ข่าว

"ฝีดาษลิง" ดร.อนันต์ เผยข้อมูล ช่องทางแพร่เชื้อ เข้าห้องน้ำยังติด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ฝีดาษลิง" ดร.อนันต์ เผยข้อมูลชวนอึ้ง พบช่องทางแพร่เชื้อ มากกว่าที่คิด ปล่อยได้แทบทุกทาง หน้ากากอนามัย ยังจำเป็น

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอออนเทค โพสต์เฟซบุ๊ค Anan Jongkaewwattana อัปเดตสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ "โรคฝีดาษลิง" ระบุข้อมูลล่าสุดว่า รายงานผลจากการตรวจหาเชื้อในตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" ที่เคยพบในอังกฤษ (ตั้งแต่ปี 2018-2021) แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ระบาดในปัจจุบัน พบว่า 

"ฝีดาษลิง" ไวรัสสามารถพบได้ในหลายตัวอย่าง มากน้อยแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ปริมาณไวรัสที่พบได้มากที่สุดคือ ของเหลวจากตุ่มหนอง หรือ แผลบนผิวหนัง ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยแทบทุกคนสามารถตรวจไวรัสพบในตัวอย่างที่เก็บมาจากทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งประกอบด้วยน้ำมูก น้ำลาย โดยปริมาณไวรัสมีมากกว่าที่ตรวจพบในกระแสเลือด และ ในผู้ป่วยบางรายสามารถตรวจเชื้อไวรัสพบได้ในตัวอย่างปัสสาวะด้วยเช่นกัน

 

 

ข้อมูลนี้บอกว่า ไวรัสฝีดาษลิงสามารถปลดปล่อยออกมาจากผู้ป่วยได้หลายช่องทาง การสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือตุ่มหนองมีความเสี่ยงสูงสุด แต่ การรับเชื้อจากน้ำมูกน้ำลาย ทางเลือด หรือ ทางปัสสาวะในห้องน้ำ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เป็นข้อมูลให้เราระวังตั้งรับกับไวรัสตัวใหม่นี้นะครับ หน้ากากอนามัยที่กำลังจะถอดกัน อาจจะจำเป็นหากฝีดาษลิงเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้นนะครับ
ฝีดาษลิง ฝีดาษลิง

อาการ ฝีดาษลิง

 

อาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12  วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่

ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase)  

  • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
  • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย

 

ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)

 

  • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
  • โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
  • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

 

โดยทั่วไปแล้ว อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้

 

ติดต่อจากคนสู่คนได้ไหม?

 

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ แม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีโอกาสติดจากคนสู่คนได้น้อย แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้สามารถเสียชีวิตได้ โดยมีอัตราการเสียชีวิต 1-10% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็ก

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล Anan Jongkaewwattana ,ศิครินทร์

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ