ข่าว

เทียบ "อาการฝีดาษลิง" และ "อาการเริม" พบอาการที่ใกล้เคียงกันดูก่อนแแพนิค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เทียบชัด "อาการฝีดาษลิง" และ "อาการเริม" พบหนึ่งอาการใกล้เคียงกัน เช็คชัด ๆ ป่วยแบบไหนเข้าข่ายเป็นโรคอะไร พร้อมบอกวิธีดูแลตัวเอง

สร้างความผวาให้กับคนไทยไม่น้อยหลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวว่า พบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนเครื่องในไทย 2 ชั่วโมง 1 ราย และพบว่ามีผู้สัมพัสเสี่ยงสูงอีก 12 ราย  โดยจะต้องมีการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามตั้งแต่แรกเริ่มที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก ว่าพบผู้ป่วยยืนยันเป็นโรคฝีดาษลิงในแถบแอฟริกาเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามจากข้อมูลพบว่า "อาการฝีดาษลิง" นั้น ค่อนข้างมีความใกล้เคียงกับ "อาการเริม" ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเกิดตุ่มใส บนผิวหนัง  วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ รวบรวมข้อมูลระหว่าง "อาการเริม" และ "อาการฝีดาษลิง" เพื่อเทียบความแตกต่าง สำหรับการเฝ้าระวังตัวเองให้แก่ ประชาชนในระยะนี้  

ฝีดาษลิง หรือ "อาการฝีดาษลิง" โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง  (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ พบในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ สามารถช่วยป้องกันได้ 85%


"อาการฝีดาษลิง" จะแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 
ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase)  

โดยอาการเบื้องต้นจะ เริ่มมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox)  โรคหัด (Measles)   โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox) นอกจากนี้อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย

ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)
หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ เริ่มจากรอยแดงจุด ๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ  โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
โดยทั่วไปแล้ว อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้

วิธีการป้องกันโรคฝีดาษลิง
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะ
-หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
-ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
-หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือสงสัยว่าติด

-เชื้อ กรณีที่สัมผัสเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน

 

เริม หรือ "อาการเริม" คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสที่มีชื่อว่า Herpes simplex virus การได้รับเชื้อไวรัสครั้งแรก เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดเป็นโรคเริมครั้งแรก  หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสะสมในปมเส้นประสาท และเมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เชื้อจะเคลื่อนจากปมประสาทมาตามเส้นประสาทจนถึงปลายประสาทและเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุ การเกิดโรคพบได้ในหลายตำแหน่ง เช่น ที่ริมฝีปากหรือบริเวณอวัยวะเพศ

"อาการเริม" เบื้องต้นประชาชนสามารถสังเกตตัวเองได้ดังนี้ 

โรคเริมที่เป็นครั้งแรก

ระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ถ้ามี อาการจะรุนแรง พบเป็นกลุ่มของตุ่มน้ำ แตกเป็นแผลตื้นๆ มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน แผลจะค่อยๆแห้งตกสะเก็ดและหายในระยะเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หรือต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วยได้
เริมสามารถเป็นซ้ำได้ โดยอาการจะน้อยกว่า ตุ่มน้ำจะมีขนาดเล็กกว่า จำนวนตุ่มน้ำน้อยกว่าการเป็นครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการนำ เช่น อาการคัน แสบร้อนบริเวณที่จะเป็น ต่อมาจะมีกลุ่มของตุ่มน้ำเกิดขึ้น ในตำแหน่งใกล้เคียงกับตำแหน่งเดิม การเป็นซ้ำมักไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ไข้ร่วมด้วย

การรักษาและการปฏิบัติตัวผู้ป่วยที่มี "อาการเริม"
 -  อาการไม่รุนแรง และหายเองได้ โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ำ
 -พักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
 - หากมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
- ใช้น้ำเกลือกลั้วปากถ้ามีแผลในปาก
- ตัดเล็บสั้น ไม่แกะเกา และอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด  เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มกลายเป็นหนองและแผลเป็น
- ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกประคบทำความสะอาดแผล
- ยาต้านไวรัสเช่น acyclovir ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้
 - รับประทานยาต้านไวรัสเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการนำ จะสามารถลดระยะเวลาการเกิดโรค ลดการแพร่เชื้อ และลดระยะเวลาเจ็บปวดได้ 
- การทายาต้านไวรัสมีประโยชน์น้อยโดยเฉพาะรอยโรคที่อวัยวะเพศ และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :  www.si.mahidol.ac.th และ www.sikarin.com 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ