ข่าว

ร้อง "กกต." สอบ "ชัชชาติ"จูงใจให้ลงคะแนน "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม."

"ศรีสุวรรณ" ร้อง "กกต." สอบ "ชัชชาติ" ใช้ป้ายหาเสียงรีไซเคิ่ล จูงใจให้ลงคะแนน "เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม." หรือไม่

ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนสอบสวนนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กรณีทำป้ายหาเสียงเป็นผ้าไวนิลมีเจตนาแฝงเพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อทำ “กระเป๋า-ผ้ากันเปื้อน” อันเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ลงคะแนนให้แก่ตนเองด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ อย่างไร

 

ร้อง \"กกต.\" สอบ \"ชัชชาติ\"จูงใจให้ลงคะแนน \"เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.\"

ทั้งนี้แผ่นป้ายดังกล่าว มีการจัดทำแพตเทิร์น(Pattern)เป็นลายบางๆไว้ให้นำไปตัดเย็บตามรอยปะไว้เสร็จสรรพ เพื่อให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถนำไปหมุนเวียน (Recycle) โดยตัดเย็บเป็นกระเป๋าหรือเป็นผ้ากันเปื้อน ไว้ใช้ต่อกันเองได้ แม้จะพยายามสื่อว่าจะนำแผ่นป้ายดังกล่าวกลับมาตัดเย็บใช้กันเองในทีมหาเสียงก็ตาม แต่ทว่าป้ายหาเสียงมีจำนวน 380 ป้ายทีมหาเสียงมี 380 คนหรืออย่างไร ซึ่งการเก็บกลับมาใช้เองเป็นเรื่องเพ้อฝัน เพราะหลังจากปิดหีบเลือกตั้งแล้ว ก็จะมีชาวบ้านหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในพื้นที่เขตต่างๆ จะออกมาเก็บป้ายหาเสียงของผู้สมัครไปเป็นของตนแทบทั้งสิ้น ซึ่งถ้าจะเอาป้ายดังกล่าวนำกลับมาตัดเย็บใช้กันเองในทีม หลังจากเลือกตั้งผ่านไปแล้ว กกต. จะต้องไปตรวจสอบว่ามีการจัดเก็บป้ายทั้งหมดกลับไปทำกระเป๋า-ผ้ากันเปื้อนครบ 380 ผืนจริงหรือไม่ด้วย

 

ร้อง \"กกต.\" สอบ \"ชัชชาติ\"จูงใจให้ลงคะแนน \"เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.\"

 

นอกจากนั้น แผ่นป้ายดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น 2563 ข้อ 18 อีกด้วยเนื่องจากไม่ระบุชื่อชื่อตัว ชื่อสกุล ของผู้ว่าจ้าง แต่กลับไประบุ“ชมรมกรุงเทพฯน่าอยู่กว่าเดิม”มาเป็นผู้ว่าจ้างแทน ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎหมาย เพราะตรวจสอบไม่ได้ว่าชมรมดังกล่าวมีตัวตนจริงหรือไม่ อีกทั้งข้อความดังกล่าวอักษรตัวเล็กมากและเบลอไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตามที่ระเบียบกำหนด

ศรีสุวรรณตั้งข้อสังเกตอีกว่า การจัดทำแผ่นป้ายหาเสียงในลักษณะดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนให้แก่ตนเองด้วยวิธีการ จัดทำให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ อันเข้าข่ายการฝ่าฝืน ม.65(1) แห่ง พรบ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น 2562 ซึ่งถ้า กกต.วินิจฉัยว่าเข้าข่ายก็อาจมีความผิดตาม ม.126 ของกฎหมายดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

ข่าวยอดนิยม