ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้สัมภาษณ์ “คมชัดลึกออนไลน์” ถึงปรากฏการณ์บ้งครูอาจารย์และทิศทางในอนาคตของสถานศึกษาทุกระดับในประเทศไทย ว่า บ้งครูอาจารย์ปรากฏชัดในสถานศึกษาเอกชน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อความอยู่รอดหลังเจอวิกฤติซ้อนวิกฤติส่วน มหาวิทยาลัยรัฐ หรือสถาบันการศึกษาของรัฐใช่ว่าจะรอด
"ช่วงนี้ มหาวิทยาลัยรัฐ อยู่ในกระบวนการรับนักศึกษาใหม่ ตามระบบTCAS65 (ทีแคส)กลุ่มมหาวิทยาลับราชภัฏอยู่ในขั้นตอนทีแคส4 แต่ละรอบเด็กถอนเข้า-ออก ต้องรอให้ยืนยันสิทธิ์สรุปตัวเลขเมื่อเด็กรายงานตัวคาดประมาณเดือนมิถุนายนเพราะเปิดเรียนเดือดกรกฏาคมเปิดเทอม แต่จากข้อมูลเบื้องต้นสรุปตัวเลขเด็กเรียนมากขึ้น"
3 ปัจจัยทำไมเด็กเรียน มหาวิทยาลัยรัฐ น้อยลง
- 1.เด็กเกิดน้อย ทำให้เด็กประถม เด็กมัธยม และเด็กเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาน้อยลงตามไปด้วย
- 2.สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
- 3.ค่านิยมปริญญาเปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่มุ่งเป็นเถ้าแก่ เรียนทางลัด เรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องรอ 4ปีก็มีงานทำ
“เด็กเกิดน้อย โควิด-19 ระบาด คนไทยเลิกเห่อปริญญา กระทบ มหาวิทยาลัยรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน เมื่อเด็กเข้าเรียนน้อยลงค่าเทอมที่เป็นรายได้หลักของมหาวิทยาลัยก็ลดลง แต่มหาวิทยาลัยมีรายจ่ายมากมาย ครูอาจารย์ต้องหาเด็กมาเรียน เห็นชัดว่าโรงเรียนเอกชนกว่า 300 แห่งเมื่อปี 2564 ต้องปิดกิจการ ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนก็จ่อปิด ส่วนมหาวิทยาลัยรัฐ การบริหารไม่คล่องตัวเพราะไม่มีเงินเดินต่อลำบากและได้รับแรงกดดัน”
อนาคตมหาวิทยาลัยเอกชนจะปิดกิจการ หรือขายกิจการ ขายให้ประเทศจีนหลายมหาวิทยาลัยแล้ว เนื่องจากจีนมีมหาวิทยาลัยในประเทศไม่เพียงพอ อนาคตเด็กและเยาวชนจีนจะมาเรียนในประเทศไทยมากขึ้น
มหาวิทยาลัยรัฐ อยู่ได้ เพราะรัฐยังอุ้มอยู่ แต่ในระยะยาวมหาวิทยาลัยรัฐก็อยู่ลำบาก หากไม่มีช่องทางหารายได้เลี้ยงตัวเองแทนการพึ่งพารัฐเพียงอย่างเดียว ปีการศึกษา 2565 เห็นชัดมหาวิทยาลัยรัฐเมื่อรับนักศึกษาไม่ได้ตามเป้าก็เปิดหลักสูตรผลิตครูเพื่อดึงเด็กเข้าเรียน หลังจำนวนเด็กลดลงจำนวนมาก
“สภาวะแบบนี้ส่อควบรวมมหาวิทยาลัยรัฐ โดยมหาวิทยาลัยรัฐขนาดใหญ่จะเข้าควบรวมมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก ทำให้มหาวิทยาลัยขนาดเล็กจะกลายเป็นเพียงวิทยาเขตเท่านั้น จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น คาดไม่เกิน 5 ปี”
ข้อเสนอแนะ สำหรับมหาวิทยาลัย ในสถานการณ์ที่นักศึกษาลดลง การแก้ปัญหาโดยวิธีเปิดหลักสูตรที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้เรียน(สายครู) หรือใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ น่าจะใช้ได้ไม่นาน เพราะสุดท้ายจะไม่มีเด็กอยู่ดี ทางออกมหาวิทยาลัยควรมีดังนี้
1.ควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
2.ปรับ Mindset บุคลากรว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่ขุมทรัพย์ที่จะทำรายได้มหาศาลอีกแล้ว
3.ปรับเปลี่ยนระบบการทำงาน รูปแบบการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป
4.ปรับบทบาทมหาวิทยาลัยให้สอดรับกับพันธกิจใหม่ แสวงหาความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนพันธกิจใหม่ที่ต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือ นั่นคือมหาวิทยาลัยที่จะอยู่รอด จะต้องเป็นมากกว่ามหาวิทยาลัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง