี้เข้าข่ายหรือไม่ พร้อมบอกอาการบ่งชี้ 5 อาการ

จากกรณีที่ บอย โกสิยพงษ์ ได้โพสต์ข้อความเล่าอุทาหรณ์ มีอาการเจ็บหน้าอก แบบจุกๆ มาประมาณ 1 อาทิตย์ จึงไปหาหมอกระทั่งหมอวินิจฉัยว่าอาจมีอาการเส้นเลือดตีบ สำหรับโรค "เส้นเลือดหัวใจตีบ" นั้น ถือว่าเป็ยภัยเงียบที่อันตรายค่อนข้างมาก เราจะสามารถรู้ได้ก็ต่อเมื่อ เริ่มรู้สึกว่าร่างกายมีความผิดปกติไปจากเดิมเท่านั้น  ส่วนใหญ่หากพบหมอช้าก็อาจจะเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้   

"เส้นเลือดหัวใจตีบ" หรือ "โรคหลอดเลือดหัวใจ" เกิดจากการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือดที่มากจนเกินไป จนเกิดคราบไขมัน (Plaque) เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้เส้นเลือดหัวใจตีบแคบลง หรือเกิดการแตกของคราบไขมัน ทำให้เลือดไปเลี่ยงหัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต ปัจจุบันพบว่าภาวะ "เส้นเลือดหัวใจตีบ" เกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง  3-5 เท่า อย่างไรก็ตามแม้ข้อมูลจะระบุว่าโรคดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากกว่าวัยรุ่น  แต่ปัจจุบันกลับพบว่า สามารถพบได้ในผู้มีอายุน้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   เนื่องจากแนวการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ความเครียดจากปัญหาในชีวิต  หรือการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากขึ้น  ดังนั้นกลุ่มคนอายุน้อยที่มีความเสี่ยงอาจจะเกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันได้เช่นกัน 

"เส้นเลือดหัวใจตีบ อาการ" เป็นอย่างไรบ้าง โดยข้อมูลระบุว่า  มักจะมีอาการบ่งชี้  5 อาการหลัก ๆ  ดังนี้  
-รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก  (มักเป็นที่ลิ้นปี่ หน้าอกตรงกลาง หรือ ร้าวไปหน้าอกซ้าย ก็ได้)
-อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่าย คลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น
-บางรายพบว่ามีอาการใจสั่น เหงื่อแตกร่วมด้วย
-วูบ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตเฉียบพลัน
-มักมีอาการเมื่อออกกำลังกายหนัก / ทำงานหนัก

แนวทางการรักษา "เส้นเลือดหัวใจตีบ" หรือ  "โรคหลอดเลือดหัวใจ"  ได้ตามความรุนแรง ดังนี้  
ระดับที่ 1 รักษาโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
-เลิกสูบบุหรี่ จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์
-ลดการบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็มจัด
-เพิ่มการรับประทานผักสดและผลไม้ที่ไม่หวานจัด
-ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี

ระดับที่ 2 รักษาโดยการใช้ยา ในผู้ที่มีความเสี่ยง (โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน) หรือ ในผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบไม่มากที่ยังไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ  ต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ระดับที่ 3 รักษาโดยหัตถการสวนหลอดเลือดหัวใจและหรือใส่ขดลวด (Stent) เข้าไป เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจตีบให้ทำงานได้เป็นปกติ

ระดับที่ 4 รักษาโดยการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft – CABG)   


ขอบคุณข้อมูล: โรงพยาบาลพระราม 9 , บริษัท ศิครินทร์ จำกัด 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ